งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

หน่วยที่ 3 แบตเตอรี่ นายศุภชัย ชัยวงษ์ แผนกวิช่างยนต์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "หน่วยที่ 3 แบตเตอรี่ นายศุภชัย ชัยวงษ์ แผนกวิช่างยนต์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 หน่วยที่ 3 แบตเตอรี่ นายศุภชัย ชัยวงษ์ แผนกวิช่างยนต์
หน่วยที่ 3 แบตเตอรี่ นายศุภชัย ชัยวงษ์ แผนกวิช่างยนต์ วิทยาลัยเทคนิคหนองบัวลำภู

2 หน่วยที่ 3 แบตเตอรี่ แบตเตอรี่ คืออะไร?
หน่วยที่ 3 แบตเตอรี่ แบตเตอรี่ คืออะไร? แบตเตอรี่ เป็นอุปกรณ์จัดเก็บ และจ่ายกระแสไฟฟ้า โดยมีลักษณะเป็นทรงสี่เหลี่ยม ที่มีการทำปฏิกิริยาเคมีภายใน ทำให้เกิดไฟฟ้า ซึ่งเป็นแหล่งรวมพลังไฟฟ้าของรถแบตเตอรี่ให้กระแสไฟฟ้าแก่รถในการสตาร์ทเครื่องโดยการจ่ายไฟฟ้าให้แก่ไดร์สตาร์ทเพื่อให้เครื่องยนต์ติด จากนั้นระบบไฟฟ้าที่ใช้ในรถจะมาจากไดชาร์จ ยกเว้นกรณีการใช้อุปกรณ์บางอย่างเช่นใบปัดน้ำฝน ไฟหน้ารถ ไฟเลี้ยว ฯลฯ จะมีการจ่ายกระแสไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ช่วยในการทำงาน แบตเตอรี่ที่ติดรถเรียบร้อยแล้วจะได้รับการเติมไฟฟ้าจากไดร์ชาร์จเมื่อกระแสไฟฟ้าในแบตเตอรี่ลดลงเนื่องจากการนำกระแสไฟฟ้าไปใช้ (โดยกระบวนการชาร์จไฟนี้จะทำงานในขณะที่เครื่องยนต์ติด)

3 หน้าที่ของ แบตเตอรี่ 1. แหล่งพลังงานจ่ายไฟให้แก่สตาร์ทเตอร์ และระบบจุดระเบิดให้แก่เครื่องยนต์ เพื่อให้เครื่องยนต์หมุนและติดเครื่องได้ 2. เป็นแหล่งให้พลังงานแก่ระบบไฟฟ้าอื่นๆในรถยนต์เมื่อระบบไฟฟ้าในรถยนต์ต้องการกำลังไฟฟ้ามากกว่าที่ระบบจ่ายไฟของรถยนต์จะจ่ายได้ 3. รักษาระดับกระแสไฟให้คงทน

4 ส่วนประกอบของ แบตเตอรี่
1. ขั้วแบตเตอรี่ (Pole) 2. แผ่นธาตุลบ (Negative Plate) 3. แผ่นกั้น (Separator& Glass mat) 4. แผ่นธาตุบวก (Positive Plate) 5. จุกปิด (Vent Plug) 6. เปลือกหม้อและฝาหม้อ (Container3 & Lid) 7. ขั้ว (Terminal Pole)

5 ชนิดของแบตเตอรี่ 1. แบตเตอรี่แบบธรรมดา (เติมน้ำกรดแล้วชาร์จไฟในครั้งแรก จากนั้นต้องหมั่นดูแลระดับน้ำอย่างสม่ำเสมอ)    

6 ชนิดของแบตเตอรี่ ต่อ 2.แบตเตอรี่แบบไม่ต้องเติมน้ำกลั่น (Free Maintenance) หรือโดยทั่วไปนิยมเรียกว่า “แบตแห้ง” (แบตเตอรี่ชนิดนี้มีการเติมน้ำกรดและชาร์จไฟมาจากโรงงาน ก่อนการติดตั้งสินค้าในครั้งแรกต้องทำการกระตุ้นแผ่นธาตุโดยการชาร์จไฟฟ้าระยะสั้นประมาณ 5-10 นาที จากนั้นไม่ต้องดูแลระดับน้ำในระยะแรก (6 เดือนแรก) หลังจากนั้นควรดูแลประมาณ 3 เดือนครั้ง เนื่องจากแบตเตอรี่ชนิดนี้มีระบบป้องกันการระเหยของน้ำทำให้มีการระเหยของน้ำในแบตเตอรี่ต่ำมาก

