งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การสถาปนากรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา และกรุงธนบุรี

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การสถาปนากรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา และกรุงธนบุรี"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การสถาปนากรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา และกรุงธนบุรี
การสถาปนากรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา และกรุงธนบุรี

2 สมาชิกกลุ่ม 1.นางสาวธีรานุช วงศ์ษา เลขที่ 19
1.นางสาวธีรานุช วงศ์ษา เลขที่ 19 2.นางสาวเบญจวี แสนเงิน เลขที่ 20 3.นางสาวปาลิตา วงศ์ม่าน เลขที่ 24 4.นางสาวภัทราภรณ์ โรจนสกุลพิสุทธิ์ เลขที่ 26 5.นางสาววิรัฐญา พรหมตัน เลขที่ 27 6.นางสาวสิริวรรณ นันทสุวรรณ เลขที่ 28 7.นางสาวรุจิมาศ สาปาน เลขที่ 33 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/4 เสนอ ครูสายพิน วงษารัตน์

3 การสถาปนากรุงสุโขทัย
          อาณาจักรสุโขทัยเป็นอาณาจักรของคนไทยที่ได้รับการสถาปนาขึ้นใน พ.ศ. 1792  ก่อนหน้าที่จะมีการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยขึ้นมานั้น  สุโขทัยเป็นเมืองเก่าแก่ที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก่อน  จากการตีความในศิลาจารึกหลักที่ 2 (วัดศรีชุม)  พอจะสรุปความได้ว่า  เมืองสุโขทัยแต่เดิมมีผู้นำคนไทยชื่อ  พ่อขุนศรีนาวนำถุม  เป็นเจ้าเมืองปกครองอยู่  เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์  ขอมสบาดโขลญลำพง  ขุนนางขอมได้นำกำลังเข้ายึดกรุงสุโขทัยไว้ได้

4 พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
เมื่อพวกขอมเริ่มเสื่อมอำนาจลง  ในปี พ.ศ. 1780  ได้มีผู้นำ 2 ท่าน คือ  พ่อขุนบางกลางหาว  และพ่อขุนผาเมือง  ซึ่งเป็นผู้นำคนไทยได้ร่วมมือกันรวบรวมกำลังเข้าขับไล่ขอมออกจากดินแดนแถบนี้และตั้งตนเป็นอิสระ  พร้อมกับสถาปนากรุงสุโขทัยเป็นราชธานีของอาณาจักรไทย  และได้สถาปนาพ่อขุนบางกลางหาวขึ้นเป็นกษัตริย์ปกครองกรุงสุโขทัยทรงพระนามว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์นับเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์สุโขทัยหรือราชวงศ์พระร่วง  นับตั้งแต่ พ.ศ. 1792  เป็นต้นมา พ่อขุนศรีอินทราทิตย์

5 ปัจจัยที่เอื้อต่อการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยเป็นราชธานี  มีดังนี้
               1.  ปัจจัยภายใน  ได้แก่  การมีขวัญและกำลังใจดีของประชาชนเนื่องจากมีผู้นำที่เข้มแข็งและมีความสามารถ  การมีนิสัยรักอิสระ  ไม่ชอบให้ผู้ใดมากดขี่ข่มเหง  บังคับ และบ้านเมืองมีความอุดมสมบูรณ์ 2.  ปัจจัยภายนอก  ได้แก่  การเสื่อมอำนาจของขอม  หลังจากที่พระเจ้า ชัยวรมันที่ 7 สิ้นพระชนม์ลง  กษัตริย์องค์ต่อมาไม่สามารถรักษาอำนาจของตนในดินแดนที่ยึดครองมาได้  ทำให้หัวเมืองต่าง ๆ พากันตั้งตนเป็นอิสระ

