งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ
หลักสูตรความรู้ด้านเครื่องจักรกลรถขุด (สำหรับผู้ปฏิบัติงาน) การควบคุมเครื่องจักรกลรถ ขุดขั้นพื้นฐาน สำนัก เครื่องจักรกล

2 พื้นฐานทั่วไปเกี่ยวกับรถขุด
เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่พนักงานขับและควบคุมรถขุดได้มีความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับองค์ประกอบต่างๆและการทำงานของรถขุด รวมถึงการตรวจสภาพและเตรียมความพร้อมของเครื่องจักรก่อนการทำงาน โดยเนื้อหาในบทนี้จะกล่าวถึงรายละเอียดสำคัญดังต่อไปนี้

3 องค์ประกอบและอุปกรณ์ทั่วไป
ลักษณะตัวรถประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ 1. ส่วนบนหรือส่วนที่หมุน (ROVOLVING SUPERSTRUCTURE) ซึ่งจะประกอบด้วยเครื่องยนต์ต้นกำลัง ส่วนของระบบถ่ายทอดกำลัง ระบบควบคุมการทำงานของอุปกรณ์และห้อพนักงานขับเคลื่อน ซึ่งสามารถหมุนได้รอบตัว 360 องศา โดยอาศัยมอเตอร์สวิง 2. ส่วนที่สอง ก็คือ ส่วนที่รองรับส่วนที่หมุนของชุดแท่นหมุนโดยมีลูกล้อเล็กๆ รองรับและส่วนที่ใช้ในการเคลื่อนที่ (MOUNTING OR TRAVEL UNIT) เป็นแบบตีนตะขาบ (Crawler Mounting) ประกอบด้วยชุดเครื่องล่างต่างๆ เช่น ล้อนำ, เฟรมแทร็ค, โซ่และใบแทร็ค เป็นต้น มีมอเตอร์ตัวเดินทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนเดินหน้า-ถอยหลัง 3. ส่วนที่สาม ก็คือส่วนที่ทำงานขุดตักซึ่งติดตั้งเข้ากับส่วนบนหรือส่วนที่หมุน(ATTACHMENT) ประกอบด้วยบูม, อาร์ม บุ้งกี๋และชุดกระบอกไฮดรอลิคทำงานบังคับทิศทางและตำแหน่งการขุดของบุ้งกี๋ตามที่ต้องการ

4 องค์ประกอบและอุปกรณ์ทั่วไป

5 ลักษณะทั่วไปของรถขุด
รถขุดที่ใช้ในงานก่อสร้างและงานซ่อมบำรุงรักษามีหลายชนิด ซึ่งแบ่งตามการใช้งานในลักษณะต่างๆ ดังนี้ 1. รถขุดไฮดรอลิคโป๊ะเหล็กบุ้งกี๋ตักเข้า เหมาะสำหรับการปฏิบัติงานบนน้ำ ดินชุ่มน้ำ และดินโคลน เช่น การขุดลอกลำคลองขุดเลน เป็นต้น

6 ลักษณะทั่วไปของรถขุด
2. รถขุดไฮดรอลิคชนิดตีนตะขาบบุ้งกี๋ตักออก เป็นรถขุดขนาดใหญ่เหมาะสำหรับงานเหมือง 3. รถขุดไฮดรอลิคชนิดล้อยางบุ้งกี๋ตักเข้า (Wheel Excavator) รถขุดไฮดรอลิคชนิดล้อยางใช้สำหรับการขุดดินทั่วไป ขุดดินที่แข็ง ขุดหิน ขุดกรวด หรือการขุดผิวหน้าถนน เป็นต้น ข้อดี ของรถขุดที่เป็นแบบล้อยางนี้คือสามารถเคลื่อนย้ายหรือวิ่งตามท้องถนนได้ทันที เนื่องจากมีล้อที่เป็นยาง ประกอบกับความเร็วในการเดินทางที่สูง การใช้งานก็เช่นเดียวกันกับรถขุดตีนตะขาบ

7 ลักษณะทั่วไปของรถขุด
4. รถขุดตีนตะขาบบุ้งกี๋ลาก (Dragline Excavator) 5. รถขุดไฮดรอลิคชนิดตีนตะขาบบุ้งกี๋ตักเข้า เป็นรถขุดที่ใช้ในงานมาตรฐานทั่วไปๆ

8 ลักษณะทั่วไปของรถขุด
6. รถขุดไฮดรอลิคชนิดตีนตะขาบบุ้งกี๋ตักเข้าแขนยาว (excavator long reach) เหมาะกับงานในระยะไกล ลึกและสูงมาก และจะมีพื้นที่โล่ง กว้างพอในการปฏิบัติงาน

