โรงเรียนคณะราษฎรบำรุง จังหวัดยะลา บทที่ 1 สถิติและข้อมูล ครูครรชิต แซ่โฮ่ โรงเรียนคณะราษฎรบำรุง จังหวัดยะลา http://kanchit004.wordpress.com
1.1 ตัวอย่างของกรณีหรือปัญหาที่ต้องใช้สถิติ การพยากรณ์อากาศ 1. ปริมาณการใช้เชื้อเพลิง 2. จำนวนอุบัติเหตุบนท้องถนน 3. อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ 4. ปริมาณฝน และปริมาณการใช้น้ำ 5.
1.1 ตัวอย่างของกรณีหรือปัญหาที่ต้องใช้สถิติ นักกีฬา 6. การค้าขาย 7. การทดสอบประสิทธิผลของยา 8. การควบคุมคุณภาพสินค้าที่ผลิต 9. การสำรวจความคิดเห็นหรือโพล 10.
1.2 ความหมายของสถิติ สถิติ (Statistics) ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับหลักการและ ระเบียบวิธีการทางสถิติ ประกอบด้วย - การเก็บรวบรวมข้อมูล - การนำเสนอข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล - การแปลความหมายของข้อมูล ตัวเลขซึ่งเกิดจากการวัด คิดคำนวณจากข้อมูลที่เก็บรวบรวม เช่น - คะแนนเฉลี่ยของวิชา คณิตศาสตร์ในการสอบเข้า มหาวิทยาลัย ประจำปี การศึกษา 2554
1.2 ความหมายของสถิติ ประเภทของสถิติ 1. สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) (Inferential statistics) 1. สถิติเชิงพรรณนา หมายถึง การวิเคราะห์ขั้นต้นที่มุ่งวิเคราะห์เพื่ออธิบาย ลักษณะกว้าง ๆ ของข้อมูลชุดนั้น เช่น ค่ากลางของข้อมูล ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พิสัย ฯลฯ 2. สถิติเชิงอนุมาน หมายถึง การวิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้จากตัวอย่างเพื่ออ้างอิงไปถึงข้อมูลทั้งหมด
ความแตกต่างของสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน เริ่มต้น เก็บรวบรวมข้อมูล แยกแยะข้อมูล เป็นหมวดหมู่ สถิติ เชิงพรรณนา นำเสนอข้อมูล ทำการวิเคราะห์และ ทดสอบโดยใช้หลักทางสถิติ ข้อมูลที่รวบรวมมาได้ สถิติ เชิงอนุมาน นำไปทำนายหรือประมาณ เกี่ยวกับประชากร ทำการวิเคราะห์และ สรุปผลอย่างง่าย ๆ
คำสำคัญที่ใช้ในวิชาสถิติ 1 ประชากร (Population) หมายถึงข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ศึกษา 2 ตัวอย่าง (Sample) หมายถึงข้อมูลบางส่วนของประชากร 3 พารามิเตอร์ (Parameter) หมายถึงค่าต่าง ๆที่แสดงถึงลักษณะของประชากร 4 ค่าสถิติ (Statistics) หมายถึงค่าต่าง ๆที่แสดงถึงลักษณะของตัวอย่าง
แผนภาพความสัมพันธ์ของประชากร ตัวอย่าง พารามิเตอร์ และค่าสถิติ หาข้อมูลจากประชากร ประชากร พารามิเตอร์ นำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนหรือตัดสินใจ หรือประเมินผล ประชาการบางส่วน เลือกข้อมูลจาก สถิติประเมินหาค่า ใช้ความรู้ทางด้าน นำข้อมูลจากตัวอย่าง มาวิเคราะห์ ตัวอย่าง ค่าสถิติ
