เรื่อง Token Bus LAN จัดทำโดย นายปรีชา สุขมาก นายจักรกริน ย่องนุ่น เสนอ นาย จังหวัด ศรีสลับ
Token Bus ได้รับการพัฒนาเพื่อเป็นมาตรฐานสำหรับระบบเครือข่าย แบบบัสที่ตอบสนองความต้องการ คือไม่ต้องการให้มีการชน กันของข้อมูลเกิดขึ้นเลย โดยจะทำงานด้วยการส่งแพ็กเกตข้อ มูลที่เรียกว่าโทเคน (Token) วนเป็นวงแหวนไปตามสถานีงาน ต่างๆ บนเครือข่าย เมื่อโทเคนไปถึงสถานีงานปลายทางก็จะมี การคัดลอกข้อมูลขึ้นมา จากนั้นก็จะส่ง ข้อมูลแจ้งกลับไปยัง สถานีงานต้นทางว่าได้รับแล้วผ่านทางโทเคนเดิม ระบบ เครือข่ายจะต้องสร้างตารางของตำแหน่งที่อยู่สำหรับสถานี งานทั้งหมดขึ้น ซึงจะเรียงตามลำดับตามลำดับของสถานีงาน ที่สามารถรับโทเคนไปได้ ในกรณีที่มีสถานีงานใดต้องการ ติดต่อกับระบบเครือข่ายสูงเป็นพิเศษ นั่นก็คือต้องการได้รับโท เคนถี่ขึ้นเป็นพิเศษ ก็สามารถทำได้ด้วยการใส่ตำแหน่งที่อยู่ ของสถานีนั้นๆ ไว้ในตารางให้มากขึ้น เส้นทางการเดินทางของโทเคนบนระบบเครือข่าย Token Bus
หลักการเชื่อมต่อ Token Bus, Token Ring Token Bus โดยลักษณะทางกายภาพ โทเคนบัสมีการ ต่อเชื่อมแบบเป็นเส้นตรง สถานีต่างๆ เชื่อมต่อ เข้าที่จุดใดๆ แต่ในทางตรรกะ สถานีจะถูก จัดกลุ่มในลักษณะวง แต่ละสถานีจะทราบ หมายเลขที่อยู่ของสถานีที่อยู่ทางด้ายซ้ายและ ด้านขวา ของตนเองตลอดเวลา เมื่อเริ่มต้นการ ทำงานสถานีที่มีหมายเลขสูงสุดของวงนั้นๆ สามารถส่งเฟรมข้อมูลออกมาได้เป็นลำดับแรก หลังจาก นั้นก็จะส่งเฟรม “ โทเคน ” ไปยังสถานีข้างเคียง ของ
ลักษณะการเชื่อมต่อแบบ Bus ใช้ปริมาณสาย และจำนวนจุดในการเชื่อมต่อน้อยกว่าแบบ Mesh, Star และ Tree สายเคเบิลที่ใช้เป็นสาย เคเบิลกลางจะมีจุดปิดหัวปิดท้าย (Cable Terminators) และแต่ละจุดเชื่อมต่อ (tap) ก็จะ เป็นจุดที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างเคเบิลส่วนกลางกับ โหนดในเครือข่าย ข้อด้อยของโทเคนบัส คือความจำกัดในแง่ของ ระยะทาง และข้อจำกัดในเรื่องจำนวนของสถานี งานใหม่ที่จะสามารถเพิ่มลงไปในบัส ทั้งนี้เพราะ ทุกๆ สถานีงานใหม่ที่เพิ่มขึ้นย่อมหมายถึงความ เพี้ยนของสัญญาณโดยรวมที่จะเกิดมากขึ้น