เทคนิคการให้คำปรึกษา นิตยา เรืองแป้น คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา rnitaya@gmail.com
Help him to help himself
การสนทนากันระหว่าง Co และ Cl อย่างมีเป้าหมาย การให้คำปรึกษา การสนทนากันระหว่าง Co และ Cl อย่างมีเป้าหมาย
คำว่า สนทนา ตามพจนานุกรมฉบับราชบัญฑิตยสถาน พ.ศ.2525 การคุยกัน การพูดจาหารือกัน ดังนั้นคำจำกัดความของ การสนทนา คือ การพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความรู้สึก ซึ่งกันและกัน
ทักษะในการสร้างเสริมสัมพันธภาพ ระหว่างบุคคล การสร้างสัมพันธภาพเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญมาก จึงต้องอาศัย ทักษะต่างๆ ซึ่งมีหลักโดยทั่วไปดังนี้ 1. ทักทาย พูดคุย ด้วยท่าทางที่เป็นมิตร 2. พูดคุยเรื่องธรรมดาทั่วๆ ไปเพื่อสร้างความคุ้นเคย 3. ให้ความสนใจต่อผู้ฟัง 4. เปิดโอกาสให้พูดถึงปัญหา
การเปิดเผยตัวเอง การเปิดเผยส่วนที่ซ่อนเร้นของตัวเอง หรือการถ่ายทอดข่าวสารที่เกี่ยวกับตัวเองไปยังบุคคลอื่นให้ผู้อื่นรู้ถึงความรู้สึก ความคิด ของตน
สภาพของการเปิดเผยตัวเอง จะเกิดขึ้นแตกต่างกันตามสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ เช่นคนสนิท คนที่ไว้วางใจ ครอบครัว เพศ วัย ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมการเปิดเผยตัวเองมากขึ้น
พิจารณาตนเองจากกิจกรรม Who am I ? เหตุผลของการไม่เปิดเผยตนเองเป็นเพราะข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้หรือไม่ 1. ยังไม่รู้จักตัวเอง 2. สนิทสนมกับคนอื่นยาก 3. กลัวว่าเรื่องราวจะถูกเปิดเผยทีหลัง 4. รู้สึกไม่มั่นใจ เกรงว่าคนอื่นจะรังเกียจในเรื่องที่เปิดเผย 5. รู้สึกไม่มั่นใจ เพราะคิดว่าเรื่องของตัวเองไม่น่าสนใจ 6. รู้สึกเขินอาย กลัวพูดผิดพลาด 7. ....ฯลฯ.....
ทักษะการสื่อสาร การสื่อสารเป็นการติดต่อเพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน ชีวิตจะมีความสุขเมื่อได้รับการยอมรับ
มองเห็นความดีของคนอื่น ให้เกียรติคนอื่น มุ่งประโยชน์ของผู้อื่น หัวใจของการสื่อสาร มองเห็นความดีของคนอื่น ให้เกียรติคนอื่น มุ่งประโยชน์ของผู้อื่น รู้กาลเทศะ
ทักษะการพูด ทักษะการสื่อสารที่แสดงถึงสัมพันธภาพที่ดีระหว่างบุคคลที่สำคัญ
อันคำพูดของมนุษย์ คือยุทธศาสตร์ อาจพิฆาตเข่นฆ่าได้ทุกที่ สุดแต่ถ้อยที่ใช้ร้ายหรือดี สร้างไมตรีหรือก่อภัยได้เท่ากัน (เทศบาลเมืองนครราชสีมา)
ถามตนเองทุกครั้งที่พูด ได้ยินเสียงตนเองหรือไม่ พูดในสิ่งที่ผู้อื่นอยากฟัง หรือไม่ ไวต่อความรู้สึกคนอื่นหรือไม่ เขารู้สึกอย่างไร ใช้อวัจนภาษาประกอบแล้วหรือไม่
การฟัง การรับรู้ความหมายจากเสียงที่ได้ยิน การรับรู้สารทางหู
หลักการฟังที่ดี 2. ฟังโดยมีความพร้อม (ร่างกาย/ จิตใจ) 3.ฟังโดยมีสมาธิ หลักการฟังที่ดี 1. ฟังให้ตรงตามความมุ่งหมาย 2. ฟังโดยมีความพร้อม (ร่างกาย/ จิตใจ) 3.ฟังโดยมีสมาธิ 4. ฟังด้วยความกระตือรือร้น 5. ฟังโดยไม่อคติ
การฟัง ช่วยให้เข้าใจสิ่งต่างๆ ได้มากขึ้น รวมถึงเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นที่กำลังสื่อสารกับเรา การเป็นผู้ฟังที่ดีจึงทำให้เข้าใจทั้งการสื่อสารและความรู้สึกได้เป็นอย่างดี ควรรับฟังอย่างตั้งใจ พูดทวนในสิ่งที่ได้ยินเมื่อไม่แน่ใจว่าเข้าใจถูกหรือไม่ มีการโต้ตอบอย่างเหมาะสม อาจใช้ท่าทางหรือคำพูด ไม่ควรเปลี่ยนหัวข้อการพูดคุยหากยังไม่จบเรื่อง การเป็นผู้ฟังที่ดียังช่วยให้เราเป็นที่รักของผู้อื่น ทำให้ผู้อื่นอยากพูดคุยกับเราเพราะรู้สึกว่าเราเข้าใจใส่ใจและสนใจในตัวเขา