งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

นวัตกรรมการจัดการ ฐานข้อมูลคนพิการในชุมชน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "นวัตกรรมการจัดการ ฐานข้อมูลคนพิการในชุมชน"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 นวัตกรรมการจัดการ ฐานข้อมูลคนพิการในชุมชน
ผศ.ดร.จรวยพร ศรีศศลักษณ์ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข การประชุมบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการเสริมสร้างระบบการดูแลสุขภาพคนพิการระดับตำบลและจังหวัด 11 กุมภาพันธ์ 2557

2 ประเทศไทยให้ความสำคัญกับคนพิการ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 กล่าวถึงการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และความเสมอภาคของบุคคล การห้ามเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมเพราะเหตุแห่งความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ ระบุสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสวัสดิการ สิ่งอำนวยความสะดวก และความช่วยเหลือจากรัฐ การสงเคราะห์และจัดสวัสดิการแก่คนพิการ การให้รัฐต้องปฏิบัติตามสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี รวมทั้งพันธกรณีที่ได้กระทำไว้กับนานาประเทศ และองค์การระหว่างประเทศ

3 พรบ.ส่งเสริมและพัฒนา คุณภาพชีวิตคนพิการ 2550
ระบุว่า คนพิการ หมายถึงบุคคลที่มีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวัน หรือการมีส่วนร่วมทางสังคม เนื่องจากมีความบกพร่องและมีอุปสรรคด้านต่าง ๆ แบ่งประเภทความพิการออกเป็น 6 ประเภท ความพิการทางการเห็น ความพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย ความพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย ความพิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม หรือออทิสติก ความพิการทางสติปัญญา ความพิการทางการเรียนรู้ ผู้บริหาร อปท. ควรคำนึงถึงความพิการว่ามีหลายประเภท และมีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกัน นำไปสู่ปัญหาและ ความต้องการด้านสุขภาพที่แตกต่างกัน

4 สิทธิขั้นพื้นฐานของคนพิการ
สิทธิด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยกระบวนการทางการแพทย์ ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ค่าอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการและสื่อส่งเสริมพัฒนาการ เพื่อปรับสภาพทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม พฤติกรรม สติปัญญา การเรียนรู้ หรือเสริมสร้างสมรรถภาพให้ดีขึ้น รายละเอียดสิทธิ 26 รายการ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข “การบริการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยกระบวนการทางการแพทย์และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ค่าอุปกรณ์ เครื่องช่วยความพิการ และสื่อส่งเสริมพัฒนาการสำหรับคนพิการ” ซึ่งประกาศเมื่อปี 2552

5 กฎหมายที่เกี่ยวข้อง พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ 2550
ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพ 2552 ให้ความสำคัญกับความเป็นธรรม และความเท่าเทียมกันในสังคม มีสาระที่ครอบคลุมการพัฒนาระบบที่จะตอบสนองความจำเป็นอันเกิดจากการมีความพิการ

6 การประกันสุขภาพคนพิการ
พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 2545 และพรบ.ประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทน 2534 มีหลักการที่ครอบคลุมเรื่องความพิการ การฟื้นฟูสมรรถภาพไว้ชัดเจนระดับหนึ่ง แต่ในทางปฏิบัติรูปธรรมสิทธิประโยชน์ การบริหารจัดการและกลไกการจ่ายค่าบริการตามสิทธิ ยังมีความแตกต่างเหลื่อมล้ำ สิทธิในอัตราการเบิกจ่ายค่าเครื่องช่วยฟังที่ต่างกัน ค่าบริการรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ ที่กองทุนหนึ่งให้วงเงินเพียง 2,000 บาท/เดือน ในขณะที่อีกกองทุนหนึ่งให้สถานพยาบาลเบิกได้ตามรายการที่ให้บริการจริง กลไกการจ่ายที่กองทุนหนึ่งให้คนพิการต้องสำรองจ่ายก่อนแล้วนำใบเสร็จไปเบิกคืนภายหลัง ทำให้คนพิการเข้าไม่ถึงบริการจำเป็นบางอย่างที่มีราคาแพง เช่น ขาเทียมระดับเหนือเข่า รถนั่งคนพิการ ในขณะที่อีกกองทุนหนึ่งสามารถรับบริการได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ส่งผลให้คนพิการไม่สามารถเข้าถึงสิทธิได้อย่างเป็นธรรม และในหลายๆความจำเป็นก็ยังไม่มีหรือมีบริการไม่เพียงพอ