7 สาเหตุที่ทำให้แบตเตอรี่เสื่อม
1. การประจุไฟที่น้อยเกินควร Under Charging อาการ และลักษณะที่เกิดขึ้น: - เกิดคราบขาวที่แผ่นธาตุของแบตเตอรี่ส่งผลให้ประจุไฟได้ยาก - ทำให้แผ่นธาตุจะเสื่อมสภา 2. การประจุไฟที่มากเกินควร Over Charging อาการ และลักษณะที่เกิดขึ้น: - น้ำกลั่นแปรสภาพเป็นแก๊สมากทำให้ระดับน้ำกลั่นลดลง - อุณหภูมิสูงขึ้นมากทำให้แผ่นธาตุเสื่อม - ทำให้ผงตะกั่วเกิดการสึกกร่อนจากแผ่นธาตุ - แผ่นธาตุงอโค้ง - ลดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่

8 สาเหตุที่ทำให้แบตเตอรี่เสื่อม ต่อ
สาเหตุที่ทำให้แบตเตอรี่เสื่อม ต่อ 3. การลัดวงจรในช่องแบตเตอรี่ Short Circuit อาการ และลักษณะที่เกิดขึ้น: - เกิดตะกอนที่อยู่ส่วนล่างของหม้อแบตเตอรี่มากเกินไป - เกิดจากการแตกหักหรือการเสื่อมสภาพของแผ่นกั้นระหว่างแผ่นธาตุบวก และแผ่นธาตุลบ 4. ปัญหาระบบไฟในรถยนต์ อาการ และลักษณะที่เกิดขึ้น: - การติดเครื่องเสียง สัญญาณกันขโมย อุปกรณ์เสริมในรถเพิ่มเติม (ไฟไม่พอ) - การเปลี่ยนแปลงขนาดของแบตเตอรี่ - การลัดวงจรของสวิทซ์ไฟต่างๆในรถ - ประสิทธิภาพการทำงานของไดชาร์จไม่เต็มที่

9 สาเหตุที่ทำให้แบตเตอรี่เสื่อม ต่อ
สาเหตุที่ทำให้แบตเตอรี่เสื่อม ต่อ 5. แบตเตอรี่ Impurity. การมีสารอันตรายปะปนในหม้อ อาการ และลักษณะที่เกิดขึ้น: - น้ำกรดไม่ได้คุณภาพ - น้ำกลั่นที่เติมลงไปไม่บริสุทธิ์ - เติมน้ำกลั่นสี (สารหล่อเย็น) ลงไป 6. การเกิดซัลเฟต (Sulfation) แผ่นธาตุที่มีผลึกซัลเฟตสีขาวเกาะติดอยู่ที่บริเวณแผ่นธาตุ เกิดจาก….. - ปล่อยทิ้งแบตเตอรี่ไว้นานๆ โดยไม่นำไปใช้ - การประจุไฟที่น้อยเกินไป (Under Charging) - แผ่นธาตุโผล่พ้นระดับน้ำกรด

10 น้ำกรด (Electrolyte) น้ำกรดซัลฟูริค (Sulfuric Acid) เป็นตัวนำไฟฟ้าระหว่างแผ่นธาตุบวก และลบ น้ำกรดที่ใช้ในประเทศไทยควรมีค่า ถ.พ. ระหว่าง ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส การเติมน้ำกรด: 1. ใช้น้ำกรดที่มีค่าความถ่วงจำเพาะอยู่ระหว่าง ใส่น้ำกรดลงในทุกช่องแบตเตอรี่จนถึงระดับ UPPER 3.ตั้งแบตเตอรี่ทิ้งไว้ในร่มประมาณ 1 ชม. เพื่อให้ซึมเข้าแผ่นธาตุ 4.ถ้าน้ำกรดลดลง ให้เติมน้ำกรดอีกครั้งจนถึงระดับ UPPER

11 ไฮโดรมิเตอร์ (Hydrometer)
เครื่องวัดความถ่วงจำเพาะ (ถ.พ.) เป็นเครื่องมือสำหรับวัดความเข้มข้นของน้ำกรด ใช้ตรวจสอบความผิดปกติของแบตเตอรี่แต่ละช่อง หรือใช้ตรวจเช็คการลัดวงจรภายในช่องใด ช่องหนึ่ง ของแบตเตอรี่ เพราะฉะนั้นถ้าความถ่วงจำเพาะไม่ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดจะต้องนำแบตเตอรี่ไปชาร์ตไฟใหม่ (ในกรณีแบตเตอรี่ใหม่) และหากตรวจพบว่ามีช่องใดช่องหนึ่งมีค่า ถ.พ. ต่ำกว่าช่องอื่นสามารถวิเคราะห์ได้ว่าเกิดการลัดวงจรในช่องนั้นๆ (ในกรณีแบตเตอรี่ที่ใช้งานไปแล้ว) ปริมาณไฟฟ้าในแบตเตอรี่ ความถ่วงจำเพาะ ความต่างศักย์ไฟฟ้า(V) 100 % 1.250 12.60 75 % 1.230 12.40 50 % 1.200 12.20 25 % 1.170 12.00 ต้องนำไปอัดไฟใหม่