9 ระบบการทำงานรถขุด หัวใจสำคัญของระบบการ ทำงานของรถขุดก็คือ ระบบไฮ ดรอลิคซึ่งใช้ตั้งแต่การขับเคลื่อน การหมุนส่วนบน และการ ทำงานของอุปกรณ์ขุดตัก จึง นิยมเรียกว่า Hydraulic excavator ซึ่งจะมีทั้งแบบล้อยาง ที่ขับเคลื่อนด้วยตัวเองและแบบ ตีนตะขาบ แต่ส่วนใหญ่จะเป็น แบบตีนตะขาบ เพราะสามารถ ทำงานได้ดีในที่ลุ่มและการทรง ตัวที่ดีในขณะทำการขุดตัก สำหรับอุปกรณ์ที่สำคัญของรถขุด ตักแบบเข้าหาตัวรถตามรูป

10 การตรวจสภาพพื้นที่ในการ ปฏิบัติงาน
การตรวจสภาพพื้นที่ในการ ปฏิบัติงาน ก่อนเริ่มปฏิบัติงานทุกครั้งพนักงานขับและ ควบคุมจะต้องมีการสำรวจ และตรวจสอบสภาพ พื้นที่ก่อนทุกครั้งเพื่อสังเกตว่า 1. ก่อนทำการขุด จะต้องตรวจดูแนวการวางสายไฟ ท่อแก๊ส ท่อน้ำหรืออื่นๆ ที่อยู่ใต้พื้นดิน 2. มีการยุบตัวของพื้นดิน ความไม่มั่นคงแข็งแรงของพื้นที่ รองรับน้ำหนักหรือไม่

11 การตรวจสภาพพื้นที่ในการ ปฏิบัติงาน
การตรวจสภาพพื้นที่ในการ ปฏิบัติงาน 3. ทดสอบความแข็งแรงของ สะพาน ไหล่ทางและส่วนเสริม ความแข็งแรงก่อนที่จะเคลื่อนรถ ผ่าน 4. ถ้าต้องการขับรถข้าม แม่น้ำ ให้ใช้บุ้งกี๋วัดความลึกของ พื้นน้ำก่อน ถ้าระดับน้ำสูงกว่า ลูกรอกบนของแทรกเฟรมห้ามขับ รถข้าเด็ดขาด หรือถ้าระดับน้ำต่ำ กว่านี้ให้ขับรถข้ามช้าๆ อย่าง ระมัดระวัง อุบัติเหตุที่เกิดจากสะพานไม่สามารถรองรับน้ำหนักของเครื่องจักรได้

12 การตรวจสภาพพื้นที่ในการ ปฏิบัติงาน
การตรวจสภาพพื้นที่ในการ ปฏิบัติงาน 5. กรณีที่ต้องทำงานบริเวณ หน้าผ่าต้องสังเกตว่ามีหินหรือวัสดุ ใดๆ ที่อาจจะร่วงหรือสไลด์ใส่ หรือไม่ อุบัติเหตุที่เกิดจากหินพังร่วงทับเครื่องจักร

13 การขับและควบคุมรถขุดขั้น พื้นฐาน
การขับและควบคุมรถขุดขั้น พื้นฐาน เมื่อพนักงานขับและควบคุมรถขุดได้รู้จัก องค์ประกอบและอุปกรณ์ทั่วไป รวมถึงระบบการ ทำงานของรถขุดแล้ว ในบทนี้จะเป็นเนื้อหาที่ ต้องการให้พนักงานขับฯ ได้เรียนรู้วิธีการขับและ ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ทำงานต่างๆ ของรถ ขุด โดยจะประกอบไปด้วยประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้ การสตาร์ทเครื่องยนต์ 1.ดึงคันโยกปิดควบคุมไพล็อตไปให้สุดตำแหน่งล็อค 2.ปิดสวิทช์กุญแจไปยังตำแหน่ง ACC หรือ ON 3.ให้สัญญาณเสียงแตรเตือนผู้เดินเท้าที่อยู่ใกล้ๆ 4.บิดหมุนควบคุมความเร็วรอบเครื่องยนต์ เพื่อให้เครื่องเดินเบา 5.ปิดสวิทช์ไปตำแหน่ง “START” เมื่อปล่อย สวิทช์จะคืนกลับมาตำแหน่ง “ON” 2

14 การขับและควบคุมรถขุดขั้น พื้นฐาน
การขับและควบคุมรถขุดขั้น พื้นฐาน ข้อสำคัญ ไม่ควรสตาร์ทเครื่องยนต์ติดต่อกันนานเกิน วินาที ในแต่ละครั้งถ้าเครื่องยนต์ยังไม่ติดให้ปิด สวิทช์กลับไป ตำแหน่ง “OFF” และรอ 30 วินาที จึงจะ สตาร์ทใหม่ ห้ามสตาร์ทซ้ำในขณะที่เครื่องยนต์ยังไม่ หยุดหมุนเพื่อ ป้องกันมอเตอร์สตาร์ทเสียหาย ห้ามสตาร์ท เครื่องยนต์ โดยการลากจูง หรือ การใช้รถดัน ซึ่ง อาจทำให้เกิดการ เสียหายกับระบบรองรับส่วนล่าง