7 การจดทะเบียนคนพิการ 19 ปีมาแล้วที่รัฐเริ่มดำเนินการจดทะเบียนคนพิการเพื่อรับสิทธิขั้นพื้นฐาน มีคนพิการที่จดทะเบียนเพื่อรับสิทธิตามกฎหมายแล้วประมาณล้านกว่าคนซึ่งคิดเป็นเพียงประมาณครึ่งหนึ่งของจำนวนคนพิการ ชี้ชัดถึงกลไกการเข้าถึงสิทธิและบริการที่ยังขาดประสิทธิภาพ สถานการณ์นี้สามารถยืนยันได้จากภาพและเรื่องราวคนพิการที่ถูกทอดทิ้งอยู่กับความทุกข์ ที่เผยแพร่ทางสื่อโทรทัศน์เป็นประจำสม่ำเสมอ

8 การพัฒนาสุขภาพคนพิการ
ไม่สามารถบรรลุผลได้โดยการพัฒนาที่ระบบบริการเท่านั้น แต่ยังต้องร่วมกันพัฒนาให้มีระบบสวัสดิการและบริการทางสังคมที่เหมาะสมในชุมชนที่คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จริงด้วย ปัจจุบันสิทธิและสวัสดิการของรัฐที่มีให้กับคนพิการ ได้แก่ เบี้ยความพิการ 500 บาทต่อเดือน (600 บาท หลังตุลาคม 2556) สำหรับคนพิการตามกฎหมายทุกคน สิทธิในการกู้ยืมเงินประกอบอาชีพอิสระ โดยปลอดดอกเบี้ย 5 ปี และสิทธิในการได้รับเงินสงเคราะห์ครอบครัว

9 สิทธิและสวัสดิการอื่นๆ
บริการผู้ช่วยเหลือกรณีคนพิการรุนแรงที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ บริการปรับสภาพบ้านให้เอื้อต่อการใช้ชีวิตของคนพิการ บริการดูแลกรณีไร้ที่พึ่งพิงในรูปแบบ Group Home หรือ Home Care การให้เงินอุดหนุนครอบครัวรายเดือนในการดูแลคนพิการรุนแรงที่บ้านตลอดชีวิต บริการล่ามภาษามือสำหรับช่วยการเข้าถึงบริการที่จำเป็นของคนหูหนวก ได้มีการจัดทำระเบียบและหลักเกณฑ์บ้างแล้ว แต่ยังไม่เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

10 ปัญหาการเข้าถึงบริการที่จำเป็น ของคนพิการ
จำเป็นต้องใช้กลยุทธ์การทำงานเชิงรุกอย่างมาก และต้องใช้ชุมชนที่อยู่อาศัยจริงของคนพิการ ต้องมีความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ เอกชน ชุมชน ท้องถิ่น ครอบครัว และองค์กรคนพิการ เพื่อพัฒนาระบบจึงจะทำให้การฟื้นฟูสมรรถภาพ ไปสู่ผลลัพธ์ที่คนพิการจะสามารถใช้ชีวิตที่มีส่วนร่วมในสังคมได้จริง

11 ระบบยังขาดการเชื่อมต่อฐานข้อมูล
คณะอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการประจำจังหวัด ภายใต้คกก.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ตาม พรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ 2550 มีการทำแผนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการประจำจังหวัดแบบบูรณาการอย่างมีส่วนร่วม (แผนสามปี) มีครบทุกจังหวัด มีการจัดสรรงบประมาณเบื้องต้นจากกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ในอัตรา 0.5 บาท/ประชากรพิการที่จดทะเบียน แต่ยังขาดการเชื่อมฐานข้อมูลบริการคนพิการจากหน่วยงานด้านสังคม สาธารณสุข ศึกษา แรงงาน และท้องถิ่น ที่มีประสิทธิภาพในการเชื่อมต่อบริการคนพิการ ขาดการลงทุนร่วมกันเพื่อพัฒนาอย่างเป็นระบบ ขาดตัวชี้วัดและกลไกการติดตามประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ

