พระพุทธศาสนาสมัยสุโขทัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พุทธรักษ์ ปราบนอก
พระพุทธศาสนาในยุคสุโขทัยคงมีทั้งนิกายเถรวาท และมหายานปะปนกัน พระพุทธศาสนาสมัยสุโขทัย ในราว พ.ศ. ๑๗๖๒ หัวหน้าคนไทยในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาคือพ่อขุนบางกลางหาว ได้ประกาศเอกราช ขับไล่อิทธิพลของเขมรออกไป แล้วตั้งนครสุโขทัยเป็นราชธานี ทรงพระนามว่าพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พระพุทธศาสนาในยุคสุโขทัยคงมีทั้งนิกายเถรวาท และมหายานปะปนกัน
พระพุทธศาสนาสมัยสุโขทัย ในสมัยพระเจ้าปรกมพาหุแห่งลังกา มีการสังคายนา เป็นครั้งที่ ๗ ของเถรวาท ทำให้พระพุทธศาสนาในลังกามีความรุ่งเรือง พระสงฆ์จากนานาประเทศไปศึกษาเล่าเรียนและบวชใหม่ตามแบบลังกา กลับมาตั้งนิกายลังกาวงศ์ที่ นครศรีธรรมราช
พระพุทธศาสนาสมัยสุโขทัย พ่อขุนรามคำแหงมหาราชกษัตริย์องค์ที่ ๓ ของราชวงศ์พระร่วง (๑๘๒๐-๑๘๔๑) โปรดให้นิมนต์คณะสงฆ์ลังกาจากนครศรีธรรมราชขึ้นมาตั้งลังกาวงศ์ขึ้นที่กรุงสุโขทัย โดยให้พำนักที่วัดอรัญญิก (ศิลาจารึกหลักที่ ๑) เรียกว่า คณะอรัญญิก
พระพุทธศาสนาสมัยสุโขทัย คณะสงฆ์ในสุโขทัยมี ๒ คณะ คือ คณะสงฆ์ใหม่แบบลังกาและคณะสงฆ์แบบเก่าคือหินยานและมหายาน ทั้งสองคณะมีความขัดแย้งกัน เพราะคณะสงฆ์แบบลังกาใช้ภาษาบาลี คณะสงฆ์เก่าใช้ภาษาสันสกฤต จึงทำสังฆกรรมร่วมกันไม่ได้
พระพุทธศาสนาสมัยสุโขทัย วิธีการปรองดองกันของสงฆ์ทั้ง ๒ คณะ ๑) การบวชให้รับไตรสรณคมน์ ๒ ครั้ง โดยกล่าวเป็นภาษาบาลี ๑ ครั้ง และสันสกฤต ๑ ครั้ง การมีใบสีมา ๒ แผ่นซ้อนกันในวัดหลวง
พระพุทธศาสนาสมัยสุโขทัย เมื่อพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทแบบลังกาวงศ์ขึ้นมาประดิษฐานที่สุโขทัยแล้ว นิกายเถรวาทแบบมอญเก่า และนิกายมหายานค่อยๆ สลายตัวเองหมดไป
พระพุทธศาสนาสมัยสุโขทัย พระสงฆ์ทั้งไทยสุโขทัย ไทยลานนา เขมร และมอญ พากันไปบวชเรียนในลังกามากขึ้น จึงทำให้เกิดสมณวงศ์แบบลังกาวงศ์ขึ้นหลายสายและสัมพันธ์กันโดยใกล้ชิด
พระพุทธศาสนาสมัยสุโขทัย ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๘-๑๙ ไทย พม่า เขมร มอญ ลาว ได้เปลี่ยนเป็นนับถือลัทธิเถรวาทแบบลังกาวงศ์หมด
พระพุทธศาสนาสมัยสุโขทัย ในรัชสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท ซึ่งเป็นกษัตริย์องค์ที่ ๕ ในราชวงศ์พระร่วง (พ.ศ. ๑๘๙๗- ๑๙๑๙) ได้เสด็จออกผนวชเป็นพระภิกษุ ณ วัดป่ามะม่วงอยู่ชั่วระยะกาลหนึ่ง นับเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรก ของไทยซึ่งผนวชในพระพุทธศาสนาในขณะที่ขึ้นเสวยราชย์
พระพุทธศาสนาสมัยสุโขทัย อุทิศพระราชมณเฑียรเป็นโรงเรียนสอนปริยัติธรรมแก่พระภิกษุสามเณร นับเป็นโรงเรียนแห่งแรก สร้างปูชนียสถานและปูชนียวัตถุ เช่น พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ เผยแผ่พระพุทธศาสนาไปยังอาณาจักรต่างๆ
พระพุทธศาสนาสมัยสุโขทัย พระมหาธรรมราชาลิไททรงศึกษาพระไตรปิฎก แตกฉานถึงกับสามารถพระราชนิพนธ์ "เตภูมิกถา" (เรียกกันปัจจุบันว่า ไตรภูมิพระร่วง) ซึ่งพรรณนาถึงเรื่องของ กามภูมิ, รูปภูมิ, อรูปภูมิ และกุศลอกุศลกรรมของสรรพสัตว์ที่จะพาให้ไปเสวยสุขหรือเสวยทุกข์ในภูมินั้นๆ อย่างละเอียด
พระพุทธศาสนาสมัยสุโขทัย พระสงฆ์ไทย คือ พระสุมนะ และพระอโนมทัสสี ไปเรียนที่ลังกา โดยได้บวชใหม่ในสำนักพระอุทุมพร ปุปผมหาสวามี ท่านทั้งสองกลับมาเผยแผ่นิกายลังกาวงศ์ในสุโขทัย เรียกว่า นิกายอุทุมพร แพร่หลายในล้านนา ล้านช้าง พระเจ้ากือนานิมนต์พระสุมนะไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่เชียงใหม่
การปกครองสงฆ์สมัยสุโขทัย คณะสงฆ์มี ๒ คณะ คือ ๑) คณะอรัญญิกกแบบลังกาวงศ์ เป็นสายปฏิบัติ (ฝ่ายซ้าย) ๒) คณะสงฆ์ที่มีอยู่เดิมในสุโขทัยเรียกว่า คณะคามวาสี (ฝ่ายขวา) เป็นสายวิชาการ สงฆ์ทั้งสองคณะปกครองแยกเป็นอิสระจากกันและกัน มีผู้ปกครองสูงสุดเรียกว่า พระสังฆราช สังฆราชในสุโขทัยจึงมี ๒ รูป
การปกครองสงฆ์สมัยสุโขทัย (ต่อ) พระมหากษัตริย์แต่งตั้งพระสังฆราชประจำหัวเมืองสำคัญๆ ทำให้มีสังฆราชหลายองค์ และขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์ ระดับการปกครองสงฆ์ในสุโขทัยแบ่งเป็น ๓ ระดับ คือ พระสังฆราช พระครู และเจ้าอาวาส
แผนที่ชมพูทวีป แสดงพุทธสถานสำคัญสมัยพุทธกาล (ที่มา: www.dhammalife.com)