รหัสชื่อรุ่น TFR T F R 55 H P Y S T C L M อุปกรณ์สำคัญ แบบหัวเก๋ง =สปาร์ค อุปกรณ์พิเศษ* Y=พวงมาลัยเพาเวอร์ S=รุ่นพิเศษ T=เกียร์ออโตเมติก C=ไม่มี Cataiytic Converter L=ไม่มีเครื่องปรับอากาศ M=สีเมทาลิค F = เบรกมือ K=ไฟหน้า, ไฟท้าย, เบรกมือ E=สติ๊กเกอร์ J= ฝาท้าย เบรกมือ X=ไฟหน้าซีนอน Z=Shift on the fly 1= รุ่นใหม่ New Model (2002) ขนาดช่วงฐานล้อ H= ช่วงฐานล้อ รุ่นเครื่องยนต์ 54= 4JA1-TURBO 77= 4JH1T 3,000 cc 55= 4JB1-TURBO ระบบขับเคลื่อน R= ขับเคลื่อน 2 ล้อ S= ขับเคลื่อน 4 ล้อ น้ำหนักรถบรรทุกรวม F = ตัน ตระกูลรถ T= รถปิกอัพ
รหัสชื่อรุ่น D-MAX (New i-TEQ)
ข้อมูลที่สำคัญ ป้ายชื่อ (ป้ายพิสูจน์รถ) หมายเลขแชสชีส์ ป้ายชื่อ (ป้ายพิสูจน์รถ) ติดอยู่ด้านบนของผนังห้องเครื่องหน้าหม้อน้ำ หมายเลขแชสชีส์ หมายเลขแซสชีส์ตอกไว้ที่ด้านนอกข้างขวาของโครงแซสชีส์ใต้ประตูด้านคนขับ
ข้อมูลที่สำคัญ หมายเลขเครื่องยนต์ หมายเลขเครื่องยนต์ตอกไว้ที่ด้านหลังซ้ายของเสื้อสูบ
แผงหน้าปัดและไฟเตือนต่าง ๆ รถยนต์อีซูซุ ตระกูล TF วิธีการตรวจเช็ก ในขณะเครื่องยนต์กำลังเดินเครื่อง ให้ตรวจดูว่าไฟเตือนต่าง ๆ ดับไปแล้วทั้งหมดและไม่ติดขึ้นมาอีก ไฟเตือนสีแดงบนหน้าปัดจะเตือนให้ทราบว่าเป็นอุปกรณืที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและการเสียหาย
ไฟเตือนต่าง ๆ รถยนต์อีซูซุ ตระกูล TF ไฟเตือนความดันน้ำมันเครื่อง ไฟเตือนไฟชาร์จ ไฟเตือนระดับน้ำมันในกรองดักน้ำ (หม้อแยกน้ำ) ของระบบน้ำมันเชื้อเพลิง รุ่นขับเคลื่อน 4 ล้อ : ไฟเตือนขับเคลื่อน 4 ล้อ ไฟเตือนระบบเบรก ไฟเตือนไฟสูง เกียร์อัตโนมัติ : ไฟเตือน CHECK TRANS (ตรวจเกียร์) เกียร์อัตโนมัติ : ไฟเตือน POWER DRIVE ไฟเตือนไฟเลี้ยวและไฟสัญญาณฉุกเฉิน
ไฟเตือนต่าง ๆ รถยนต์อีซูซุ ตระกูล TF ไฟแสดงตำแหน่งคันเกียร์อัตโนมัติและไฟเตือน “ปิด” โอเวอร์ไดรฟ์ ไฟเตือนน้ำมันเชื้อเพลิงในถังน้อย ไฟเตือนตรวจสอบเครื่องยนต์ เกียร์อัตโนมัติ : ไฟเตือนอุณหภูมิน้ำมันเกียร์อัตโนมัติ P R N D 2 L O/D OFF