ตัวอย่าง ชวนเข้าใจ ประชากร ตัวอย่าง พารามิเตอร์ ค่าสถิติ เราสนใจจะศึกษาน้ำหนักโดยเฉลี่ยของนักเรียนโรงเรียนคณะราษฎรบำรุง จังหวัดยะลา นักเรียนทั้งหมดของโรงเรียนคณะราษฎรบำรุง จังหวัดยะลา เป็น..................... เลือกนักเรียนชั้น ม.6 โรงเรียนคณะราษฎรบำรุง จังหวัดยะลา มาศึกษาน้ำหนักโดยเฉลี่ย เป็น ..................... ค่าเฉลี่ยของน้ำหนักนักเรียนโรงเรียนคณะราษฎรบำรุง จังหวัดยะลา เป็น ..................... ค่าเฉลี่ยของน้ำหนักนักเรียนชั้น ม.6 โรงเรียนคณะราษฎรบำรุง จังหวัดยะลา เป็น ..................... ประชากร ตัวอย่าง พารามิเตอร์ ค่าสถิติ
คำถามชวนคิด พิชิตความรู้ สำนักวิจัยแห่งหนึ่ง เปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นประชาชนในจังหวัดยะลาต่อการยอมรับมาตรการประหยัดน้ำ พบว่า ส่วนใหญ่ยอมรับที่จะปฏิบัติตามมาตรการเหล่านั้นทั้งที่บ้านและที่ทำงาน ประชากร คือ ...................................................................................... ตัวอย่าง คือ ...................................................................................... ประชาชนทุกคนในจังหวัดยะลา ประชาชนบางคนในจังหวัดยะลาที่ถูกเลือกเป็นตัวอย่าง
คำถามชวนคิด พิชิตความรู้ "โรงเรียนคณะราษฎรบำรุง จังหวัดยะลา มีนักเรียนทั้งหมด 3,340 คน จากการสอบถามนักเรียน เรื่อง รายได้ผู้ปกครองมีรายได้ต่อเดือน 8,800 บาท โรงเรียนมีนักเรียนเฉพาะม.ต้น 1,840 คนและสอบถามนักเรียน ม.ปลาย 200 คน ผลปรากฏว่าผู้ปกครองมีรายได้ต่อเดือน 10,000 บาท ประชากร คือ ...................................................................................... ตัวอย่าง คือ ...................................................................................... ค่าสถิติ คือ ...................................................................................... นักเรียนโรงเรียนคณะราษฎรบำรุง จังหวัดยะลา นักเรียนม.ปลาย 10,000
1.3 สถิติกับการตัดสินใจและวางแผน นักเรียนคิดว่า มีเรื่องใดอีกบ้าง? ใช้ประสบการณ์ ใช้ความเชื่อ การตัดสินใจ ใช้ข่าวสาร หรือสารสนเทศ ใช้สามัญสำนึก ใช้ข้อมูล
1.3 สถิติกับการตัดสินใจและวางแผน สิ่งที่สำคัญที่จะต้องนำมาใช้ในการตัดสินใจ คือ ข้อมูลหรือข่าวสาร (Information) เมื่อจำเป็นต้องใช้สถิติในการตัดสินใจ สิ่งแรกที่ควรทำ คือ การวางแผนและใช้วิธีการทางสถิติ