12 อปท. กับคนพิการ มาตรา 21 แห่ง พรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
บัญญัติว่า “เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ให้ราชการส่วนท้องถิ่นออกข้อบัญญัติ เทศบัญญัติ ข้อกำหนด ระเบียบ หรือประกาศ แล้วแต่กรณีให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้” ได้รับการนำลงสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น ผลการสุ่มสำรวจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 170 แห่ง จะพบว่าเพียง 18 แห่ง มีการดำเนินการรวม 26 ฉบับ ประเด็นที่ดำเนินการครึ่งหนึ่งเป็นเรื่องเบี้ยยังชีพและกองทุนคนพิการ หนึ่งในสามเป็นเรื่องงบประมาณประจำปี ร้อยละ 11 เป็นเรื่องการจัดบริการคนพิการ เช่น การเดินทาง ร้อยละ 5 เป็นการดำเนินการด้านสิ่งอำนวยความสะดวกทางสังคม 90 แห่งใน 170 แห่งมีการทำแผนงานด้านคนพิการ ควรมีกลไกความร่วมมือเพื่อกระตุ้นการใช้ประโยชน์จากมาตรานี้ให้มากขึ้น

13 ควรมีการเชื่อมต่อฐานข้อมูลคนพิการ
เชื่อมต่อฐานข้อมูลคนพิการระหว่างหน่วยงานหลัก พม.จังหวัด สสจ. สำนักงานประกันสังคมจังหวัด อปท. สถานศึกษา สถานพยาบาล สถานที่ทำงานองค์กรคนพิการ หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถติดตามการให้บริการสุขภาพ เพื่อเชื่อมต่อและติดตามผลลัพธ์บริการสุขภาพกับ บริการทางสังคมและสวัสดิการ บริการทางการศึกษา และทางด้านอาชีพที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง โดยมีพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเป็นหน่วยประสานงานหลัก

14 ตอบสนองความจำเป็นของคนพิการ
ฐานข้อมูลจะช่วยให้ผู้รับผิดชอบงานด้านสุขภาพคนพิการพิจารณาตอบสนองปัญหาความจำเป็นด้านสุขภาพเฉพาะ ตามแต่ประเภทความพิการ และเพิ่มการเข้าถึงบริการสุขภาพ จัดให้มีบริการที่เพียงพอ ทั้งด้านการสร้างเสริมสุขภาพโดยเฉพาะการตรวจสุขภาพประจำปี การตรวจในส่วนที่เกี่ยวกับความพิการและการตรวจสุขภาพทั่วไป การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล การฟื้นฟูสมรรถภาพ และอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการที่จำเป็น รวมทั้งการส่งต่อเพื่อการรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพตามแต่กรณี

15 การเสริมสร้างระบบการดูแลสุขภาพ คนพิการระดับตำบลและจังหวัด
อบจ. 76 แห่ง เทศบาล 2,283 แห่ง อบต. 5,492 แห่ง ผู้บริหาร/ปลัด ผอ.กองสวัสดิการสังคม/หัวหน้าฝ่ายสวัสดิการฯ ผู้รับผิดชอบงานด้านสาธารณสุข จะเสริมสร้างระบบการดูแลสุขภาพคนพิการอย่างไร หากไม่มีฐานข้อมูลคนพิการในขอบเขตพื้นที่ที่ตัวเองรับผิดชอบ

16 ทำไมต้องมีฐานข้อมูลคนพิการ
เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับคนพิการ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลและนำผลที่ได้ไปพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในชุมชนท้องถิ่น เพื่อบูรณาการการจัดการข้อมูลคนพิการของทุกหน่วยงาน เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการออกข้อบัญญัติท้องถิ่นในการจัดตั้งกองทุนดูแลคนพิการและคนด้อยโอกาส