6 พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
          ระยะเริ่มต้นของการสถาปนากรุงสุโขทัยเป็นราชธานี  โดยเฉพาะในสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์  บ้านเมืองยังไม่มั่นคงมากนัก  คนไทยยังอยู่กันอย่างกระจัดกระจาย  บางเมืองยังคงมีอิสระในการปกครองตนเอง  ไม่มีการรวมอำนาจไว้ ณ ศูนย์กลางเมืองใดเมืองหนึ่งโดยตรง  บางครั้งจึงมีการทำสงครามกันเพื่อแย่งชิงอำนาจและขยายอาณาเขตของเมือง  เช่น  ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดได้ยกทัพมาตีเมืองตาก             เมื่อสิ้นรัชสมัยของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์  พระราชโอรสองค์ใหญ่  คือ  พ่อขุนบานเมือง  ได้ขึ้นครองราชย์  สมัยนี้สุโขทัยได้ขยายอำนาจ ทางการเมืองด้วยการทำสงครามกับหัวเมืองต่าง ๆ โดยมีพระอนุชา  คือ  พระรามคำแหง  เป็นกำลัง สำคัญ  ซึ่งต่อมาพระองค์ได้ขึ้นครองราชย์สืบต่อ จากพ่อขุนบานเมือง พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

7 ในสมัยพ่อขุนรามคำแหง  พระองค์ทรงเป็นแม่ทัพไปปราบเมืองต่าง ๆ จนเป็นที่เกรงขามของอาณาจักรอื่น ๆ ดังนั้นเมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์จึงมีหลายเมืองที่ยอมอ่อนน้อมเข้ารวมอยู่กับอาณาจักรสุโขทัย  โดยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชมิได้ส่งกองทัพไปรบ  ทำให้อาณาจักรสุโขทัยมีอาณาเขตแผ่ขยายออกไปกว้างขวาง  ดังปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 1 ดังนี้      ทิศเหนือ ครอบคลุมเมืองแพร่  น่าน  พลัว  จนถึงเมืองหลวงพระบาง      ทิศใต้  ครอบคลุมเมืองคณฑี (กำแพงเพชร)  พระบาง (นครสวรรค์)  แพรก(ชัยนาท)  สุพรรณบุรี ราชบุรี นครศรีธรรมราช  จนถึง แหลมมลายู      ทิศตะวันออก  ครอบคลุมเมืองสระหลวงสองแคว (พิษณุโลก)  ลุมบาจาย (หล่มเก่า)  สระคา  และข้ามฝั่งแม่น้ำโขงไปถึงเมืองเวียงจันทน์ และเวียงคำ      ทิศตะวันตก  ครอบคลุมเมืองฉอด  หงสาวดี จนถึงชายฝั่งทะเลด้านอ่าวเบงกอล

8 ขณะเดียวกันพ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงใช้หลักธรรมในการปกครองเพื่อให้ประชาชนได้อยู่เย็นเป็นสุข  ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เจ้าเมืองต่าง ๆ เหล่านี้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ  ทำให้สุโขทัยปราศจากข้าศึกศัตรูในทุกทิศ  นับได้ว่าในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช  เป็นช่วงสมัยที่อาณาจักรสุโขทัยมีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุด หลังจากสิ้นรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช  มีกษัตริย์ขึ้นครองราชย์อีก 2 พระองค์  คือ  พญาเลอไทย  และพญางั่วนำถม  แต่อาณาจักรสุโขทัยก็เริ่มเสื่อมอำนาจลง  บรรดาเมืองต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้การปกครองของสุโขทัยได้แยกตัวเป็นอิสระและเมืองประเทศราชที่มีกำลังเข้มแข็งต่างพากันแยกตัวไม่ขึ้นต่อกรุงสุโขทัย  เช่น  เมืองพงสาวดี  เมืองนครศรีธรรมราช  เป็นต้น  นอกจากนี้ในตอนปลายรัชสมัยพญางั่วนำถมยังเกิดจลาจลขึ้นอีก  เนื่องจากมีการแย่งชิงราชสมบัติจนพญาลิไทยเจ้าเมืองศรีสัชนาลัยต้องยกกำลังมาปราบ  ทำให้บ้านเมืองสงบลง

