การพัฒนาภาคพิสดาร เศรษฐศาสตร์การเมืองของโลกทัศน์ตะวันออก Political Economy of Eastern Weltanschauung (Worldviews) ผศ. ดร. จิตรกร โพธิ์งาม
ปรัชญาตะวันออก การพัฒนา คือ การทำให้รกรุงรัง พุทธทาสภิกขุ การพัฒนา คือ การทำให้รกรุงรัง พุทธทาสภิกขุ “ความสุขของประชาชาติ สำคัญกว่าผลผลิตของประชาชาติ” Jigme Singye Wangchuck กษัตริย์แห่งภูฐาน Gross National Happiness = GNH Gross National Product = GNP
เศรษฐศาสตร์แห่งความสุข ไม่มีความสุขในเศรษฐศาสตร์แบบตะวันตก การพัฒนาแบบตะวันตก / หรือใช้ทฤษฎีตะวันตก ที่มีโลกทัศน์แบบตะวันตก เกิดท่ามกลางบรรยากาศของ : - โลภ - โกรธ - หลง - กลัว การพัฒนาแบบตะวันตกจึงไม่สามารถก่อให้เกิดความสุขได้
เศรษฐศาสตร์ตะวันออก จุดมุ่งหมายหลัก : - ไม่ใช่แสวงหาประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ - แสวงหาความสุข “maximization of happiness”
ไม่มีความสุขในทุนนิยม ทุนนิยมแบบอเมริกัน เน้นเรื่องตลาดเสรี การแข่งขันทางธุรกิจ การแสวงหาประสิทธิภาพ และกำไรสูงสุด การแสวงหาความก้าวหน้า ความร่ำรวย ความเจริญ ลัทธิบริโภคนิยม ชีวิตแบบนี้ “ไม่มีความสุข” ทุนนิยม รัฐ สวัสดิการ แบบยุโรปตะวันตก มีแนวทางคล้ายกัน แต่มีพื้นที่มากกว่าในการใฝ่ฝันถึง “ความสุข”
อุดมการณ์ทุนนิยม อุดมการณ์ทุนนิยม สร้างความเพ้อฝัน ว่า มีเงินทองมาก ๆ มีรายได้เพิ่มขึ้น สะสมวัตถุสิ่งของให้มาก ๆ นั่นคือ ความสุข นักเศรษฐศาสตร์แนวจิตวิทยา D. KAHNEMAN (รางวัลโนเบล ปี 2002) บอกว่า การมีวัตถุสิ่งของรายได้มากขึ้น ไม่ได้ทำให้คนเรามีความสุข แต่ลัทธิวัตถุนิยมและบริโภคนิยม ก็ยังคงเป็นความใฝ่ฝันของโลกตะวันตกต่อไป
ข้อสงสัย บางคนตั้งข้อสังเกตว่า ในประเทศไทยเราเป็นสังคมของชาวพุทธ แต่ทำไมคนไทยจึงถูกครอบงำอย่างง่ายดายจากอุดมการณ์ทุนนิยม ซึ่งเน้นเรื่องความเจริญ และการสะสมวัตถุสิ่งของ ? พุทธศาสนาตอบได้ไหม – จากการท้าทายของค่านิยมที่มาจากตะวันตกในยุคโลกาภิวัตน์ ?
อุดมการณ์ทุนนิยมกับการพัฒนา ในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม คน คือ แรงงาน / ผู้ใช้แรงงาน / คนทำงาน คนต้องสร้างความเจริญให้แก่ระบบ คนเป็นปัจจัยการผลิต มีหน้าที่รับใช้ระบบ คนแบบทุนนิยม จึงเป็นคนที่รับใช้ระบบทุนนิยม ชีวิตแบบนี้เต็มไปด้วยการทำงาน การแข่งขันและความตึงเครียด ในจิตใจ เป็นชีวิตที่ไร้ความสุข เป็นเศรษฐกิจแบบ joyless economy
การพัฒนา – เพื่อใคร ? แบบตะวันตก : คนต้องรับใช้การพัฒนา แบบตะวันออก : การพัฒนาต้องรับใช้คน - จุดมุ่งหมายของการพัฒนา คือ คน ประชาชน ต้องเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา
พุทธปรัชญา เพื่อนำความสุขกลับคืนมา การพัฒนาแบบตะวันออก ต้องมี “เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ” เป็นพื้นฐาน (Buddhist Economics) จริยศาสตร์แนวพุทธ และจักรวาลวิทยาแนวพุทธ ชี้ทางไว้ว่า ความสุขของคนเรา เกิดจากดุลภาพ ระหว่าง วัตถุ กับ จิตวิญญาณ : สุขกาย สบายใจ จิตผ่องใส
ความหลากหลายของความเชื่อ สำหรับชุมชนที่ไม่ใช่ชาวพุทธ ความเชื่อในศาสนาอื่น ๆ เช่น อิสลาม คริสต์ ฮินดู ก็เป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการพัฒนา เพื่อความสุขเช่นกัน เต๋าแห่งความสุข : อยู่อย่างเต๋า อยู่กับธรรมชาติ
นิพพานบนภูเขาหิมาลัย เศรษฐศาสตร์แนวพุทธในภาคปฏิบัติ ส่วนใหญ่มีการนำมาประยุกต์ใช้ ในระดับจุลภาค / ระดับชุมชน/ ระดับโครงการ ตัวอย่างที่สำคัญ : สันติอโศกในไทย สรรโวธัยในศรีลังกา ในระดับชาติ มีแห่งเดียวเท่านั้นในโลก : ประเทศภูฐาน ใช้เศรษฐศาสตร์ แนวพุทธ (มหายาน) เป็นพื้นฐาน ในการพัฒนาประเทศระดับมหภาค จุดมุ่งหมายเบื้องต้น : เพื่อสร้างสังคมที่มีความเจริญ ทั้งวัตถุ และจิตวิญญาณ จุดมุ่งหมายสุดท้าย : เพื่อพระนิพพานบนภูฐาน ?
