นโยบายและทิศทางการพัฒนาทีม SRRT ปี 2558 นายแพทย์ศรายุธ อุตตมางคพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดอุบลราชธานี
ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (Surveillance and rapid response team: SRRT) คือ ทีมงานทางสาธารณสุขที่มีภารกิจในการเฝ้าระวังโรคติดต่อที่ แพร่ระบาดรวดเร็วรุนแรง ตรวจจับภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข (Public health emergency) สอบสวนโรคอย่างมีประสิทธิภาพทันการณ์ ควบคุม โรคฉุกเฉิน(ขั้นต้น) เพื่อหยุดยั้งหรือจำกัดการแพร่ระบาดไม่ให้ขยายวง และแลกเปลี่ยนข้อมูลเฝ้าระวังโรคตลอดจนร่วมมือกันในการเฝ้าระวัง ตรวจจับการระบาด
ใครบ้างคือสมาชิกในทีม SRRT ? หัวหน้าทีมหรือผู้บริหารทีม แกนหลักของทีม ผู้ร่วมทีม การปฏิบัติงานของทีม SRRT บางครั้งจำเป็นต้องร่วมกับทีมของ หน่วยงานอื่น หรือภาคเอกชน สนธิกำลังเป็นทีมขนาดใหญ่ ภายใต้การ อำนวยการของผู้บัญชาการเหตุการณ์ที่แต่งตั้งขึ้นเฉพาะกรณี
ประชาชนได้ประโยชน์อะไรจากทีม SRRT
IHR 2005 กับการพัฒนางานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา - พัฒนาประสิทธิภาพระบบเฝ้าระวังฯ ตั้งแต่ระดับท้องถิ่น - พัฒนาการเฝ้าระวังทางห้องปฏิบัติการ - พัฒนาการเฝ้าระวังโรคอุบัติใหม่ และโรค/ภัยที่เป็นภาวะฉุกเฉิน ทางสาธารณสุข - พัฒนาระบบเฝ้าระวังโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน และระบบเฝ้าระวัง ภัยคุกคามจากรังสีสารเคมี และอาหาร - จัดให้มีงานระบาดวิทยาในโครงสร้างหน่วยงานสาธารณสุขทุก ระดับ
IHR 2005 กับการพัฒนา SRRT - SRRT ทุกระดับสามารถจำแนกและดำเนินการต่อ Public Health Emergency ได้ - ต้องเร่งปรับปรุงพัฒนา Early warning system เพื่อเสริมภารกิจการเฝ้าระวังของ SRRT ให้เข้มแข็ง - จัดให้มีทีม SRRT ระดับท้องถิ่น เพื่อเป็น Local community response level - ต้องเร่งพัฒนาสมรรถนะทีม SRRT ทุกระดับให้ได้ตามข้อกำหนดใน IHR 2005 - จัดให้มีงานระบาดวิทยาเพื่อเป็นแกนหลักของทีม SRRT ในโครงสร้างหน่วยงาน สาธารณสุขทุกระดับ
รู้เร็ว รู้ไว ลงไปสอบสวนทันใด ลดโรค ลดภัย ประชาชนสุขภาพดี