PN.4 เลขที่ 40
วันเกิด 9 กุมภาพันธ์ 2524 อายุ 31 ปี นางสาววิไล โสโภกรม ชื่อเล่น น้องวิ วันเกิด 9 กุมภาพันธ์ 2524 อายุ 31 ปี ภูมิลำเนา จังหวัดอุบลราชธานี จบการศึกษาสูงสุด ปริญญาตรี
อาคาร B2 หมู่บ้านเอเชี่ยนเกมส์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่อยู่ปัจจุบัน อาคาร B2 หมู่บ้านเอเชี่ยนเกมส์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปัจจุบันปฏิบัติงานที่ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ แผนก สำนักงานกลุ่มงานการพยาบาล ตำแหน่ง ผู้ปฏิบัติงานบริหาร
ประวัติส่วนตัว ลักษณะนิสัย คุยไม่เก่ง ยิ้มง่าย มองโลกในแง่ดี มีโลกส่วนตัวสูง งานอดิเรก ดูหนัง ฟังเพลง ท่องเที่ยว ปัจจุบัน กำลังศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล วิทยาลัยบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ
แนะนำบ้านเกิด..... มาแวะเที่ยวบ้านเฮา..... เมืองดอกบัวงาม จังหวัดอุบลราชธานี
มารู้จักกับเมืองดอกบัวงาม (อุบลราชธานี) คำขวัญประจำจังหวัด “อุบลเมืองดอกบัวงาม แม่น้ำสองสี มีปลาแซบหลาย หาดทรายแก่งหิน ถิ่นไทยนักปราชญ์ ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม งามล้ำเทียนพรรษา ผาแต้มก่อนประวัติศาสตร์ ฉลาดภูมิปัญญาท้องถิ่น ดินแดนอนุสาวรีย์คนดีศรีอุบล”
ดอกไม้และต้นไม้ประจำจังหวัด ดอกบัว ชื่อพรรณไม้"ยางนา" ชื่อทาง วิทยาศาสตร์ "Dipterocarpus alatus"
ธงประจำจังหวัด ด้านบนของธงจะมีรูปดอกบัวสีชมพูบาน ปักอยู่บนพื้นสีชมพู ด้านล่าง จะมีอักษรสีขาว คำว่า "อุบลราชธานี" ปักอยู่บนพื้นสีเขียว
ผ้าประจำจังหวัด "ผ้ากาบบัว" เป็นชื่อผ้าในวรรณกรรมโบราณอีสาน ซึ่งไม่อาจทราบหรือพบในปัจจุบันแล้ว สีของผ้ากาบบัวหรือกลีบบัว จะไล่กันไปจากสีอ่อนไปถึงแก่ คือ ขาว ชมพู เทา เขียว น้ำตาลและชื่อของผ้ากาบบัว จะมีความหมาย และเหมาะสมกับชื่อของจังหวัดอุบลราชธานี
ประเพณีที่มีชื่อเสียงของอุบลราชธานี ประเพณีแห่เทียนพรรษา
ประวัติความเป็นมาของการแห่เทียนพรรษา พรรษา คือ ช่วงระยะเวลา 3 เดือนในฤดูฝนที่พระภิกษุสงฆ์จะต้องปฏิบัติธรรมอยู่วัดใดวัดหนึ่งโดยตลอดจะไปค้างคืนที่วัดอื่นไม่ได้ ข้อห้ามที่ให้พระอยู่วัดใดวัดหนึ่งตลอด 3 เดือนนี้ เพราะฤดูฝนเป็นฤดูเพาะปลูก ข้าวกล้าพืชผลของชาวบ้านกำลังเขียวขจี ถ้าพระออกเดินทางในฤดูนี้จะไปเหยียบย่ำข้าวกล้าพืชผลของชาวบ้านเสียหายได้
ประวัติความเป็นมาของการแห่เทียนพรรษา ชาวอุบลฯ ก็เหมือนกับชาวพุทธทั่วไป เมื่อถึงวันเข้าพรรษาก็จะนำเทียนไปถวายพระ ในสมัยก่อนยังไม่มีเทียนสำเร็จรูปขาย ชาวบ้านจะใช้ขี้ผึ้งซึ่งได้จากรังผึ้งมาต้มให้ละลายแล้วเอาฝ้ายที่จะทำเป็นไส้เทียนจุ่มลงไปในน้ำผึ้งที่ละลายนั้น ปล่อยให้เย็นพอที่จะเอามือคลึงให้ขี้ผึ้งโอบล้อมไส้เทียนให้เต็ม (วิธีการแบบนี้ชาวอุบลฯ เรียกว่า “ฟั่นเทียน”) จากนั้นนำมาตัดตามขนาดที่ต้องการ เสร็จเรียบร้อยก็จะเป็นเทียนที่พร้อมนำไปถวายพระได้
ประวัติความเป็นมาของการแห่เทียนพรรษา เทียนพรรษา ในสมัยพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิ์ประสงค์นั้นจะเป็นการทำเทียนร่วมกันของชาวบ้านในแต่ละคุ้ม (คุ้ม คือ กลุ่มชุมชนเล็กๆ ของชุมชนใหญ่ ในแต่ละหมู่บ้านจะมีหลายคุ้ม) โดยการนำขี้ผึ้งมารวมกัน ต้มให้ละลายแล้วเทใส่เบ้าหลอม ตกแต่งให้สวยงามแล้วใส่คานหามหรือบรรทุกใส่เกวียน นำเข้าขบวนแล้วแห่ไปรวมกันที่หน้าศาลากลางมณฑล พระองค์จะประทานรางวัลให้กับคุ้มที่ทำต้นเทียนได้สวยงาม การแห่เทียนพรรษาจึงเริ่มมีตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
ประวัติความเป็นมาของการแห่เทียนพรรษา ด้วยเหตุนี้การตกแต่งฐานต้นเทียนให้แปลกแตกต่างไปจากเดิม โดยเฉพาะการตกแต่งให้เป็นรูปลอยตัว ของสัตว์ในวรรณคดีหรือเรื่องราวทางพุทธประวัติ ในอากัปกริยาต่างๆ ก็เกิดขึ้น เช่นเดิมคุ้มที่จัดทำแบบนี้ก็ชนะ และถ้าคุ้มอื่นทำตามคุ้มที่อยากชนะในปีต่อไปก็จะทำให้แปลกแตกต่างๆ หรือทำให้ใหญ่ ให้มากขึ้นไปเรื่อยๆ จนเป็นเรื่องราวเหตุการณ์ทางวรรณคดีหรือทางพุทธประวัติที่ครบสมบูรณ์ในต้นเทียนต้นเดียวหรือขบวนเดียว ผู้ชมดูแล้วเพลิดเพลิน ได้ความรู้ ได้อรรถรส อย่างที่เห็นและเป็นอยู่ในปัจจุบัน
สนใจเที่ยวบ้านเฮา ....บอกได้เด้อ สวัสดีค่ะ สนใจเที่ยวบ้านเฮา ....บอกได้เด้อ สวัสดีค่ะ