องค์ประกอบของวรรณคดี

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
สรุปภาพรวมของหน่วยการเรียนรู้
Advertisements

โดย พัชรี ยันตรีสิงห์ ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ สพป.นครปฐม เขต 2
การเขียนบทความ.
บทที่ 1 “จำนวนนับ 1 ถึง 5 และ 0”
สื่อการสอนโดยใช้โปรแกรม Power Point
การกำหนดปัญหา และความต้องการ (Problem Definition and Requirements)
คดี มาจากคำว่า คติ แปลว่า การไป การเคลื่อน แบบ
ธรรมชาติและลักษณะของภาษา
รายงานการวิจัย.
คำสำคัญ (Keywords) ที่แสดง คุณภาพ ระบบประกันคุณภาพภายใน สถานศึกษา โดยหน่วยงานต้น สังกัด สรุปโดย นายไพโรจน์ พิทักษ์ทวยหาญ ศึกษานิเทศก์ ชำนาญการพิเศษ สพม.35.
สรุปภาพรวมของหน่วยการเรียนรู้ สวัสดี ผมชื่อเฟยเฟย 你好!我是飞飞。
ภาพรวมของแนวคิดโครงงาน
สรุปภาพรวมการเรียนรู้
งานนำเสนอแฟ้มสะสมผลงาน
ระบบสารสนเทศประมวณผลรายการธุรกรรม
สรุปภาพรวมของหน่วยการเรียนรู้
ภาพรวมแนวคิดของโครงงาน
จงหาระยะห่างของจุดต่อไปนี้ 1. จุด 0 ไปยัง จุด 0 ไปยัง 2
การเขียนขยายเค้าโครงเอกสารแต่ละบท ให้มีเนื้อหาสมบูรณ์
การอ่านจับใจความเรื่องสั้น
การสร้างสื่อประสมบทเรียนช่วยสอน Multimedia ผ่าน Internet
งานเอกสารที่เกี่ยวกับการจัดการสัมมนา
การสื่อสารเพื่อสร้างมนุษยสัมพันธ์
โครงร่างการวิจัย (Research Proposal)
บทที่ 3 การวิเคราะห์โครงสร้าง Structure Analysis
เครื่องมือช่วยในการจับประเด็น รวบรวมความคิดให้เป็นหมวดหมู่
1 การอ่านตำรา การอ่านตำรา.
การใช้ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู
ขอต้อนรับทุก ท่าน WELCOME ! No 1. การบรรยายความรู้ มุมมองใหม่ กับการทำงานส่งเสริมเคหกิจ เกษตร วันพุธที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ระหว่างเวลา ๑๕. ๐๐ – ๑๖. ๐๐ น.
วิชา ทักษะภาษาไทยเพื่ออาชีพ
แนวทางดำเนินงานจัดการความรู้ในงานส่งเสริมการเกษตร ให้ประสบผลสำเร็จ
เทคนิคการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
ศ.ดร.สุมาลี สังข์ศรี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
เทคนิคการนำเสนอ วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม 2554
ขั้นตอนและหลักการวิเคราะห์
ตัวละคร.
วิธีการฝึกอบรม ลูกเสือสามัญ
ฉากและบรรยากาศ.
ความหมายของการวิจารณ์
จัดทำโดย 1. นาย ยุทธพิชัย ตินรัตน์ ม.5/6 เลขที่ 4 2. นาย สิรภพ พิกุลทอง ม.5/6 เลขที่ นาย พีระทัด นาคดิลก ม.5/6 เลขที่ นาย ภานุวัฒน์ เพ็งผอม.
แก่นเรื่อง.
บทที่ 11.
ขั้นตอนและหลักการคิดวิเคราะห์วรรณคดี
บทที่ 7 การศึกษาและ การนำเสนอสารสนเทศ
การเขียนรายงาน.
การแบ่งหนังสือออกตามลักษณะการจัดทำและความเหมาะสมของผู้อ่านแต่ละกลุ่ม
ผู้วิจัย นางสาวจันทรา แซ่หลิม สังกัด วิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต
การอ่านเชิงวิเคราะห์
บทสนทนา การเดินเรื่อง มุมมองของกวี
การสร้างสรรค์บทละคร.
ธวัชชัย เอี่ยมไพโรจน์
ความหมายของการวิจารณ์
จุดประสงค์ เพื่อให้เยาวชนได้เรียนรู้ความสำคัญและสืบทอดกิจกรรมทอดผ้าป่าวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ซึ่งเป็นประเพณีที่สำคัญของชุมชนบ้านดอน เพื่อเป็นการสืบทอดเจตนารมณ์ของบรรพบุรุษ.
สัลลาปังคพิไสย.
การประเมินพัฒนาการทางภาษาตามแนวสมดุลภาษา
คุณค่าวรรณคดีด้านวรรณศิลป์
คุณค่าวรรณคดีด้านวรรณศิลป์
การเขียนบทวิทยุกระจายเสียง. ขั้นตอนการเขียนบทรายการวิทยุ ขั้นเริ่มต้นแนวคิด (Begin with idea) จะเป็น การบอกแนวทาง ขอบเขตและการวาง แผนการผลิตในอนาคต.
ขั้นตอนและหลักการวิเคราะห์วรรณคดี
การพูด.
บทที่ 4 งานเอกสารที่เกี่ยวกับการจัดการสัมมนา
ความสำคัญ และ คุณค่า ของวรรณกรรม.
การเขียนรายงาน.
รูปแบบของการเล่าเรื่อง
การเขียนบทวิจารณ์วรรณกรรม
หัวข้อการเรียน สัปดาห์ที่ ๔ ENL 3701
การเขียนบทโฆษณา และการผลิตภาพยนตร์โฆษณา
บทที่ 5 การเขียนรายงานโครงงานคอมพิวเตอร์
การทัศนศึกษา.
การนำเสนอสารด้วยวาจา
ใบสำเนางานนำเสนอ:

