พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 กฎกระทรวง พ.ศ. 2554 กำหนดจำนวนคนพิการที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการและหน่วยงานของรัฐจะต้องรับเข้าทำงาน และจำนวนเงินที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการจะต้องนำส่งเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ มีผลบังคับใช้ 26 ตุลาคม 2554
ผู้ปฏิบัติงาน หมายถึง ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้างประจำ ไม่รวมลูกจ้างชั่วคราว หรือพนักงานจ้างเหมา หน่วยงานของรัฐ มีผู้ปฏิบัติงานตั้งแต่ 100 ขึ้นไป ต้องรับคนพิการเข้าทำงาน 1 คน เศษเกิน 50 คน ต้องรับคนพิการเพิ่มอีก 1 คน การนับจำนวนผู้ปฏิบัติงาน ให้นับทุกวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี
จำนวนผู้ปฏิบัติงาน ในสังกัดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ข้าราชการ จำนวน 1,350 คน ลูกจ้างประจำ จำนวน 4,414 คน พนักงานมหาวิทยาลัยประจำ จำนวน 941 คน รวม 6,705 คน จะต้องรับคนพิการเข้าทำงาน จำนวน 67 คน *ข้อมูลประมาณการ ณ วันที่ 22 กันยายน 2554
หน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์จะรับคนพิการเข้าทำงาน ให้สัมปทาน จัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการ จัดจ้างเหมาช่วงงาน ฝึกงาน หรือให้การช่วยเหลืออื่นใดแก่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการก็ได้ สรุปทางเลือกของหน่วยงานรัฐ 1. จ้างคนพิการเข้าทำงาน ตามมาตรา 33 2. จัดบริการอื่นเพื่อให้คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการมีงานทำมาตรา 35
การขึ้นทะเบียนคนพิการ เพื่อประโยชน์ในการเข้าถึงสิทธิตามกฎหมาย คุณสมบัติของผู้ยื่นคำขอ -มีสัญชาติไทย -มีสภาพความพิการตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด -ยื่นด้วยตนเอง หรือผู้อื่นยื่นคำขอแทนได้ (ผู้ปกครอง ผู้พิทักษ์ ผู้อนุบาล หรือผู้ดูแลคนพิการ)
สถานที่ยื่นขอมีบัตร -องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทุกแห่ง -โรงพยาบาลทุกแห่ง -สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด เชียงใหม่
เอกสารประกอบคำขอมีบัตรประจำตัวคนพิการ สำเนาบัตรประชาชน /บัตรข้าราชการ /สูติบัตรของคนพิการ /ใบรับรองการเกิด ถ้ามีชื่อในทะเบียนบ้านมีสัญชาติไทยไม่ต้องใช้บัตรประชาชน แต่มีกำนันผู้ใหญ่บ้าน /ข้าราชการระดับสามรับรองว่าเป็นคนเดียวกัน สำเนาทะเบียนบ้านของคนพิการ
รูปถ่าย 3 นิ้ว ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน 2 รูป ใบรับรองความพิการออกโดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมจากสถานพยาบาลของรัฐทุกแห่ง /เอกชนที่ประกาศ ปัจจุบันมี 38 แห่ง กรณีสภาพความพิการที่สามารถเห็นได้โดยประจักษ์ไม่ต้องมีใบรับรองความพิการก็ได้
สิทธิประโยชน์คนพิการ (มีบัตรประจำตัวคนพิการ) สิทธิประโยชน์คนพิการ (มีบัตรประจำตัวคนพิการ) สวัสดิการสังคม ได้แก่ การมีผู้ช่วยคนพิการ เบี้ยความพิการ ช่วยเหลือคนพิการไม่มีผู้ดูแล ที่อยู่อาศัย ล่ามภาษามือ คนพิการที่ไม่มีคนดูแล การแพทย์ ได้แก่ ฟื้นฟูสมรรถภาพ รักษาพยาบาล สื่อพัฒนาการ การศึกษา ได้แก่ โควตาเข้าเรียน สิ่งอำนวยความสะดวก แผนการเรียนรายบุคคล ค่าใช้จ่ายการศึกษา
ผู้ดูแลคนพิการ ได้แก่ กู้ยืมกองทุน ลดหย่อนภาษี ส่งเสริมอาชีพ ความรู้การดูแล การเข้าถึงกิจกรรมสาธารณะ ได้แก่ โครงการ/กิจกรรม นโยบายและแผนงาน พัฒนาและบริการ ผลิตภัณฑ์จำเป็น สิ่งอำนวยความสะดวก ได้แก่ การนำทาง ยานพาหนะ โครงสร้างพื้นฐาน อาคารสถานที่ อาชีพอิสระ
อาชีพและการมีงานทำ ได้แก่ อัตราส่วนการทำงาน ส่งเสริมการจ้างงาน ฝึกอาชีพ คุ้มครองแรงงาน อาชีพอิสระ เทคโนโลยีและการสื่อสาร ได้แก่ การสื่อสาร โทรคมนาคม สารสนเทศ ข้อมูลข่าวสาร ช่วยเหลือทางกฎหมาย ได้แก่ ให้ความรู้ทางกฎหมาย ค่าทนายความ ค่าประกันตัวผู้ต้องหา ค่าธรรมเนียมศาล การส่วนร่วม ได้แก่ สังคม การเมือง เศรษฐกิจ การบริหารจัดการ
จำนวนผู้ปฏิบัติงานที่เป็นคนพิการ ข้อมูลได้จากการสำรวจเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2554 จำนวน 6 คน -คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ 1 คน -คณะมนุษยศาสตร์ 1 คน -คณะเกษตรศาสตร์ 4 คน ระบุว่าได้ขึ้นทะเบียนคนพิการแล้ว จำนวน 2 คน