ตัวอย่าง ชวนเข้าใจ การวางแผนและการตัดสินใจ การวางแผนการศึกษาต่อ การเลือกคณะและมหาวิทยาลัยที่จะเข้าศึกษาต่อ นักเรียนต้องอาศัยข้อมูลหลายอย่าง เช่น ผลการเรียนของตนเองในระดับ ม.ปลาย คะแนนต่ำสุดและคะแนนสูงสุดของแต่ละคณะ แต่ละมหาวิทยาลัยที่เคยรับเข้าศึกษาต่อ การวางแผนการขายโทรทัศน์ของบริษัทผู้ผลิตเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากมีการแข่งขันกันสูงมาก ผู้ผลิตจำเป็นต้องอาศัยข้อมูลการตลาด เช่น ราคา รุ่น ขนาด และคุณสมบัติที่เป็นที่ต้องการในท้องตลาด ตลอดจนการจัดรายการลดราคา เป็นต้น
1.4 ข้อมูลและการเก็บรวบรวมข้อมูล 1.4.1 ความหมายของข้อมูล ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่สนใจศึกษา ซึ่งอาจจะเกี่ยวข้องกับคนสัตว์ หรือสิ่งของข้อมูลที่ยังไม่ผ่านการประมวลผลทาง สถิติจะเรียกว่า ข้อมูลดิบ (Raw data) โดยข้อมูลอาจจะได้มาจากการนับ การสังเกต หรือการบันทึกในรูปของข้อความหรือตัวเลขที่ใช้บอกปริมาณหรือ บอกลักษณะสิ่งที่สนใจศึกษา สำหรับข้อมูลที่เก็บรวบรวมเป็นตัวเลขเพื่อจะนำ มาประมวลผลหาความหมายที่แน่นอนจะเรียกว่า ข้อมูลเชิงสถิติ (Statistical data) เช่น สถิติจำนวนนักเรียนในโรงเรียน สถิติเกี่ยวกับรายได้ และรายจ่าย ของครอบครัว สถิติปริมาณน้ำฝน เป็นต้น
การจำแนกข้อมูลตามวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล 1.4.2 ประเภทของข้อมูล การจำแนกข้อมูลตามวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary data) ข้อมูลที่ผู้ใช้จะใช้ข้อมูลเป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูลเองตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการศึกษาจากผู้ให้ข้อมูลหรือแหล่งที่มาของข้อมูลโดยตรง ทำได้โดยการสัมภาษณ์ วัด นับ หรือสังเกตจากแหล่งข้อมูล ข้อมูลทุติยภูมิ (secondary data) ข้อมูลที่ผู้ใช้หรือหน่วยงานที่จะใช้ข้อมูลไม่ได้เก็บรวบรวมข้อมูลเอง แต่มีผู้อื่นหรือหน่วยงานอื่นทำการเก็บรวบรวมข้อมูลไว้ก่อนแล้ว จึงเป็นการประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายเพราะว่าผู้ใช้เป็นเพียงนำข้อมูลมาใช้เท่านั้น
1.4.2 ประเภทของข้อมูล ข้อมูลปฐมภูมิ การสำรวจจาก การสำมะโน (Census) ข้อดี - ได้ข้อมูลครบถ้วน - ใช้เป็นข้อมูลในการอ้างอิง ข้อดี - เสียค่าใช้จ่ายน้อย - สามารถทำได้บ่อยครั้ง - ประมวลผลข้อมูลเร็ว ข้อมูลปฐมภูมิ การสำมะโน (Census) การสำรวจจาก กลุ่มตัวอย่าง (Sample survey) ข้อเสีย - เสียค่าใช้จ่ายมาก - ใช้เวลานาน - ไม่สามารถทำได้บ่อยครั้ง ข้อเสีย - ข้อมูลที่ได้เป็นเพียงค่าประมาณ - ไม่สามารถจำแนกข้อมูลใน รายละเอียดมากนัก
1.4.2 ประเภทของข้อมูล ข้อมูลทุติยภูมิ รายงานต่าง ๆ ของหน่วยงานราชการ รายงานและบทความจากหนังสือของหน่วยงานเอกชน
1.4.2 ประเภทของข้อมูล แหล่งข้อมูล แหล่งทุติยภูมิ แหล่งปฐมภูมิ ข้อมูลที่เก็บมาได้ เรียกว่า ข้อมูลปฐมภูมิ ข้อมูลที่เก็บมาได้ เรียกว่า ข้อมูลทุติยภูมิ
