นางสาวนันท์นภัส นาราช วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่ การพัฒนาความรับผิดชอบโดยใช้แบบตารางการส่งงาน ในวิชาการส่งเสริมการขาย รหัส 2201 – 2208 ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 3 สาขางานการขาย วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่ นางสาวนันท์นภัส นาราช วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่
ปัญหาการวิจัย จากการจัดการเรียนการสอนในวิชาการส่งเสริมการขาย รหัสวิชา 2201 – 2208 ในปีการศึกษา 2553 ผู้สอนพบว่านักศึกษาที่เรียนในรายวิชานี้บางส่วน ขาดความรับผิดชอบในการส่งงาน ทำให้เกิดปัญหาในการเรียนการสอน เนื่องจากนักศึกษาขาดความตะหนัก และไม่สามารถทราบด้วยตนเองว่ายังขาดส่งงานใดบ้าง
วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาความรับผิดชอบโดยใช้แบบตารางการส่งงาน ในวิชาการส่งเสริมการขาย รหัส 2201 - 2208 ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 สาขางานการขาย วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่
ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ประชากรที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 ที่เรียนในรายวิชาการส่งเสริมการขาย รหัส 2201 – 2208 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 สาขางานการขาย วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนาเชียงใหม่ จำนวน 14 คน โดยแบ่งเป็น ชาย 5 คน และหญิง 9 คน
ตัวแปรที่ทำการศึกษา ตัวแปรต้น แบบตารางการส่งงาน ตัวแปรต้น แบบตารางการส่งงาน ในรายวิชาการส่งเสริมการขาย รหัส 2201 – 2208 ตัวแปรตาม ความรับผิดชอบของนักศึกษา
เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล 1. วิเคราะห์หลักสูตร และแผนการจัดการเรียนรู้ วิชาการส่งเสริมการขาย รหัส 2201 – 2208 จำนวน 9 แผนการจัดการเรียนรู้ เวลาเรียน 18 สัปดาห์ จำนวน 54 ชั่วโมง 2. ตารางสำหรับเก็บและบันทึกข้อมูล ในรายวิชา การส่งเสริมการขาย รหัส 2201 – 2208
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลสำคัญ ตาราง แสดงจำนวนร้อยละของผลการพัฒนาความรับผิดชอบของนักศึกษา ในการส่งใบงาน และ แบบฝึกหัดท้ายบท รายวิชา การส่งเสริมการขาย รหัส 2201 – 2208 ของนักศึกษาห้อง กข.3101 จำนวน 14 คน ผลการพัฒนา ความรับผิดชอบ การส่งใบงาน การส่งแบบฝึกหัด รวมคิดเป็น ร้อยละ ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด 12 85.72 ไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด 2 14.28
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลสำคัญ จากตาราง แสดงให้เห็นว่า การใช้ตารางการส่งงาน สามารถพัฒนาความรับผิดให้เกิดขึ้นกับนักศึกษาได้ เนื่องจาก ผลการส่งงานทั้งการส่งใบงาน และส่งแบบฝึกหัดท้ายบท ของนักศึกษา กข.3101 จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 85.72 ซึ่งเกินเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ ร้อยละ 65
สรุปผลการศึกษา ผลการใช้ตารางการส่งงาน สามารถพัฒนาความรับผิดให้เกิดขึ้นกับนักศึกษาได้ เนื่องจาก ผลการส่งงานทั้งการส่งใบงาน และส่งแบบฝึกหัดท้ายบท ของนักศึกษา กข.3101 จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 85.72 ซึ่งเกินเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ ร้อยละ 65
ประโยชน์ที่ได้จากการศึกษาวิจัย 1. ผู้สอนมีแนวทางการพัฒนาความรับผิดชอบที่เป็น แบบอย่างให้กับผู้ที่สนใจ จะได้นำไปใช้ในรายวิชาอื่นได้ 2. ผู้เรียนมีแนวทางในการบันทึกความจำของตนเอง เกี่ยวกับการส่งงาน โดยนำไปใช้ในรายวิชาอื่นได้