9 หลังทรงปราบจลาจลในกรุงสุโขทัยได้สำเร็จ  พญาลิไทยได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ครองราชสมบัติ  ทรงพระนามว่า  พระมหาธรรมราชาที่ 1  พระองค์ทรงพยายามสร้างอำนาจทางการเมือง  เพื่อพัฒนาบ้านเมืองให้เข้มแข็งมาใหม่  อย่างไรก็ตามอาณาเขตของอาณาจักรสุโขทัยในรัชสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1  ก็ได้ลดลงไปมากกว่าครึ่งเมื่อเทียบกับสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช  ต่อมาเมื่อสิ้นรัชสมัยของพระมหาธรรมราชาที่ 1 แล้ว  มีพระมหากษัตริย์ขึ้นครองราชย์สืบต่อมาอีก 3 พระองค์  คือ  พระมหาธรรมราชาที่ 2  พระมหาธรรมราชาที่ 3  (ไสลือไทย)  และพระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล)  แต่ในช่วงเวลาดังกล่าวอาณาจักรสุโขทัยเริ่มเสื่อมอำนาจ

10 กรุงสุโขทัย มีกษัตริย์ปกครอง 9 พระองค์ ดังนี้. 1
          กรุงสุโขทัย  มีกษัตริย์ปกครอง 9 พระองค์  ดังนี้ 1.  พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ (พ่อขุนบางกลางหาว) 2.  พ่อขุนบานเมือง 3.  พ่อขุนรามคำแหงมหาราช  4.  พญาเลอไทย 5.  พญางั่วนำถม  6.   สมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย) 7.  สมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ 2  8.  สมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ 3  (ไสลือไทย) 9.  สมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ 4  (บรมปาล)

11 การสถาปนากรุงศรีอยุธยา
     ในการศึกษาประวัติศาสตร์ทำให้ เราทราบว่าบรรพบุรุษของไทยเป็น ผู้สถาปนาอาณาจักรสุโขทัยขึ้นใน บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนบน  และในช่วงเวลาที่อาณาจักรสุโขทัย เริ่มเสื่อมอำนาจลง  อาณาจักรอยุธยา ก็สถาปนาขึ้น  และดำรงอยู่เป็น ราชธานีตลอดระยะเวลา 417 ปี  จนกระทั่งกรุงศรีอยุธยาเสียอิสรภาพ ให้แก่พม่า  ในปี พ.ศ แล้ว  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้กอบกู้เอกราชของไทยคืนมา  และสถาปนากรุงธนบุรีขึ้นเป็นราชธานีแห่งใหม่  อาณาจักรธนบุรีดำรงอยู่มาได้ 15 ปี  ก็สิ้นสุดแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  ต่อมาในปี พ.ศ. 2325  สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  ทรงสถาปนาพระราชวงศ์จักรีขึ้นปกครองแผ่นดินและตั้งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีแห่งใหม่ของไทยสืบต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้

12 พระเจ้าอู่ทอง ผู้ก่อตั้งอาณาจักรอยุธยา
ก่อนที่พระเจ้าอู่ทองจะเสด็จมาสร้างกรุงศรีอยุธยาเมื่อ พศ. 1893  ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าพระองค์มีเชื้อสายมาจากราชวงศ์ใด  และมีถิ่นกำเนิดอยู่ที่เมืองใด  แต่มีข้อสันนิษฐานว่า  พระเจ้าอู่ทองสืบเชื้อสายมาจากทางเหนือ  ตอนบนของแม่น้ำเจ้าพระยา  ก่อนที่จะอพยพมาสร้างกรุงศรีอยุธยา นอกจากนี้ยังมีความคิดเห็นที่แตกต่างออกไปว่า  พระเจ้าอู่ทองซึ่งเป็นฝ่ายละโว้ได้อภิเษกสมรสกับพระราชธิดาของกษัตริย์แห่งสุพรรณภูมิ  เพื่อจุดมุ่งหมายทางการเมืองที่จะสร้างความมั่นคงให้กับอาณาจักร ต่อมาเมื่อเมืองอู่ทองเกิดโรคระบาด  เกิดภัยธรรมชาติ  ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก  พระเจ้าอู่ทองจึงอพยพผู้คนไปยังทำเลที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์  (เชื่อกันว่าเป็นบริเวณที่เป็นวัดพุทไธสวรรย์ในปัจจุบัน)  ทรงสร้างเมืองใหม่ที่บริเวณหนองโสนหรือบึงพระราม  แล้วสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีในปี พ.ศ. 1893  ทรงพระราชทานนามพระนครว่า  "กรุงเทพทวารวดี ศรีอยุธยา"  พระเจ้าอู่ทองเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นปฐมกษัตริย์ต้นราชวงศ์อู่ทอง  ทรงพระนามว่า  "สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1" พระเจ้าอู่ทอง