การจำแนกข้อมูลตามลักษณะของข้อมูล 1.4.2 ประเภทของข้อมูล การจำแนกข้อมูลตามลักษณะของข้อมูล ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative data) ข้อมูลที่เป็นตัวเลขหรือปริมาณและสื่อความหมายตามค่าของตัวเลขได้โดยตรง ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative data) ข้อมูลที่เป็นข้อความหรือ ตัวเลขที่แสดงลักษณะประเภทกลุ่ม ซึ่งไม่สามารถวัดค่าออกมาเป็นตัวเลขและสื่อความหมายตามค่าตัวเลขได้โดยตรง
คำถามชวนคิด พิชิตความรู้ ข้อมูลใดต่อไปนี้เป็นข้อมูลเชิงปริมาณหรือข้อมูลเชิงคุณภาพ คะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์ จำนวนผู้โดยสารที่รอรถประจำทาง หมายเลขทะเบียนรถยนต์ส่วนบุคคล หมายเลขโทรศัพท์ ราคาข้าวสารต่อกิโลกรัม เลขประจำตัวประชาชน
คำถามชวนคิด พิชิตความรู้ ข้อมูลใดต่อไปนี้เป็นข้อมูลเชิงปริมาณหรือข้อมูลเชิงคุณภาพ ขนาดรองเท้าของนักเรียน รายได้ของคนในครอบครัว ขนาดของเครื่องยนต์ของรถยนต์ วุฒิการศึกษาของครูในโรงเรียน ประเภทเงินฝากของธนาคาร อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประเภทต่าง ๆ
คำถามชวนคิด พิชิตความรู้ ข้อมูลใดต่อไปนี้ ถูกหรือผิด นายสมพงศ์ หนัก 45 กิโลกรัม ตัวเลข 45 จัดเป็นข้อมูลสถิติ คะแนนสอบวิชาสถิติของนายสมพงศ์ เท่ากับ 70 คะแนน ตัวเลข 70 คือค่าสถิติ นายสมพงศ์อ่านผลการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎร จากหนังสือพิมพ์ ข้อมูลที่อ่านเป็นข้อมูลทุติยภูมิ นายสมพงศ์ต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับราคาสินค้า ในตลาด จึงไปสำรวจราคาดังกล่าวเอง ข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลปฐมภูมิ
1.4.3 วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อมูลปฐมภูมิ การสัมภาษณ์ การสอบถามทางไปรษณีย์ การสอบถามทางโทรศัพท์ การสังเกต การทดลอง ข้อมูลทุติยภูมิ จะอยู่ในรูปหนังสือ รายงาน บทความหรือเอกสารต่าง ๆ ควรดำเนินการดังนี้ ความน่าเชื่อถือของผู้ให้ข้อมูลหรือแหล่งข้อมูล ความน่าเชื่อถือของเนื้อหาหรือข้อมูล นักเรียนคิดว่ามีเรื่องใดอีกบ้าง?
1.4.4 ปัญหาในการเก็บรวบรวมและใช้ข้อมูล ได้ข้อมูลน้อยเกินไป ไม่ทราบว่าจะมีวิธีเลือกตัวอย่าง อย่างไรจึงจะเหมาะสม ข้อมูลปฐมภูมิ ไม่ทราบว่าจะประเมินความถูกต้อง และความน่าเชื่อถือได้อย่างไร ไม่ทราบว่าจะวางแผนการวิเคราะห์ ข้อมูลหรือวางแผนการทดลองต่อไปอย่างไร
1.4.4 ปัญหาในการเก็บรวบรวมและใช้ข้อมูล ความถูกต้องเชื่อถือได้ของข้อมูล ความทันสมัยของข้อมูล ข้อมูลทุติยภูมิ การขาดหายไปของข้อมูล ไม่ทราบว่าจะวางแผนการวิเคราะห์ ข้อมูลหรือวางแผนการทดลองต่อไปอย่างไร
