โลกและการเปลี่ยนแปลง โดย ครูมณี สุวรรณจำปา โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย
ทฤษฎีการแปรสัณฐานแผ่นธรณี (plate tectonic theory ) เป็นทฤษฎีที่ใช้อธิบายการเกิดและการเปลี่ยนแปลงของทวีปและมหาสมุทร
ดร. อัลเฟรด เวเกเนอร์ (Dr ดร. อัลเฟรด เวเกเนอร์ (Dr. Alfred Wegener) ได้ตั้งสมมติฐานว่าผืนแผ่นดินทั้งหมดบนโลกแต่เดิมเป็นแผ่นดินผืนเดียวกัน เรียกว่า พันเจีย (pangaea) ซึ่งเป็นภาษากรีก แปลว่า แผ่นดินทั้งหมด
ผืนทวีปพันเจีย
หลักฐานและข้อมูลทางธรณีภาค ที่ทำให้เชื่อว่าทวีปต่างๆในปัจจุบันแต่เดิมเป็นแผ่นดินเดียวกันมาก่อนแล้วค่อยๆแยกออกจากกัน
1. หลักฐานจากรอยต่อของทวีป ทวีปสามารถต่อกันได้พอดีเหมือนต่อจิ๊กซอว์
Dr.Alfred Wegener อธิบายว่า รอยต่อสามารถเชื่อมต่อกันได้แต่ไม่สมบูรณ์ เนื่องจากการกัดเซาะชายฝั่ง และการสะสมของตะกอนทำให้ขอบทวีปเปลี่ยนแปลงไป
ปี พ.ศ. 2508 เซอร์ เอดวาร์ด บูลลาร์ด (Sir Edward Bullard) นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษและคณะได้แสดงให้เห็นว่า สามารถนำทวีปต่างๆมาเชื่อมต่อกันได้พอดี โดยใช้ขอบทวีปที่ระดับความลึก 2000 เมตร จากระดับน้ำทะเล ซึ่งเป็นแนวลาดทวีป (continental slope) เพราะจะเกิดการกร่อนและการสะสมตัวของตะกอนน้อย
2. หลักฐานจากความคล้ายคลึงของกลุ่มหินและแนวภูเขา
เป็นกลุ่มหินที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่หนาวเย็น และมีการระเบิดของภูเขาไฟ แนวเทือกเขา Appalachian กับแนวเทือกเขาที่พบทางตะวันออกของกรีนแลนด์ “ไอร์แลนด์ อังกฤษและนอร์เวย์”
3 หลักฐานจากหินที่เกิดจากการสะสมตัวของตะกอนจากธารน้ำแข็ง พบหลักฐานจากองค์ประกอบในหินตะกอน รอยขูดในหินแสดงถึงทิศทางการเคลื่อนที่ของธารน้ำแข็ง
ธารน้ำแข็งโบราณซึ่งถูกพบบริเวณตอนใต้ของแอฟริกาและอเมริกาใต้ รวมทั้งในอินเดียและออสเตรเลีย แสดงให้เห็นเค้าโครงการเชื่อมต่อกันของผืนทวีปเมื่อครั้งอดีต
การสะสมตัวของชั้นถ่านหิน ซึ่งเป็นบริเวณขั้วโลกเหนือ ในมหายุคพาลีโอโซอิกตอนปลาย
4 หลักฐานจากซากดึกดำบรรพ์
หลักฐานและข้อมูลทางธรณีวิทยาที่สนับสนุนการเคลื่อนตัวของทวีป
1 สันเขาใต้สมุทรหรือเทือกเขาใต้สมุทร (oceanic ridge) และร่องลึกใต้สมุทรหรือร่องก้นสมุทร (trench)
เทือกเขากลางมหาสมุทร
2 อายุหินบริเวณพื้นมหาสมุทรบริเวณสันเขาใต้สมุทร มีอายุน้อยกว่าอายุหินที่อยู่ห่างออกไปจากบริเวณสันเขา
3 ภาวะแม่เหล็กโลกบรรพกาล ( paleomagnetism ) จากหินบะซอลต์ที่มีแร่แมกนีไทต์ ( Fe3O4 ) เป็นองค์ประกอบจากข้อมูลด้านสนามแม่เหล็ก สามารถคำนวณหาตำแหน่งดั้งเดิมของพื้นที่ในอดีตได้
แถบแม่เหล็กรอบสันเขากลางมหาสมุทรเป็นแถบบันทึกการเปลี่ยนแปลงสนาม แม่เหล็กโลกตลอดเวลาหลายล้านปีที่ผ่านมา ผังแสดงโครงสร้างภายในของโลก แก่นโลก ชั้นนอกคือส่วนที่ทำให้เกิดสนามแม่เหล็กโลก
กระบวนการที่ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ ของแผ่นธรณี
วงจรการพาความร้อนในชั้นเนื้อโลก
ขั้นตอนการเลื่อนของ แผ่นธรณีจากอดีตถึงปัจจุบัน
ลักษณะแผ่นเปลือกโลกเกือบ 20 แผ่น เมื่อต่อเป็นชิ้นเดียวกัน ลักษณะแผ่นเปลือกโลกเกือบ 20 แผ่น เมื่อต่อเป็นชิ้นเดียวกัน
แนวรอยต่อของแผ่นเปลือกโลกในปัจจุบัน
แผ่นธรณีทวีปและแผ่นธรณีมหาสมุทร