องค์ประกอบของวรรณคดี บทสนทนา กลวิธีเกี่ยวกับการดำเนินเรื่อง และมุมมองของกวี

สมาชิกในกลุ่ม มัธยมศึกษาปีที่ ๕/๔ 1. นางสาว ตรัยรัตน์ อั้นเต้ง เลขที่ 1 2. นางสาว ณัฏฐ์วรินท์ วณิชชานนท์ เลขที่ 19 3. นางสาว ธมนวรรณ ขวัญนุ้ย เลขที่ 14 4. นางสาว กชกร จีนหมิก เลขที่ 18 5. นาย ฐิติวัฒน์ ติ๊บจันทร์ เลขที่ 16 6. นางสาว ภรณ์วลักษณ์ สินชัย เลขที่ 6 7. นางสาว นัชชา จิตชาญวิชัย เลขที่ 8 8. นางสาว กานต์สินี ล่องแก้ว เลขที่ 33 9. นางสาว กานต์กนก ล่องแก้ว เลขที่ 34

บทสนทนา(Dialogue) คือคำพูดของตัวละครที่ใช้โต้ตอบกันในเรื่อง บทสนทนานับเป็นองค์ประกอบสำคัญของเรื่องบันเทิงคดีได้ประการหนึ่ง เพราะช่วยให้ผู้อ่านได้ทราบถึงแนวคิดของผู้แต่ง ทราบถึงบุคลิกลักษณะของตัวละคร ข้อขัดแย้งระหว่างตัวละคร ภูมิหลังและรายละเอียดต่าง ๆ ได้ โดยผู้แต่งไม่ต้องบรรยายหรือพรรณนาความให้ยืดยาว นอกจากนี้ยังทำให้ผู้อ่านได้รับความเพลิดเพลินไปพร้อมกันด้วย

อาจสรุปวัตถุประสงค์ของการเขียนบทสนทนาได้ดังนี้ ๑. เพื่อช่วยดำเนินเรื่องแทนการบรรยายของผู้แต่ง ๒. เพื่อช่วยให้รู้จักตัวละครในเรื่อง ทั้งรูปร่างลักษณะหน้าตาและนิสัยใจคอ โดยผู้แต่งไม่ต้องชี้แจงตรง ๆ ๓. เพื่อช่วยให้มีวิธีการไม่ซ้ำซาก คือใช้การบรรยายบ้าง ใช้การสนทนาบ้าง ๔. เพื่อสร้างความสมจริง คำพูดที่สมมติว่าเป็นถ้อยคำจริง ๆ ของตัวละครทำให้รู้สึกใกล้ชิดกับความเป็นจริงมากกว่าคำบรรยายของผู้แต่ง ๕. เพื่อทำให้บทประพันธ์น่าอ่าน น่าสนใจและมีชีวิตชีวาขึ้น โดยเฉพาะบทสนทนาที่คมคาย มีอารมณ์ขัน หรือพูดได้ถูกต้องตามฐานะของตัวละคร และสมกับบทบาทในตอนนั้น ๆ