คำถามชวนคิด พิชิตความรู้ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ปี พ.ศ.2554 ของอำเภอ เมืองในจังหวัดยะลา ซึ่งมีผู้ลงคะแนนเสียงทั้งหมด 58,724 คน สื่อมวลชน แห่งหนึ่งทำการสำรวจหน้าคูหาเลือกตั้ง (Exit poll) โดยการสอบถาม ผู้ลงคะแนนเสียงหลังจากลงคะแนนเสียงแล้วว่าเลือกพรรคใด ผลการสำรวจเป็นดังนี้ พรรคการเมืองที่เลือก จำนวน (คน) พรรค ก 2,755 พรรค ข 1,523 พรรค ค 452 พรรค ง 270 รวม 5000
คำถามชวนคิด พิชิตความรู้ ข้อมูลใดต่อไปนี้ ถูกหรือผิด ผู้ลงคะแนนเสียงทั้งหมดในเขตพื้นที่นี้เป็นประชากร ผู้ลงคะแนนเสียงและถูกสอบถามเป็นตัวอย่าง ข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลเชิงปริมาณ ข้อมูลที่สื่อมวลชนนี้ได้เป็นข้อมูลทุติยภูมิ
คำถามชวนคิด พิชิตความรู้ ข้อสอบ O-NET ม.6 ปีการศึกษา 2551 สอบวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ข้อ 25 ข้อใดต่อไปนี้เป็นเท็จ 1. สถิติเชิงพรรณนาคือสถิติของการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นต้นที่มุ่งอธิบาย ลักษณะกว้างๆ ของข้อมูล 2. ข้อมูลที่เป็นหมายเลขที่ใช้เรียกสายรถโดยสารประจำทางเป็น ข้อมูลเชิงคุณภาพ 3. ข้อมูลปฐมภูมิคือข้อมูลที่ผู้ใช้เก็บรวบรวมจากแหล่งข้อมูลโดยตรง 4. ข้อมูลที่นักเรียนรวบรวมจากรายงานต่างๆ ที่ได้จากหน่วยงานราชการ เป็นข้อมูลปฐมภูมิ
คำถามชวนคิด พิชิตความรู้ ข้อสอบ O-NET ม.6 ปีการศึกษา 2551 สอบวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ข้อ 34 ข้อต่อไปนี้มีผลกระทบต่อความถูกต้องของการตัดสินใจโดยใช้สถิติ ยกเว้นข้อใด 1. ข้อมูล 2. สารสนเทศ 3. ข่าวสาร 4. ความเชื่อ
คำถามชวนคิด พิชิตความรู้ ข้อสอบ O-NET ม.6 ปีการศึกษา 2552 สอบวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ข้อ 27 ครูสอนวิทยาศาสตร์มอบหมายให้นักเรียน 40 คน ทำโครงงานตาม ความสนใจ หลังจากตรวจรายงานโครงงานของทุกคนแล้ว ผลสรุปเป็นดังนี้ ผลการประเมิน จำนวนโครงงาน ดีเยี่ยม 3 ดี 20 พอใช้ 12 ต้องแก้ไข 5 ข้อมูลที่เก็บรวบรวม เพื่อให้ได้ผลสรุปข้างต้นเป็นข้อมูลชนิดใด 1. ข้อมูลปฐมภูมิ เชิงปริมาณ 2. ข้อมูลทุติยภูมิ เชิงปริมาณ 3. ข้อมูลปฐมภูมิ เชิงคุณภาพ 4. ข้อมูลทุติยภูมิ เชิงคุณภาพ
คำถามชวนคิด พิชิตความรู้ ข้อสอบ O-NET ม.6 ปีการศึกษา 2552 สอบวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ข้อ 36 ในการใช้สถิติเพื่อการตัดสินใจและวางแผน สำหรับเรื่องที่จำเป็น ต้องมีการใช้ข้อมูลสารสนเทศ ถ้าขาดข้อมูลและสารสนเทศดังกล่าว ผู้ตัดสินใจควรทำขั้นตอนใดก่อน เก็บรวบรวมข้อมูล เลือกวิเคราะห์ข้อมูล เลือกวิธีเก็บรวบรวมข้อมูล กำหนดข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้
Thank You ! ครูครรชิต แซ่โฮ่ http://kanchit004.wordpress.com