หลักการพื้นฐานของการพัฒนา ประตู สัจจธรรม แนวทาง ใจ – ความว่าง สัจธรรมสมบูรณ์ : พัฒนาจิต ปัญญา (หญิง) วจี – พลัง สัจธรรมสัมพัทธ์ : สร้างความยุติธรรม ความโปร่งใส เมตตา / กรุณา , และการมีส่วนร่วม กาย – กรรม ปฏิบัติ (ชาย) ดำเนินชีวิตอย่างยั่งยืน หลักการพัฒนาเหล่านี้ ได้มาจาก คำสอนของปรัชญามหายาน
หลักการบริหารจัดการ 8 ข้อ กลุ่มนักปรัชญาชาวภูฐาน เชื่อว่า ประชาชนจะมีความสุขได้ จะต้องมี การบริหารจัดการ โดยใช้หลักการ 8 ข้อ (พัฒนามาจาก “มรรคมีองค์แปด”) - การพัฒนาจิต - การพิทักษ์ปกป้องธรรมชาติ - การส่งเสริมความคิด - การสร้างความยุติธรรม และ ที่เป็นอิสระ ธรรมาภิบาล - การอนุรักษ์วัฒนธรรม - การพัฒนาการศึกษา - การพัฒนาเศรษฐกิจ - การพัฒนาปัจจัย พื้นฐาน ที่มีความสมดุล สำหรับการดำรงชีวิต หลักการทั้งหมด ไม่จำเป็นต้องทำพร้อมกัน ปัญหาคือ จะทำอะไร ? เมื่อไร ? ภาพรวมคือ ต้องทำให้ครบ 8 หลักการ
คัมภีร์เล่มใหม่ ดูเอกสารเกี่ยวกับเรื่อง GNH (Gross National Happiness) รวบรวมแนวคิด การพัฒนาบนพื้นฐานของพุทธปรัชญาแนวมหายาน Centre for Bhutan Studies (Thimphu) เอกสารสัมมนาระดับนานาชาติ 2 ครั้ง 2004 – 5 เกี่ยวกับแนวคิด GNH
ความขัดแย้งทางความคิด หลายทศวรรษที่ผ่านมา ทางการภูฐานได้ริเริ่มสร้างแนวคิดใหม่เกี่ยวกับ “ความสุข” ช่วงนั้น มีการเน้นหลักการ “พึ่งตนเอง” อย่างมาก ในปัจจุบัน หลักการนี้ได้หายไป หลักการการพัฒนา (ทางการ) มีอยู่ 4 ข้อเท่านั้น - ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม ที่ยั่งยืนและเป็นธรรม - อนุรักษ์วัฒนธรรมภูฐาน - พิทักษ์รักษาสิ่งแวดล้อม - สร้างระบบธรรมาภิบาล นี่คือ เสาหลัก 4 ต้นของ GNH
บางอย่างที่หายไป นอกจากหลักการ “พึ่งตนเอง” แล้ว เสาหลัก 4 ต้น ไม่ได้กล่าวถึงเรื่องจิตวิญญาณ และการส่งเสริมทางด้านจิตใจ มีแนวโน้มว่า ในยุคโลกาภิวัตน์ ภูฐานอาจหลงเข้าไปในกระแส “การพัฒนา” แบบสมัยใหม่ที่เน้นความเจริญทางวัตถุ ในแนวคิดของภูฐานไม่มีมิติทางการเมือง
มิติทางการเมือง การเมือง ทำให้คนไม่มีความสุข เพราะศักยภาพการดำรงชีวิตถูกบั่นทอนอย่างรุนแรง ภายใต้โครงสร้างอำนาจที่ครอบงำ โลกทัศน์ตะวันออก ต้องให้ความสนใจแก่มิติทางการเมือง เศรษฐศาสตร์การเมืองว่าด้วยความสุข ต้องไม่ละเลยมิติการเมือง
การเมือง กับ ความสุข * โครงสร้างอำนาจ *วัฒนธรรมการเมือง *ผลประโยชน์ *วัฒนธรรมการเมือง *ผลประโยชน์ * ในแนวคิดของเศรษฐกิจการเมือง การเมืองเป็นเรื่องของอำนาจอภิสิทธิ์ อิทธิพล ความขัดแย้ง การต่อสู้ การเคลื่อนไหว และการเปลี่ยนแปลงสังคม การเมืองเป็นเรื่องของประชาชนคนเดินดิน ความสุข
เส้นทางของการวิเคราะห์แนวใหม่ เศรษฐศาสตร์การเมืองของโลกทัศน์ตะวันออก ควรหันไปศึกษา แนวคิดใหม่ ๆ เกี่ยวกับการต่อต้านทฤษฎีการพัฒนาที่มาจาก ทุนนิยมของโลกตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แนวคิดที่เรียกว่า POST – DEVELOPMENT = ก้าวข้ามพ้นการพัฒนา แนวนี้ให้ความสำคัญแก่วิธีการวิเคราะห์ “วาทกรรมการพัฒนา” (development discourses)
บทสรุป “เราไม่อาจแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ โดยการใช้วิถีคิดแบบเก่า ๆ ที่เป็นต้นตอในการสร้างปัญหาเหล่านี้” วาทะของ ALBERT EINSTEIN ระลึกถึง 2005 : ฉลอง 100 ปี EINSTEIN
THE END