การตรวจความดันลมยาง/ การตรวจความหลวมของนอตล้อ วิธีการตรวจเช็ก วัดลมยางขณะที่ยางเย็น คือ ขับมาไม่เกิน 1.5 กิโลเมตร หรือจอดไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง ใช้เกจวัดลมยางทุกครั้ง ตรวจเติมลมยางตามค่ามาตรฐานของแต่ละรุ่นและสภาพการใช้งาน
การตรวจระดับน้ำมันเครื่อง วิธีการตรวจ จอดรถให้อยู่ในแนวระดับ ติดเครื่องจนถึงอุณหภูมิทำงาน แล้วดับเครื่องทิ้วไว้ประมาณ 3 นาที เพื่อให้น้ำมันเครื่องไหลกลับลงอ่าง แล้วจึงทำการวัด ระดับน้ำมันเครื่องที่ปลายก้านเหล็กวัดควรอยู่ระหว่างขีด “Min” และ“Max”
การตรวจระดับน้ำหล่อเย็น วิธีการตรวจ ระดับน้ำหล่อเย็นในถังพัก ต้องอยู่ระหว่างขีด “Min” และ “Max” ใช้น้ำยาหล่อเย็นชนิดเดียวกับที่เติมอยู่ก่อนและเติมในอัตราส่วนที่เหมาะสมประมาณ 30%-50% ของน้ำหล่อเย็น ถ้าระดับน้ำหล่อเย็นลดต่ำลงกว่าปกติ ให้ตรวจดูการรั่วซึมของหม้อน้ำ, ท่อน้ำ, ปิดหม้อน้ำ, ก๊อกถ่ายน้ำและปั๊มน้ำ
การตรวจระดับน้ำกลั่นแบเตอรี่ วิธีการตรวจ รักษาความสะอาดบริเวณขั้วและหัวต่อสายอย่าให้มีคราบกำมะถัน ขี้เกลือ ตรวจเช็กระดับน้ำกรดให้ครบทุกช่อง เติมเฉพาะน้ำกลั่นเท่านั้น ข้อควรระวัง อย่าสูบบุหรี่หรือจุดไฟบริเวณใกล้กับแบตเตอรี่ อย่าให้น้ำกรดเข้าตา หรือถูกผิวหนัง
การตรวจระดับน้ำมันเพาวเวอร์ รุ่น TF* รุ่น N* รุ่น F* วิธีการตรวจ ดับเครื่องยนต์ ตรวจดูระดับน้ำมันในกระปุกน้ำมันเพาเวอร์ ควรอยู่ระหว่าง ขีด MIN และ MAX ข้อควรระวัง เติมน้ำมันเพาเวอร์ตามเบอร์ที่กำหนดในคู่มือการใช้รถของอีซูซุเท่านั้น
การตรวจระดับน้ำมันเบรก-คลัตช์ วิธีการตรวจ ตรวจระดับน้ำมันเบรกและคลัตช์ในกระปุกว่าอยู่ระหว่างเส้น MAX (สูงสุด) กับเส้น (MIN) (ต่ำสุด) ถ้าระดับต่ำกว่าเส้น MIN ให้เติมด้วยน้ำมันเบรกชนิดที่กำหนด ข้อควรระวัง ถ้าไฟเตือนระดับน้ำมันเบรกติดขึ้นมาในขณะขับรถให้หยุดรถและเติมน้ำมันเบรกจนถึงเส้นบอกระดับสูงสุด (MAX)
การตรวจความตึงของสายพาน วิธีการตรวจ ตรวจความตึงของสายพานโดยการใช้หัวแม่มือกดลงตรงกลางด้วยแรงกด 10 กก. (ดังภาพ) สายพานหย่อนลงไปได้ประมาณ 10-15 มม. แสดงว่ามีความตึงพอดีให้ตรวจการแตกลุ่ยและการชำรุดของสายพานด้วย ข้อควรระวัง การเปลี่ยนสายพาน ต้องเปลี่ยนพร้อมกันทั้งสองเส้นเสมอ (ในกรณีใช้สายพาน 2 เส้น)