17 เก็บข้อมูลอย่างไร จัดทำแบบสอบถาม ใครคือกลุ่มเป้าหมาย กำหนดขอบเขต
ลงชุมชนเพื่อเก็บข้อมูล คีย์ข้อมูลและวิเคราะห์ แปลผลที่ได้และนำข้อมูลมาใช้

18 รายงานอย่างไร รายงานคนพิการ แยกตามพื้นที่ รายงานคนพิการ แยกตามประเภท

19 ได้ข้อมูลจากฐานข้อมูลแล้วเอาไปทำอะไรต่อ
นำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการให้บริการกับคนพิการ การปรับสภาพบ้าน การทำห้องน้ำเพื่อให้สามารถจัดการเรื่องการขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระได้ด้วยตนเอง รองลงมาคือการเคลื่อนย้ายตัวเองภายในบ้าน เช่น ทำราวจับ หรือการทำทางลาดเพื่อให้คนพิการสามารถเข็นรถเข็นเข้าบ้านได้ด้วยตัวเอง การศึกษา บางคนพิการจึงไม่สามารถเรียนได้ ท้องถิ่นควรหาทางสนับสนุน การทำงาน การฝึกอาชีพเพื่อให้ประกอบอาชีพได้ การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม การได้รับสิทธิประโยชน์ (อ้างอิงงานวิจัยทบทวนวรรณกรรมและพัฒนาเครื่องมือประเมินความพิการ นครพนม หน้า 86)

20 นวัตกรรม ระบบฐานข้อมูล FAP เป็นโปรแกรมระบบฐานข้อมูลสุขภาวะชุมชน (Family and Community Assessment Program: FAP) ที่ทดลองใช้ใน อบต.ปากพูน ระบบฐานข้อมูล TCNAP (Thailand Community Network Appraisal Program : TCNAP) ของสสส. ที่ใช้ในตำบลสุขภาวะ

21 เทศบาลตำบลขุนทะเล อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช
เทศบาลตำบลขุนทะเล อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการ มีจำนวนมากกว่า 200 คนในพื้นที่ หลายฝ่ายเห็นความสำคัญของการดูแลผู้พิการ ออกแบบกิจกรรมต่างๆ เช่น การวางแผนให้มีการเก็บข้อมูลและขึ้นทะเบียนผู้พิการ จัดทำหลักสูตรและจัดอบรมฝึกฝนอาชีพให้แก่ผู้พิการ การจัดสวัสดิการสำหรับผู้พิการ ตั้ง “ชมรมผู้พิการและผู้สูงอายุ” ขึ้น เกิดกลุ่มอาสาผู้พิการ ตั้งกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ผู้พิการขึ้น โดยกลุ่มอาสาเก็บเงินวันละ 1 บาท จากญาติผู้พิการเพื่อนำมาเป็นสวัสดิการเวลาเจ็บป่วย มีการออกเยี่ยมบ้าน ตัดผม ทำความสะอาดบ้านให้ผู้พิการ

22 นวัตกรรม การนวดสมุนไพร ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพคนพิการ
กิจกรรมส่งเสริมผู้พิการเชิงรุก เยี่ยมบ้านผู้ป่วย

23 สอ./รพ.สต.ถ่ายโอน สอ. / รพ.สต. ถ่ายโอนจาก สธ. ไป อปท. หลายแห่งมีการจัดการข้อมูลพิการ อบต. ปากพูน อบต. ดอนแก้ว อบต. นาพู่ อบต.บ้านปรก เทศบาลบึงยี่โถ เทศบาลบ้านฆ้อง

