นโยบายพลังงาน-ปตท. และ ก๊าซCBG(2) นโยบายพลังงานทดแทนของประเทศไทยร้อยละ20.3 ของพลังงานขั้นสุดท้ายนั้น พลังงานทดแทนก๊าซNGVหรือCBGมีเป้าหมายสูงถึง5,881 ktoe โอกาสบรรลุเป้าหมายทำได้ยาก ถ้ารัฐบาลนายกยิ่งลักษณ์และคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน Energy Regulatory Commission หรือ กกพ./ERC ยังไม่เห็นความสำคัญและให้สิ่งจูงใจมากกว่านี้
มูลค่าด้านพลังงานของ BIOGAS ในปัจจุบัน มีมูลค่า 6-7 บาทถ้านำมาผลิตไฟฟ้า มีมูลค่า 11.50 บาทถ้าใช้แทนน้ำมันดีเซล มีมูลค่า 18.80 บาท ถ้าใช้แทนน้ำมันเบนซิล
มูลค่าด้านพลังงานของ Biome thane (CBG) เทียบกับ FOSSIL FUEL ประเทศไทยต้องนำเข้าน้ำมันเกินหนึ่งล้านล้านบาทต่อปี CBG 1 กก. ให้พลังงานมากกว่าน้ำมันดีเซลถึง 20% (CH 4 @ 95%) CBG สามารถผลิตได้จากพืชพลังงานเพื่อเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรในชนบท ผู้ใช้รถสามารถประหยัดค่าน้ำมันได้ในพื้นที่ที่ไม่มี CNG ขาย CNG ไม่สามารถจำหน่ายได้ในพื้นที่ห่างไกลจากแนวท่อแก๊ซเพราะค่าใช้จ่ายสูง
รัฐบาลเยอรมันมีนโยบายสนับสนุนพลังงานทดแทนด้านก๊าซชีวภาพ(Biogas)และ ก๊าซBiomethane(CBG)โดยให้เงินส่งเสริมพิเศษและให้การลดหย่อนด้านภาษีเพื่อ ให้สามารถแข่งขันได้กับพลังงานฟอสซิลที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ(ประเทศไทยเคยสั่งฃื้อรถยนต์เมอฃีเดสเบ็นท์จำนวนมากจนเป็นที่ร่ำลือ น่าจะนำเข้าเทคโนโลยี่Biogasให้โด่งดังอีกสักครั้ง)
วงจรการผลิตก๊าซชีวภาพBiomethane และก๊าซธรรมชาติของกลุ่มประเทศยุโรป
รูปแบบการผลิตก๊าซชีวภาพ-ฟาร์มเกษตรกรและก๊าซCBGสำหรับการขนส่งที่ประเทศไทย สามารถดำเนินการได้ทุกตำบลทั่วประเทศเพื่อสร้างรายได้และการจ้างงานให้ประชาชน
เปรียบเทียบการผลิตพลังงานทดแทนจากพืชเกษตรและการผลิตก๊าซชีวภาพBiomethane
เปรียบเทียบผลผลิตก๊าซชีวภาพ(Biogas)จากวัตถุดิบชนิดต่างๆของฟาร์มการเกษตรจะพบว่ามูลสัตว์นั้นให้ผลผลิตbiogasน้อยกว่าพืชพลังงานพวกหญ้าและข้าวโพด
ประเทศเยอรมันส่งเสริมโรงงานการผลิตก๊าซชีวภาพBiogasทั่วประเทศซึ่งประเทศไทยก็สามารถ ส่งเสริมการผลิตก๊าซชีวภาพได้ทุกตำบลทั่วประเทศ 7000แห่ง/ตำบลเป็นฐานเศรษฐกิจใหม่
ตัวอย่างการให้สิ่งจูงใจในการผลิตไฟฟ้าจากBiogasของเยอรมันนีที่ประเทศไทยสมควรเลียนแบบ เพราะจะก่อให้เกิดการจ้างงานและการกระจายรายได้ทั่วประเทศและไม่ต้องพึ่งพลังงานนิวเคลียร์
องค์ประกอบของก๊าซชีวภาพBiogas มีก๊าซมีเทนร้อยละ50-75
เปรียบเทียบคุณสมบัติของก๊าซธรรมชาติNGV-Biogas-Biomethane(CBG)
แนวโน้มพลังงานทดแทนในปี2020ของยุโรป ส่วนใหญ่จะมาจากภาคการเกษตร
วงจรการผลิตก๊าซชีวภาพ-พลังงานไฟฟ้า-พลังงานความร้อนและBiomethane
ปั้มก๊าซชีวภาพCBG ประเทศเยอรมันนีใช้ทดแทนNGV
ประเทศสวีเดนใช้Biogasเป็นพลังงานทดแทนNGVสำหรับรถขนส่งมวลชน
ประเทศสวีเดนผลิตก๊าซชีวภาพร้อยละ54เมื่อเทียบกับก๊าซธรรมชาติ ซึ่งประเทศไทย สามารถดำเนินการได้เช่นเดียวกันเพราะประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมที่สามารถ ผลิตพลังงานทดแทนได้จำนวนมหาศาลมากกว่าสวีเดน เพราะเป็นเขตร้อน
แนวโน้มการผลิตก๊าซชีวภาพทดแทนก๊าซธรรมชาติที่เติบโตเร็วมากของสวีเดน
กลุมยุโรปมีเป้าหมายการใช้Biogasเป็นพลังงานในการขนส่งมากกว่าร้อยละ20
ปัจจัยความสำเร็จในการส่งเสริมการผลิตพลังงานทดแทนBiogasคือ การเก็บภาษี ที่ต่ำและให้การสนับสนุนด้านต่างๆเพื่อให้สามารถแข่งขันได้กับพลังงานฟอสซิล และส่งเสริมให้ราคาBiogasต่ำกว่าพลังงานทั่วไปร้อยละ20-30 เพื่อความยั่งยืนและมั่นคง