13 ที่ตั้งของกรุงศรีอยุธยา
กรุงศรีอยุธยามีที่ตั้งที่เหมาะสม  เนื่องจากมีแม่น้ำสำคัญไหลผ่านถึง 3 สาย  ได้แก่ แม่น้ำลพบุรี      ไหลจากทางทิศเหนือ อ้อมไปทางทิศตะวันตก แม่น้ำป่าสัก      ไหลผ่านจากทิศตะวันออก แม่น้ำเจ้าพระยา  ไหลจากทิศตะวันตกอ้อม ไปทางทิศใต้ แม่น้ำทั้ง 3 สายนี้  ไหลมาบรรจบกัน ล้อมรอบราชธานี  ทำให้กรุงศรีอยุธยามีลักษณะ เป็นเกาะที่มีสัณฐานคล้ายเรือสำเภา  คนทั่วไปจึงเรียกอยุธยาว่า  "เกาะเมือง"  อยุธยามีทำเลทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมกับการเป็นราชธานี คือ 1.  เป็นที่มีความอุดมสมบูรณ์  เหมาะแก่การเพาะปลูก 2.  สะดวกแก่การคมนาคม  3.  มีความเหมาะสมด้านยุทธศาสตร์ 

14 รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา
               ตลอดระยะเวลา 417 ปี  ที่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของไทย  ได้มีพระมหากษัตริย์ปกครองสืบต่อกันมา 5 ราชวงศ์  รวมทั้งสิ้น 33 พระองค์ 1.  พระราชวงศ์อู่ทอง   สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระจ้าอู่ทอง)  ครองราชย์ พ.ศ   สมเด็จพระราเมศวร  ครองราชย์ พ.ศ   และ พ.ศ   สมเด็จพระรามราชาธิราช  ครองราชย์  พ.ศ               

15 2.  สุพรรณภูมิ -  สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพ่องั่ว)  ครองราชย์  พ.ศ   สมเด็จพระเจ้าทองลัน  (ทองจันทร์)  ครองราชย์  พ.ศ   สมเด็จพระอินทราธิราช (เจ้านครอินทร์)  ครองราชย์  พ.ศ   สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2  (เจ้าสามพระยา)  ครองราชย์  พ.ศ   สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ  ครองราชย์  พ.ศ   สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3  ครองราชย์  พ.ศ.    สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2  ครองราชย์  พ.ศ   สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4  (หน่อพุทธางกูรหรือพระอาทิตยวงศ์) ครองราชย์  พ.ศ   สมเด็จพระรัษฎาธิราชราชกุมาร  ครองราชย์  พ.ศ   สมเด็จพระไขยราชาธิราช  ครองราชย์  พ.ศ – 2089 -  สมเด็จพระยอดฟ้า (พระแก้วฟ้า)  ครองราชย์  พ.ศ   สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ  ครองราชย์  พ.ศ   สมเด็จพระมหินทราธิราช  ครองราชย์  พ.ศ

16 3.  สุโขทัย -  สมเด็จพระมหาธรรมราชา  ครองราชย์  พ.ศ   สมเด็จพระนเรศวรมหาราช  ครองราชย์  พ.ศ   สมเด็จพระเอกาทศรถ  ครองราชย์  พ.ศ   สมเด็จพระศรีเสาวภาคย์  ครองราชย์  พ.ศ   สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม  ครองราชย์  พ.ศ   สมเด็จพระเชษฐาธิราช  ครองราชย์  พ.ศ   สมเด็จพระอาทิตยวงศ์  ครองราชย์  พ.ศ.  2173 – 2173 4.  ปราสาททอง -  สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง  ครองราชย์  พ.ศ   สมเด็จเจ้าฟ้าไชย  ครองราชย์  พ.ศ   สมเด็จพระสุธรรมราชา  ครองราชย์  พ.ศ   สมเด็จพระนารายณ์มหาราช  ครองราชย์  พ.ศ