24 ตัวอย่างการพัฒนาระบบฐานข้อมูลคนพิการ อ.นาหม่อม จ.สงขลา
ตัวอย่างการพัฒนาระบบฐานข้อมูลคนพิการ อ.นาหม่อม จ.สงขลา วัตถุประสงค์เพื่อจัดทำฐานข้อมูลคนพิการ(มีบัตรประจำตัวคนพิการ) และเฝ้าระวังคนพิการที่ยังไม่ได้ทำบัตรประจำตัวคนพิการ อาจจะอยู่ในช่วงของการฟื้นฟูสมรรถภาพในลักษณะรายบุคคล จัดเก็บข้อมูลในลักษณะของข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ-สกุล, อายุ, เพศ, ที่อยู่, สิทธิการรักษาพยาบาล, สวัสดิการที่ได้รับ (ด้านการแพทย์, สังคม, อาชีพ, การศึกษา) บูรณาการทำงานร่วมกันระหว่างมูลนิธิชุมชนสงขลา ร่วมกับองค์กรคนพิการ, สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสงขลา, สสจ. และอปท. จัดทำเป็นฐานข้อมูลเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถเรียกดูข้อมูลของคนพิการแต่ละรายได้ ผ่านทางเว็บไซต์

25 เครือข่ายองค์กรคนพิการ รัฐ-ท้องถิ่น-เอกชน นำร่อง…
เครือข่ายองค์กรคนพิการ รัฐ-ท้องถิ่น-เอกชน นำร่อง… พัฒนาฐานข้อมูลติดตามผลลัพธ์และผลกระทบการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพคนพิการ จ.นครพนม เพื่อแก้ไขปัญหาคนพิการอย่างเป็นระบบทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม สปสช. เขต 8 อุดรธานี สสจ.นครพนม อบจ. สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครพนม ศูนย์การศึกษาพิเศษ นครพนม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนมเขต 1 สมาคมคนพิการ จ.นครพนม

26 สปสช.ใช้ฐานข้อมูลคนพิการ
สปสช.ใช้ฐานข้อมูลคนพิการ ท.74 ในระบบหลักประกันสุขภาพ ซึ่งเป็นฐานข้อมูลจากส่วนกลาง หากสามารถพัฒนาระบบฐานข้อมูลในระดับจังหวัด ทุกหน่วยงานเกี่ยวข้องจะสามารถดูแลคนพิการได้ครอบคลุมครบวงจรมากขึ้น ทั้งในด้าน สาธารณสุข การศึกษา อาชีพ สวัสดิการต่างๆทางสังคมที่พึ่งได้รับตามสิทธิขั้นพื้นฐานอย่างเท่าเทียมกัน

27 อปท. จัดบริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ (1)
ท้องถิ่นให้สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดบริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการด้านสุขภาพ ฝึกอบรมการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการมองเห็น โดยองค์กรของคนตาบอด อบรมเพื่อการฟื้นฟูทักษะการสื่อสารหรือการสอนภาษามือให้กับ คนหูหนวกที่ไม่รู้หนังสือและขาดโอกาสเข้ารับการศึกษาในระบบการศึกษาพิเศษ สอนภาษามือให้กับบุคลากรทางสาธารณสุข เพื่อให้คนหูหนวกได้รับบริการโดยสะดวก

28 อปท. จัดบริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ (2)
อบรมพัฒนาศักยภาพของผู้บกพร่องทางจิตและผู้ดูแล อบรมเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพการเรียนรู้ของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ได้แก่ กลุ่มเด็กออทิสติก ปัญญาอ่อน หรือการฟื้นฟูสมรรถภาพให้กับเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายด้วยวิธีการต่างๆ เพิ่มศักยภาพในการดูแลให้กับผู้ปกครองคนพิการ ให้มีความรู้ในการดูแลคนพิการแต่ละประเภทได้อย่างถูกต้อง อบรมอาสาสมัครช่วยดูแลคนพิการในระดับพื้นที่ที่ดำเนินการโดยองค์กรคนพิการ โดยประสานความร่วมมือระหว่างท้องถิ่นและหน่วยบริการในพื้นที่ อบรมเพิ่มศักยภาพในการดูแลช่วยเหลือตนเองของคนพิการเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างอิสระและมีศักดิ์ศรี สนับสนุนการให้คำปรึกษาฉันท์เพื่อนระหว่างคนพิการ ในลักษณะของการจัดตั้งศูนย์ให้คำปรึกษาและลักษณะของการลงพื้นที่สำรวจและ ให้คำปรึกษา