12 วิธีสังเกตแบตเตอรี่เสื่อม
1. เมื่อมีอาการต้องเติมน้ำกลั่นบ่อยๆ (สำหรับแบตเตอรี่ธรรมดา)  2. ไฟหน้าไม่สว่าง  3. ตอนเช้าสตาร์ทรถติดยาก (เสียงเครื่องหมุนช้า) 4. กระจกไฟฟ้าเริ่มทำงานช้าลง ระบบไฟฟ้าอื่นๆในรถทำงานช้าลง 5.เ มื่อแบตเตอรี่ใช้งานมานานกว่า ปี 6. ไดสตาร์ทไม่สามารถทำงานได้ 7. แผ่นธาตุภายในเกิดอาการบวม 8. น้ำกรดภายในลดลง (แห้ง) ต่ำกว่าแผ่นธาต

13 การดูแลรักษาแบตเตอรี่
1.ทำความสะอาดสายไฟ ทั้งบวกลบ และแบตเตอรี่ด้วยน้ำอุ่น และเช็ดให้แห้งอยู่เสมอ2. ตรวจเช็คทำความสะอาดขั้วแบตเตอรี่ และทาด้วยวาสลิน เพื่อป้องกับคราบขี้เกลือ 3. ตรวจเช็คน้ำกลั่นสม่ำเสมอ ไม่ปล่อยให้น้ำแห้ง 4.ไม่เติมน้ำกลั่นให้เกินกว่าขีดสูงสุด และต่ำกว่าขีดต่ำสุด 5. ตรวจวัดระดับกระแสไฟแบตเตอรี่อย่างสม่ำเสมอ 6. ตรวจเช็คไดร์ชาร์จ เมื่อระบบไฟอ่อน 7. ตรวจสอบความมั่นคงของการติดตั้ง 8. ห้ามเติมน้ำกรด และน้ำกลั่นที่มีสีหรือสารเคมีโดยเด็ดขาด 9. ห้ามสูบบุหรี่ ขณะตรวจเช็คน้ำในแบตเตอรี่ เพราะอาจจะระเบิดได้ 11. ตาแมวของแบตเตอรี่แห้งใช้ดูกำลังไฟโดย (สีน้ำเงิน=ไฟดีอยู่ / สีส้มแดง=แบตเตอรี่มี12. ปัญหาจะต้องชาร์ตไฟหรือเติมน้ำกลั่น / สีขาว=แบตเตอรี่เสียหรือเสื่อมคุณภาพ ต้องเปลี่ยนลูกใหม่) 

14 การพ่วงสายแบตเตอรี่   สายเส้นแรก เริ่มหนีบขั้ว + ของแบตเตอรี่ลูกที่ไฟหมด โดยถือปลายสายอีกด้านลอยไว้ แล้วจึงหนีบขั้ว + ของแบตเตอรี่ลูกที่มีไฟ สายเส้นที่สอง หนีบขั้ว – ของแบตเตอรี่ลูกที่มีไฟ แล้วหนีบอีกปลายเข้ากับตัวถังหรือโลหะในห้องเครื่องยนต์ของรถยนต์คันที่ไม่มีไฟ (ไม่ควรหนีบเข้ากับขั้ว – ของแบตเตอรี่ที่ไฟหมด เพื่อป้องกันการระเบิดของแบตเตอรี่เมื่อเครื่องยนต์ทำงาน ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก)  2. จากนั้นสตาร์ทเครื่องยนต์ของรถยนต์คันที่มีไฟ แล้วจึงสตาร์ทเครื่องยนต์คันที่ถูกพ่วง   3. เมื่อเครื่องยนต์ติดแล้วจึงถอดสายพ่วงออกทีละขั้ว โดยเริ่มจากปลายสาย – ด้านที่หนีบอยู่กับตัวถังรถ แล้วจึงถอดปลายอีกด้าน จากนั้นให้ถอดปลายสาย + ที่หนีบอยู่กับแบตเตอรี่ลูกที่มีไฟ แล้วจึงถอดปลายสายอีกด้าน โดยในการถอดก็ต้องระวังไม่ให้ปลายสายสัมผัสกับสิ่งใด 

15 การพ่วงสายแบตเตอรี่ ต่อ
การพ่วงสายแบตเตอรี่ ต่อ


ดาวน์โหลด ppt หน่วยที่ 3 แบตเตอรี่ นายศุภชัย ชัยวงษ์ แผนกวิช่างยนต์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google