การถอนเงินคืนรายรับ ถอนคืนเงินรายรับ ได้ในกรณีดังต่อไปนี้ 1.รับชำระภาษีโดยไม่ถูกต้อง 2.ค่าขายเอกสารในกรณีที่มีการยกเลิกการประกวดราคาซื้อหรือจ้าง 3.เงินที่ได้รับชดใช้เกินความรับผิดจากการละเมิด โดยทั้ง 3 กรณี ต้องขอคืนเงินภายในกำหนดดายุความ และขอคืนได้ภายในปีงบประมาณหรือข้ามปีงบประมาณ 35
วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการถอนคืนเงินรายรับ ขอคืนภายในปีงบประมาณ จัดทำฎีกาเงินนอกงบประมาณ-ลดยอดเงินในทะเบียนรายรับ เดบิท บัญชีรายรับ XXX เครดิต บัญชีเงินฝากธนาคาร XXX 36
ขอเงินคืนภายหลังปีงบประมาณ - ตรวจสอบ และขออนุมัติสภาท้องถิ่นเพื่อจ่ายจาก เงินสะสม - จัดทำฎีกาเงินนอกงบประมาณ เดบิท บัญชีเงินสะสม XXX เครดิต บัญชีเงินฝากธนาคาร XXX 37
การจำหน่ายหนี้สูญ อปท. จำหน่ายหนี้สูญค้างชำระเกิน 10 ปีได้ โดยได้รับความเห็นชอบจากผู้บริหารท้องถิ่น และได้รับอนุมัติจากสภาท้องถิ่น หลักการจำหน่ายหนี้สูญ - ลูกหนี้ค้างชำระเกิน 10 ปี - เร่งรัดติดตาม(ลูกหนี้กลายเป็นบุคคลล้มละลาย) - ตายหรือสาบสูญ - ผู้บริหารเห็นชอบ - สภาท้องถิ่นอนุมัติ 38
ข้อหารือ : เทศบาลได้นำพื้นที่ตลาด ที่เป็นทรัพย์สินของเทศบาล เปิดให้ประชาชนขายสินค้า มีสัญญาเช่า 3 ปี ปรากฏว่ามีผู้เช่าค้าง ชำระค่าเช่า เทศบาลจึงบอกเลิกสัญญาเช่ากับผู้ค้างชำระทุกราย แต่กลุ่มผู้เช่าได้ร้องขอความเป็นธรรมต่อเทศบาล เทศบาลจะขอดำเนินการ ดังนี้ - ยกเลิกสัญญาเช่ากับผู้ค้างชำระค่าเช่า ได้หรือไม่ - สามารถจำหน่ายหนี้สูญได้หรือไม่ ตามระเบียบฯ ข้อ 97 กำหนดกรณีที่มิอาจเก็บหนี้จากลูกหนี้ที่ค้างชำระเกินกว่า 10 ปีขึ้นไป ด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งและได้เร่งรัดติดตามแล้ว/ลูกหนี้ตาย/สาบสูญฯ ให้จำหน่ายได้ โดยความเห็นชอบจากผู้บริหารฯและขออนุมัติสภาท้องถิ่น
ความเห็น : 1. เทศบาลมีสิทธิที่จะทำการตกลงกับผู้เช่าตามประมวล กม.แพ่งและพาณิชย์ โดยไม่ทำให้เทศบาลเสียประโยชน์ เช่น ทำการ ตกลงผ่อนชำระ เนื่องจากค่าเช่าดังกล่าวเกิดจาการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินของเทศบาลที่ผู้เช่าได้ทำสัญญาเช่าตามระเบียบ มท.ว่าด้วยการจัดหาประโยชน์ในทรัพย์สินของ อปท. พ.ศ. 2543 ข้อ 15 เมื่อ ผู้เช่าผิดสัญญาเช่า เทศบาลจึงมีสิทธิเรียกร้องตามสัญญาเช่าที่กำหนด ไว้ได้ 2. เทศบาลไม่สามารถจำหน่ายหนี้สูญได้ เนื่องจากไม่เข้าหลักเกณฑ์การจำหน่ายหนี้สูญฯ ตามระเบียบฯ ข้อ 97