ลักษณะของบทสนทนาที่ดี ลักษณะที่ ๑ มีความสมจริง หมายถึง ถ้อยคำที่ตัวละครใช้พูดโต้ตอบกันควรมีลักษณะเป็นธรรมชาติคล้ายคลึงกับที่บุคคลในชีวิตจริง ๆและหากตัวละครเป็นคนท้องถิ่น ผู้แต่งมักจะใช้บทสนทนาเป็นภาษาถิ่นเพื่อให้บทสนทนาช่วยสร้างบรรยากาศให้ดูสมจริงยิ่งขึ้น

ลักษณะของบทสนทนาที่ดี(ต่อ) ลักษณะที่ ๒ มีประโยชน์ หมายถึง คำพูดของตัวละครทุกคำ ควรจะมีประโยชน์ทั้งต่อผู้เขียนและผู้อ่านด้วย ประการที่หนึ่ง ควรเป็นเครื่องมืออันสำคัญที่ผู้เขียนจะใช้เป็นสื่อสำหรับส่งความคิดหรือคติธรรมของตนไปยังผู้อ่านด้วยการผ่านทัศนะของตัวละคร ประการที่สอง ช่วยสร้างบรรยากาศของเรื่องให้ดูสมจริงยิ่งขึ้น ประการที่สาม ช่วยแสดงให้เห็นถึงอุปนิสัยของตัวละครได้เด่นชัดขึ้น และประการสุดท้าย ช่วยดำเนินเรื่อง กล่าวคือ บทสนทนาของตัวละครนั้นบางครั้งจะช่วยขยายเรื่องให้คืบหน้าไป โดยผู้แต่งไม่ต้องเขียนคำอธิบายยาว ๆ

กลวิธีเกี่ยวกับการดำเนินเรื่องและมุมมอง 1.กลวิธีที่เกี่ยวกับการดำเนินเรื่อง การดำเนินเรื่องนั้น ผู้แต่งอาจมีวิธีนำเสนอหรือวิธีเขียนโดยผู้แต่ง(กวี) แต่ละคนจะใช้วิธีการดำเนินเรื่องไม่เหมือนกัน ผู้แต่งอาจจะมีวิธีการในการดำเนินเรื่องได้หลายวิธี เช่น - วิธีที่หนึ่ง : เล่าเรื่องตามลำดับปฏิทิน กล่าวคือ เรื่องที่เกิดขึ้นก่อน เล่าก่อน เรื่องที่เกิดขึ้นทีหลัง ก็เล่าทีหลัง เรียงลำดับก่อนหลัง  - วิธีที่สอง : การเล่าเรื่องย้อนต้น กล่าวคือ การเปิดเรื่องอาจจะนำเอาตอนใดตอนหนึ่งที่มีอยู่ในเรื่องเป็นส่วนเปิดเรื่องก็ได้ แล้วเล่าย้อนไปถึงต้นเรื่อง สลับไปสลับมากับเรื่องปัจจุบัน

กลวิธีเกี่ยวกับการดำเนินเรื่องและมุมมอง(ต่อ) วิธีที่สาม การสื่อความคิด กล่าวคือ เป็นการสื่อความคิดตามโลกทัศนะของผู้แต่งอย่างแจ่มแจ้ง  เป็นที่เข้าใจของผู้อ่าน หรือการมีสารัตถะของเรื่องที่ชัดเจน ทำให้ผู้อ่านสามารถรับทราบและเข้าใจข้อคิดตามที่ผู้แต่งมีเจตนารมณ์จะสื่อ วิธีที่สี่ การคลี่คลายสารัตถะของเรื่องไปตามขั้นตอนต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่เริ่มแรกจนจบเรื่อง โดยให้สอดคล้องกับสารัตถะของเรื่องและเจตนารมณ์ของผู้แต่งเรื่อง วิธีที่ห้า การใช้สัญลักษณ์และบุคลาธิษฐาน กล่าวคือ อาจจะใช้บุคลาธิษฐาน ทั้งเนื้อเรื่อง หรือใช้เฉพาะตอนบางตอน อีกทั้งยังช่วยให้เห็นความสามารถพิเศษของผู้แต่งว่า มีวิธีเล่าเรื่องและแสดงความคิดเห็น แบบกล่าวตรงไปตรงมา 

กลวิธีเกี่ยวกับการดำเนินเรื่องและมุมมอง(ต่อ) หรือมีวิธีที่แปลกแตกต่างออกไป สัญลักษณ์บางอย่างเกี่ยวเนื่องกับปรากฏการณ์ของมนุษย์ทั่วไป เช่น ฤดูใบไม้ผลิเป็นสัญลักษณ์ของเยาว์วัย หรือความมีชีวิตมีชีวา สัญลักษณ์บางอย่างได้มาจากนิทานปรัมปรา เช่น ช้างเผือกเป็นสัญลักษณ์ของบุญบารมีของกษัตริย์ เป็นต้น

