นายปรีชานันท์ อุปละ ม.4/5 เลขที่ 11 ปิโตรเลียม จัดทำโดย นาย นายปรีชานันท์ อุปละ ม.4/5 เลขที่ 11 เสนอ อ.สุธารัตน์ นักลำ
ปิโตรเลียม(Petroleum) หมายถึง น้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ มีธาตุที่เป็นองค์ประกอบหลัก 2 ชนิด คือ CabonและHydrogen และอาจมีธาตุอโลหะชนิดอื่นปนอยู่ด้วย เช่นกำมะถัน ออกซิเจน เป็นต้น ปิโตรเลียมเป็นได้ทั้ง 3 สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว และแก๊ส
การเกิดปิโตรเลียม เกิดจากการทับถมและแปรสภาพของซากสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ยุคก่อนประวัติศาสตร์นับหลายล้าน ถูกทับถมกลายเป็นชั้นหินต่างๆ ผนวกกับความร้อนใต้พิภพและการสลายตัวของอินทรีย์สารตามธรรมชาติ ทำให้ซากพืชและซากสัตว์กลายเป็นน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ
แหล่งปิโตรเลียม ประเทศไทยมีการสํารวจพบแหล่งปิโตรเลียมของประเทศแล้ว 79 แหล่ง และทําการผลิตอยู่ 41 แหล่ง โดยแบ่งเป็น แหล่งปิโตรเลียมบนบก 21 แหล่ง ผลิตอยู่ 20 แหล่ง แหล่งปิโตรเลียมในทะเล 58 แหล่ง ผลิตอยู่ 21 แหล่ง
แหล่งปิโตรเลียมในไทย ที่มา:http://www.vcharkarn.com/vblog/37277/29
การกลั่นน้ำมันดิบ กระบวนการกลั่นนํ้ามันเชื้อเพลิงประกอบด้วยกระบวนการสําคัญ คือ 1. การกลั่นหรือการแยก(separation) 2. การแปรรูปหรือการเปลี่ยนโครงสร้างทางเคมี (conversion) 3. การปรับปรุงคุณภาพ(treating) 4. การผสม(blending)
การกลั่นน้ำมันดิบ 1. การกลั่นหรือการแยก(separation) กระบวนการแยกนํ้ามันดิบ คือ การแยกส่วนประกอบของ นํ้ามันดิบทางกายภาพ ส่วนใหญ่แยกโดยวิธีการกลั่นลําดับส่วน (fractional distillation) โดยนํานํ้ามันดิบมากลั่นในหอกลั่นบรรยากาศ น้ำมันดิบจะแยกเป็นนํ้ามันสําเร็จรูปต่างๆที่มีช่วงจุดเดือดต่างกัน
การกลั่นน้ำมันดิบ ที่มา:http://www.vcharkarn.com/lesson/view.php?id=1464
การกลั่นน้ำมันดิบ ผลิตภัณฑ์ที่ได้ จุดเดือด(°C) สถานะ จำนวนแก็สCabon การใช้ประโยชน์ แก๊สปิโตรเลียม < 30 แก๊ส 1 – 4 ทําสารเคมี วัสดุสั งเคราะห์ เชื้อเพลิง แก๊สหุงต้ม แนฟทาเบา 30-110 ของเหลว 5-7 นํ้ามันเบนซิน แนฟทาหนัก 65-170 6-12 นํ้ามันก๊าด 170-250 10-19 นํ้ามันก๊าด เชื้อเพลิงเครื่องยนต์ไอพ่น และตะเกียง นํ้ามันดีเซล 250-340 14-19 เชื้อเพลิงเครื่องยนต์ ดีเซล นํ้ามันหล่อลื่น > 350 19-35 นํ้ามันเครื่อง ไข >500 ของแข็ง >35 เทียนไข เครื่องสําอาง ยาขัดมัน ผงซักฟอก น้ำมันเตา ของเหลวหนืด เชื้อเพลิงเครื่องจักร ยางมะตอย > 500 วัสดุกันซึม ถนน