การตรวจระยะฟรีและความหลวมของพวงมาลัย วิธีการตรวจ ตรวจวัดระยะฟรีของพวงมาลัยในตำแหน่งวิ่งทางตรง หมุนพวงมาลัยไปทางใดทางหนึ่งจนกว่าล้อหน้าจะเริ่มเคลื่อนที่ (จัดระยะฟรีที่ขอบนอกของพวงมาลัยและต้องวัดทั้ง 2 ทิศทาง) ข้อควรระวัง ระยะฟรีมาตรฐาน 10-60 มม. ในกรณีที่รถใช้พวงมาลัยเพาเวอร์ ให้ตรวจระยะฟรีของพวงมาลัยขณะติดเครื่องยนต์ ตรวจความหลวมของพวงมาลัยโดยการโยกพวงมาลัยไปทางด้านหน้า-หลังและด้านซ้าย-ขวา
การตรวจระยะดึงของคันเบรกมือ วิธีการตรวจ ออกแรงดึงเบรกมือจากตำแหน่งปลดสุดจนถึงตำแหน่งตึงสุด โดยใช้แรงดึงประมาณ 30 กก. ต้องได้ยินเสียงดัง 3 – 8 แกร็ก ข้อควรระวัง ให้ปรับเบรกมือใหม่ ถ้าระยะดึงของคันเบรกมือมากกว่า 15 แกร็ก ก่อนออกรถทุกครั้ง ต้องปลดเบรกมือและตรวจดูไฟเตือนดับ
การตรวจการทำงานของระบบคลัตช์ (เกียร์ธรรมดา)
การตรวจการทำงานของระบบคลัตช์ (เกียร์ธรรมดา) วิธีการตรวจ ตรวจระยะฟรี และการทำงานของคันเหยียบคลัตช์ ค่อย ๆ ใช้มือกดคันเหยียบคลัตช์ลงเบา ๆ และสังเกตดูว่าระยะฟรีน้อยหรือมากกว่าปกติหรือไม่ ใช้เท้าเหยียบคลัตช์ สังเกตดูว่าระยะเหยียบคลัตช์มากหรือน้อยกว่าปกติหรือไม่ ถ้าผิดปกติให้นำรถเข้าศูนย์บริการเพื่อปรับตั้ง ข้อควรระวัง รถยนต์อีซูซุตระกูล TF : 5-15 มม. รถยนต์อีซูซุตระกูล N : 15-45 มม. รถยนต์อีซูซุตระกูล F : 45-65 มม.
การตรวจการทำงานของระบบเบรก 1 = ระยะฟรี 2 = ความสูง 3 = ช่วงต่ำสุด
การตรวจการทำงานของระบบเบรก วิธีการตรวจ ติดเครื่องยนต์เดินเบาไว้และทำการย้ำเบรกหลาย ๆครั้ง จากนั้นกดคันเหยียบเบรกลงไปเบา ๆ จนถึงจุดที่เกิดแรงต้านทาน ถ้ามีไฟเตือนระบบเบรกติดขึ้น หรือรู้สึกว่าระยะที่ย้ำเบรกลงไปสูงหรือต่ำกว่าปกติ ควรนำรถเข้าศูนย์บริการเพื่อแก้ไข เริ่มออกรถด้วยเกียร์ 1 แล้วลองเหยียบเบรกสังเกตว่ามีการเบรกของตัวรถผิดปกติหรือไม่ ถ้าผิดปกติ ควรนำรถเข้าศูนย์บริการเพื่อแก้ไข
การตรวจการทำงานของระบบเบรก ระยะฟรีคันเหยียบเบรก รุ่นรถ ระยะฟรีคันเหยียบเบรก ความสูง ช่วงต่ำสุด รถยนต์อีซูซุ ตระกูล TF 0-6 มม. 193-203 มม. มากกว่า 95 มม.เมื่อแรงออกเหยียบ 75 กก. รถยนต์อีซูซุ ตระกูล N 4-7 มม. - 470 มม. เมื่อออกแรงเหยียบ 50 กก. รถยนต์อีซูซุ ตระกูล F FTR, FVM : 10-14 มม. FSR : 12-16 มม.