29 การจัดการข้อมูล เข้าใจความหมายหรือคำนิยาม
บริการด้านสุขภาพ หมายถึง การจัดฝึกอบรมให้ความรู้ / การออกหน่วยเคลื่อนที่ / จัดให้มีหน่วยเคลื่อนที่สำหรับบริการพยาบาลแบบฉุกเฉินและอื่นๆ ส่งเสริมการอยู่ร่วมกันและสร้างความเข้มแข็งด้านองค์กรคนพิการ หมายถึง ส่งเสริมให้มีการรวมตัวเป็นชมรมคนพิการ ผู้ดูแล และภาคีเครือข่าย / จัดให้มีการจัดกิจกรรมด้านสวัสดิการสังคม ส่งเสริมอาชีพหรือรายได้ของคนพิการ หมายถึง จัดฝึกอบรมวิชาชีพให้ความรู้ในอาชีพต่างๆ / ประสานกับสถานประกอบการเพื่อเปิดโอกาสให้คนพิการเข้าทำงานและอื่นๆ บริหารจัดการระบบพัฒนาคุณภาพชีวิต หมายถึง การจัดทำฐานข้อมูลคนพิการ / การประชาสัมพันธ์ให้คนพิการได้รับทราบถึงสิทธิของตนเองในการเข้าถึงบริการของรัฐ / จัดให้มีอาสาสมัครดูแลคนพิการ / มีการจ่ายเงินเบี้ยความพิการแก่คนพิการ/ เปิดโอกาสให้คนพิการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นและอื่นๆ

30 จัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับ....
การจัดให้คนพิการ และผู้ดูแลเข้าร่วมฝึกอาชีพและอบรมให้มีความรู้ในอาชีพ ฝึกอาชีพกับกลุ่มอาชีพที่มีอยู่แล้วในท้องถิ่น ให้ความรู้ในการประกอบอาชีพด้านฝีมือแรงงาน เช่น การนวดแผนโบราณ การประดิษฐ์ดอกไม้ ให้ความรู้ในการประกอบอาชีพอิสระ เช่น การเลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา เย็บผ้า แนะนำแหล่งเงินทุนสำหรับประกอบอาชีพให้แก่คนพิการ

31 จัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับ....
สิ่งอำนวยความสะดวกแก่คนพิการให้เข้าถึงและใช้ประโยชน์ ห้องน้ำสำหรับคนพิการในอาคารสำนักงาน ตลาดสด หรือสถานที่สาธารณะของ อบต. เทศบาล อบจ. ทางเดินลาดพร้อมราวจับสำหรับคนพิการ ในอาคาร สถานที่ของ อบต. เทศบาล อบจ. การให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับสภาพแวดล้อมภายในบ้าน ที่อยู่อาศัยให้มีความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกแก่คนพิการ

32 จัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับ....
ข้อมูลข่าวสารที่ อบต. เทศบาล อบจ. ประชาสัมพันธ์ สื่อสารให้คนพิการได้รับทราบถึงสิทธิของตนเองในการเข้าถึงบริการ การจดทะเบียนคนพิการ เพื่อให้มีสิทธิได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์และการช่วยเหลืออื่นจากรัฐ โดยใช้สื่อที่คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ เช่น หอกระจายข่าว แผ่นพับ หรือโปสเตอร์ขนาดใหญ่ สิทธิในการขอรับเงินเบี้ยความพิการ สิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขและสวัสดิการสังคมตามกฎหมาย สิทธิในการได้รับบริการการศึกษา สิทธิในการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับท้องถิ่นตามกฎหมาย

33 ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
kb.hsri.or.th ขอบคุณค่ะ


ดาวน์โหลด ppt นวัตกรรมการจัดการ ฐานข้อมูลคนพิการในชุมชน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google