การกลั่นน้ำมันดิบ 2. การแปรรูปหรือการเปลี่ยนโครงสร้างทางเคมี (conversion) เป็นการเปลี่ยนแปลงโมเลกุลหรือโครงสร้างเคมี เพื่อให้นํ้ามันมีคุณภาพที่ เหมาะกับการใช้ประโยชน์ได้แก่ 2.1 กระบวนการแตกสลาย(cracking) 2.2 กระบวนการเปลี่ยนสภาพ(reforming) 2.3 กระบวนการรวมโมเลกุล(alkylation และpolymerization)
การกลั่นน้ำมันดิบ 2.1 กระบวนการแตกสลาย(cracking) เป็นการแตกสลายสารประกอบไฮโดรคาร์บอนโมเลกุลใหญ่ให้เล็กลง โดยอาศัยความร้อนหรือตัวเร่งปฏิกิริยา 2.1.1 Thermal cracking เป็นกระบวนการแตกสลายนํ้ามันดีเซลหรือนํ้ามันเตาโดยใช้ความร้อนสูงประมาณ400 – 500 °C ภายใต้ความดันสูง ได้ผลิตภัณฑ์ คือ ก๊าซส่วนใหญ่เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนประเภทolefin
การกลั่นน้ำมันดิบ 2.1.2 Catalytic cracking เป็นกระบวนการแตกสลายนํ้ามันดีเซล (gas oil) และนํ้ามันหนัก โดยใช้สารตัวเร่งปฏิกิริยาช่วย ตัวเร่งปฏิกิริยาอาจเป็นพวกดินเหนียวธรรมชาติ เช่นkaolin, bentoniteหรือพวกดินเหนียวสังเคราะห์ที่ มี ธาตุอะลูมิเนียมสูง หรือใช้synthetic zeolite ผลิตภัณฑ์ที่ได้ คือ นํ้ามันเบนซินที่ มี ค่าออกเทนสูงก๊าซไฮโดรคาร์บอนประเภทolefin
การกลั่นน้ำมันดิบ 2.2 กระบวนการเปลี่ยนสภาพ(reforming) เป็นกระบวนการเปลี่ยนสภาพสารไฮโดรคาร์บอนชนิดหนึ่งให้เป็น สารไฮโดรคาร์บอนอีกชนิด โดยอาศัยความร้อนหรือตัวเร่งปฏิกิริยา 2.2.1 Thermal reforming ใช้ความร้อนสูงเปลี่ยนลักษณะโครงสร้าง สารไฮโดรคาร์บอนในนํ้ามันเบนซิน
การกลั่นน้ำมันดิบ 2.2 กระบวนการเปลี่ยนสภาพ(reforming) 2.2.2 Hydroforming ใช้ไฮโดรเจนและตัวเร่งปฏิกิริยาพวกmolybdenum บนalumina กระบวนการนี้ ช่วยแปรสภาพนํ้ามันเบนซินออกเทนตํ่าให้มีค่าสูงขึ้น 2.2.3 Platforming and catformingใช้ไฮโดรเจนและตัวเร่งปฏิกิริยาพวกPt บนalumina
การกลั่นน้ำมันดิบ 2.2 กระบวนการเปลี่ยนสภาพ(reforming) 2.2.4 Catalytic reforming เป็นกระบวนการหลักเพื่อผลิตgasoline ที่มีค่าออกเทนสูงและยังมีบทบาทต่อการผลิตสารอะโรมาติกส์ใน อุตสาหกรรมเคมี
การกลั่นน้ำมันดิบ 2.3 กระบวนการรวมโมเลกุล เป็นการจัดรูปโมเลกุลใหม่ 2.3.1 Alkylation เป็นกระบวนการผลิตองค์ประกอบของนํ้ามันเบนซิน 2.3.2 Polymerization เพื่อทำให้light olefin จากกระบวนการcracking ต่างๆ เปลี่ยนเป็นไฮโดรคาร์บอนที่ใหญ่ขึ้น