17 5.  บ้านพลูหลวง -  สมเด็จพระเพทราชา  ครองราชย์ 
พ.ศ   สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ)  ครองราชย์  พ.ศ   สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 (พระเจ้าท้ายสระ)  ครองราชย์  พ.ศ   สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ  ครองราชย์  พ.ศ   สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร (ขุนหลวงหาวัด)  ครองราชย์  พ.ศ   สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศ) ครองราชย์ พ.ศ

18 การสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี
เมื่อพระยาตากกู้เอกราชได้สำเร็จได้โปรดให้ขุดพระบรมศพพระเจ้าเอกทัศขึ้นมาถวายพระเพลิงอย่างสมพระเกียรติ  ประชาชนต่างก็ยอมรับพระเจ้าตากเป็นพระเจ้าแผ่นดิน  จึงได้ทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ ใน พ.ศ. 2311  และยังได้ทรงเกื้อกูลพระราชวงศ์ของกรุงศรีอยุธยาหลายพระองค์ที่ประชวรอยู่ หลังจากกอบกู้เอกราชได้แล้ว  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงมีพระราชดำริว่า  กรุงศรีอยุธยามีสภาพทรุดโทรมมาก  ไม่สามารถซ่อมแซมฟื้นฟูให้กลับคืนสภาพเดิมได้  ปราสาทราชมณเฑียร  วัดวาอารามพังย่อยยับ  จึงทรงตัดสินพระทัยสร้างราชธานีใหม่ขึ้นที่เมืองธนบุรี  ซึ่งมีขอบเขตของราชธานีครอบคลุมสองฝั่งน้ำ  โดยมีแม่น้ำเจ้าพระยาตัดผ่านกลางเมือง

19 สาเหตุที่ย้ายเมืองหลวงจากกรุงศรีอยุธยามาอยู่ที่กรุงธนบุรี
          1 กรุงศรีอยุธยาชำรุดเสียหายมาก  ไม่สามารถบูรณปฏิสังขรณ์ให้มีสภาพเหมือนเดิมได้           2  กำลังพลของพระองค์มีน้อย  ไม่สามารถรักษากรุงศรีอยุธยาที่เป็นเมืองใหญ่ได้           3  ข้าศึกรู้ทิศทางที่จะมาตีกรุงศรีอยุธยาดีแล้ว           4  กรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่ไกลจากปากแม่น้ำมากเกินไป  ไม่สะดวกต่อการติดต่อค้าขายกับต่างชาติที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

20 สาเหตุที่ทรงเลือกกรุงธนบุรีเป็นเมืองหลวง
          1  กรุงธนบุรีเป็นเมืองเล็ก  เหมาะต่อการป้องกันรักษา           2  กรุงธนบุรีตั้งอยู่ใกล้ปากแม่น้ำ  ทำให้สะดวกต่อการติดต่อค้าขายกับต่างชาติ  และการควบคุมการลำเลียงเสบียงอาหาร           3  กรุงธนบุรีตั้งอยู่ใกล้ทะเล  หากข้าศึกมีแต่ทัพบกไม่มีทัพเรือก็ยากที่จะชนะได้  และหากตั้งรับไม่ไหวก็สามารถยกพลทางเรือไปตั้งรับที่จันทบุรีได้           4  กรุงธนบุรีเป็นแหล่งรวมขวัญและกำลังใจของคนได้ดี  เพราะตั้งอยู่ไม่ไกลจากกรุงศรีอยุธยา

21 บรรณานุกรม กรุงสุโขทัย (เอกสารออนไลน์) เข้าถึงได้จาก กรุงศรีอยุธยา (เอกสารออนไลน์) เข้าถึงได้จาก กรุงธนบุรี (เอกสารออนไลน์) เข้าถึงได้จาก


ดาวน์โหลด ppt การสถาปนากรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา และกรุงธนบุรี

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google