15 การขับและควบคุมรถขุดขั้น พื้นฐาน
การขับและควบคุมรถขุดขั้น พื้นฐาน ตรวจเช็คอุปกรณ์วัดหลังจากสตาร์ท เครื่องแล้ว ข้อสำคัญ : ถ้าไฟเตือนดับ หลังจากติด เครื่องแล้วให้ดับเครื่องยนต์ทันที และ ตรวจสอบหาสาเหตุต่อไป โดยให้ตรวจดู 1. ไฟเตือนอุ่นเครื่องสิ้นสุด ปิดอยู่ ไฟเตือนจะใช้ได้ก็ต่อเมื่ออุณหภูมิของตัวทำ ความเย็นต่ำกว่า 30 องศา 2. ไฟเตือนอัลเตอร์เนเตอร์ปิดอยู่ 3. ไฟเตือนแรงดันน้ำมันเครื่อง ปิดอยู่ 4. เสียงเครื่องยนต์และไอเสียปกติ 1 2 3

16 การขับและควบคุมรถขุดขั้น พื้นฐาน
การขับและควบคุมรถขุดขั้น พื้นฐาน การดับเครื่องยนต์ 1.ขั้นตอนการดับเครื่องยนต์ (1) จอดรถบนพื้นราบ (2) ลดบุ้งกี๋ลงกับพื้น (3) ปิดปุ่มควบคุมเครื่องยนต์ เพื่อเดินเครื่องแบบอัตโนมัติประมาณ 5 นาที เพื่อลดความเย็นของตัวเครื่อง 1

17 การขับและควบคุมรถขุดขั้น พื้นฐาน
การขับและควบคุมรถขุดขั้น พื้นฐาน ข้อสำคัญ : เทอร์โบชาร์จอาจชำรุดเสียหายได้ถ้าดับเครื่องยนต์ไม่ถูกวิธี (4) ปิดสวิทช์ ไปที่ OFF และปลดกุญแจออก (5) ดึงคันโยกปิด/เปิด ควบคุมไพล็อตไปยังตำแหน่ง LOCK 2. ถ้าเครื่องไม่ดับเมื่อปิดสวิทช์ไปยังตำแหน่ง “OFF”แล้ว เนื่องมาจากข้อบกพร่องที่ตัวสวิทช์ให้ดึงปุ่มหยุดการทำงานของเครื่องยนต์ ให้สุด 2 4

18 การขับและควบคุมรถขุดขั้น พื้นฐาน
การขับและควบคุมรถขุดขั้น พื้นฐาน ระบบคันควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ซึ่งในปัจจุบันจะมีอยู่ 2 แบบ คือ ระบบคันควบคุมการทำงานของรถขุดแบบฮิตาชิ (HITACHI Pattern) ตัวอย่างรถขุดที่ใช้ระบบนี้ได้แก่HITACHI, SUMITOMO เป็นต้น กับระบบคันควบคุมการทำงานของรถขุดแบบมาตรฐาน ISO ตัวอย่างรถ ขุดที่ใช้ระบบนี้ได้แก่ CAT,JCB,CASE,KOMATSU,KOBELCO เป็นต้น ซึ่งมี ความแตกต่างกันของคันควบคุมทางด้านซ้ายมือที่ใช้ในการสวิงและยืด หดอาร์มเข้าออก ส่วนคันควบคุมการทำงานทางด้านขวาจะเหมือนกัน ดูรายละเอียดตามสไลด์ภาพในหน้า ๑๙ และ 2๐ เนื่องจากระบบคันควบคุมการทำงานของรถขุดทั้ง 2 ระบบจะมี ความแตกต่างกัน ทำให้พนักงานขับที่คุ้นเคยระบบหนึ่งแล้วต้องไปขับ และควบคุมรถขุดอีกระบบที่กล่าวมา อาจจะต้องใช้เวลาในการสร้าง ความเคยชินระยะหนึ่ง แต่สำหรับพนักงานขับและควบคุมที่ทำการหัด ขับใหม่นั้นไม่มีปัญหาแต่อย่างไร ได้ประจำรถขุดแบบไหนก็ฝึกตามนั้น ระบบคันควบคุมการทำงานของรถขุดทั้ง 2 ระบบนั้น สามารสลับ พอร์ตชุดควบคุมให้ทำงานในระบบที่เราต้องการได้ เช่น รถขุดฺฮิตาชิ สามารถแปลงเป็นระบบ ISO ได้

19 รูปแบบการควบคุมคันบังคับ ของ HITACHI

20 รูปแบบการควบคุมคันบังคับแบบ มาตรฐาน ISO


ดาวน์โหลด ppt โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google