รายงานผลการวิจัย
นางสาวแสงจันทร์ พรมภา ครูสอนวิชาภาษาไทย การพัฒนาพฤติกรรมการกล้าแสดงออกโดยใช้วิธีการแสดงบทบาทสมมติ ของนักเรียนระดับชั้น ปวช.1 ประเภทวิชาพาณิชยกรรม ในรายวิชาการพูดในงานอาชีพ โดย นางสาวแสงจันทร์ พรมภา ครูสอนวิชาภาษาไทย วิทยาลัยเทคโนโลยีเทคนิคเอเชีย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 1 สำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.)
ปัญหาของการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เพื่อพัฒนาต่อยอด การแสดงออกด้านพฤติกรรมการแสดงออกเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งสำหรับนักเรียนที่เรียนทางด้านพาณิชยกรรม เพราะนักเรียนจะต้องนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและทางด้านสังคม รวมถึงการทำงานในอนาคตต่อไป ซึ่งจะทำให้นักเรียนเกิดความมั่นใจในการแสดงออกนั้นๆ มากขึ้นอย่างสมเหตุสมผลตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในทางกลับกันหากนักเรียนไม่มีความกล้าแสดงออกก็จะส่งผลให้นักเรียนขาดความเชื่อมั่น และอาจจะต้องเผชิญกับปัญหาทางด้านการติดต่อหรือการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นด้วย ซึ่งจะทำให้เกิดความยากลำบากในการทำงาน อย่างไรก็ตามพฤติกรรมการกล้าแสดงออกสามารถที่จะฝึกฝนและสามารถพัฒนาให้เกิดขึ้นได้ในตัวของบุคคลให้เกิดความกล้าแสดงออกและเหมาะสมตามสถานการณ์ต่างๆ
ผู้วิจัยจึงคิดพัฒนาต่อยอดจากแผนการจัดการเรียนรู้และได้พิจารณาหน่วยการเรียนเรื่องการเสนอขายสินค้าและบริการในรายวิชาการพูดเพื่องานอาชีพ ซึ่งหน่วยการเรียนดังกล่าวเป็นหน่วยการเรียนที่ผู้เรียนสามารถจะฝึก ทักษะด้านการนำเสนอขายสินค้า โดยอาศัยเทคนิคด้านต่าง ๆ ประกอบการนำเสนอขาย รวมถึงบุคลิกภาพและการแสดงออกของนักเรียนเป็นส่วนใหญ่ ผู้วิจัยจึงได้คิดวิธีการที่จะทำให้นักเรียนเกิดความสนใจและร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรม พร้อมทั้งสามารถที่จะพัฒนาพฤติกรรมการกล้าแสดงออกได้
วัตถุประสงค์ของการวิจัย 2.1 เพื่อพัฒนาพฤติกรรมการกล้าแสดงออก โดยใช้วิธีการแสดงบทบาทสมมติ ของนักเรียนระดับชั้น ปวช.1 พาณิชยกรรม ในรายวิชาการพูดเพื่องานอาชีพในแผนการเรียนรู้เรื่องการเสนอขายสินค้าและบริการ ในภาคเรียน ที่ 2 ปีการศึกษา 2556 2.2 เพื่อให้นักเรียนสามารถพัฒนาพฤติกรรมการกล้าแสดงออก นำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและสังคมเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้นักเรียนประสบความสำเร็จในด้านการเรียนและการดำเนินชีวิตในอนาคตต่อไปได้ 2.3 เพื่อนำผลการวิจัยมาพัฒนาการจัดกิจกรรมเรียนการสอนในรายวิชาการพูดเพื่องานอาชีพ
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) รายการ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) แปลความ 1. นักเรียนมีความเป็นผู้นำในการตัดสินใจ 4.71 0.47 มากที่สุด 2. นักเรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 4.64 0.50 3 นักเรียนกล้าแสดงออกอย่างชัดเจน 4.86 0.36 4. นักเรียนมีส่วนร่วมในการนำเสนอทุกขั้นตอน 4.79 0.43 5. นักเรียนยอมรับฟังความคิดเห็นของบุคคลอื่นเป็นอย่างดี 6. บุคลิกภาพมีความเหมาะสม รวม 4.75 0.06
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) รายการ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) แปลความ 1.คำแนะนำ คำอธิบาย คำสั่ง ชัดเจน ถูกต้อง 4.71 0.47 มากที่สุด 2.คำอธิบายเนื้อหาสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ 4.64 0.50 3.ศึกษาได้ด้วยตัวเอง 4.86 0.36 4.นำเสนอเนื้อหาชัดเจน มีขั้นตอน 4.79 0.43 5.เนื้อหาสาระช่วยให้การเรียนรู้ง่ายขึ้น 6.ขนาดตัวอักษรเหมาะสม อ่านง่าย 0.63 7.ถูกต้องตามหลักวิธีการ 8.นำไปใช้ประโยชน์ ในการดำเนินชีวิต 0.35 9.นำไปใช้ในงานอาชีพได้ 0.48 รวม 4.74 0.07
ผลการวิจัย การวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์และความพึงพอใจการแสดงบาทสมมุติการแสดงออกด้านการขาย พบว่าการจัดกิจกรรมภาพรวม ผู้ตอบแบบสอบถามเห็นว่ามีความเหมาะสมในการปฏิบัติและมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด 4.75 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.06สรุปว่าผลการประเมินกระบวนการทั้ง 6 ด้าน อยู่ในเกณฑ์ดีมาก