กลวิธีเกี่ยวกับการดำเนินเรื่องและมุมมอง(ต่อ) 2. มุมมอง มุมมอง หรือ Point of view เป็นกลวิธีเล่าเรื่องโดยผ่านทัศนะของผู้เล่าเรื่องหรือผ่านทัศนะของตัวละครภายในเรื่องก็ได้ หากใช้กลวิธีการเล่าเรื่องผ่านสายตาของผู้เล่า ผู้เล่าเรื่องต้องทำหน้าที่เป็นตัวกลาง ระหว่างผู้อ่านกับเรื่องที่เล่า ดังนั้นผู้เล่าเรื่องเห็นเหตุการณ์อย่างไร มีทัศนคติกับเรื่องที่เกิดขึ้นอย่างไร ย่อมต้องเล่าเรื่องไปตามมุมมองของเขาเช่นนั้น

กลวิธีเกี่ยวกับการดำเนินเรื่องและมุมมอง(ต่อ) อนึ่งผู้เล่าเรื่องในที่นี้ไม่ใช่ผู้แต่ง ผู้อ่านต้องแยกผู้แต่งกับผู้เล่าเรื่องออกจากกัน เพราะผู้แต่งเป็นบุคคลจริง ๆ ในขณะที่ผู้เล่าเรื่องเป็นเพียงบุคคลที่ผู้แต่งสมมติขึ้น ไม่มีตัวตนในเรื่องเพื่อให้ทำหน้าที่แทนผู้แต่ง กลวิธีการเล่าเรื่องแบบนี้ ผู้เล่าเรื่องจะกล่าวถึงตัวละครต่าง ๆ ในเรื่องโดยการเรียกชื่อเฉพาะของตัวละคร หรือใช้สรรพนามบุรุษที่ ๓ เมื่อพูดถึงตัวละครนั้น

กลวิธีเกี่ยวกับการดำเนินเรื่องและมุมมอง(ต่อ) หากผู้แต่งใช้กลวิธีเล่าเรื่องผ่านตัวละครใดตัวละครหนึ่ง อาจจะเป็นตัวละครสำคัญ หรือเป็นตัวละครที่มีส่วนร่วมในเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งอาจเป็นตัวละครรองก็ได้ ผู้เล่าเรื่องในลักษณะนี้ย่อมต้องรู้เรื่องดีกว่า เพราะมีส่วนร่วมในเหตุการณ์ต่าง ๆ ในเรื่อง กลวิธีการเล่าเรื่องแบบนี้ ผู้เล่าเรื่องใช้สรรพนามบุรุษที่ ๑ เช่น ฉัน , เรา เมื่อกล่าวถึงตนเอง

กลวิธีเกี่ยวกับการดำเนินเรื่องและมุมมอง(ต่อ) นอกจากกลวิธีเล่าเรื่องโดยผ่านสายตาของผู้เล่าเรื่องและตัวละครแล้ว ยังมีวิธีเล่าเรื่องอีกลักษณะหนึ่ง ที่เรียกว่า กระแสสำนึก ( Stream of consciousness) เป็นวิธีการเล่าเรื่องที่ผู้แต่งปล่อยให้ความคิด , ความรู้สึก , อารมณ์ , ความทรงจำ ตลอดจนการรับรู้ทางประสาทสัมผัสของตัวละครไหลพรั่งพรูออกมา เรื่องที่เล่าจึงไม่มีความต่อเนื่องและไม่มีการเรียบเรียงจัดลำดับเป็นการถ่ายทอดความรู้สึกและความคิดในจิตใจของตัวละครออกมาให้ผู้อ่านได้สัมผัสโดยตรง ผู้แต่งอาจจะใช้วิธีในการเล่าเรื่องแบบนี้ไปตลอดทั้งเรื่อง หรือใช้เพียงบางตอนของเรื่องก็ได้

แหล่งอ้างอิง กุหลาบ มัลลิกะมาส. (๒๕๔๘). วรรณคดีวิจารณ์.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง. บุญยงค์ เกศเทศ. (๒๕๓๖). แลลอดวรรณกรรมไทย. กรุงเทพฯ: โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์. หทัยวรรณ ไชยะกุล. (๒๕๔๙). วรรณกรรมศึกษา. เชียงใหม่ฯ: มิ่งเมือง. ธนัช มหาสินทรัพย์. วรรณกรรมไทย ( เอกสารประกอบการเรียนการสอน). ลำปาง: คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยโยนก

ขอบคุณสำหรับการรับชม สวัสดีค่ะ/ครับ ….