ความหมายและความสำคัญเกษตรทฤษฎีใหม่ การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นทฤษฎีแห่งการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและการบริหารงานในการทำการเกษตรที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงพระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย เพื่อแก้ไขปัญหาการเกษตร
เกษตรทฤษฎีใหม่ ตั้งอยู่บนกรอบแนวคิดของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งหลักปรัชญานี้ประกอบด้วย 3 หลักการ และ 2 เงื่อนไข
หลักการสำคัญของเกษตรทฤษฎีใหม่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทาน "ทฤษฎีใหม่" ให้ดำเนินการในพื้นที่ทำกินที่มีขนาดเล็กประมาณ 15 ไร่ ด้วยวิธีการจัดสรรที่ดินให้เหมาะสมกับการเกษตรแบบผสมผสานอย่างได้ผล เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ใช้จ่ายตลอดปี ซึ่งได้ดำเนินการอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ซึ่งการพัฒนาตามแนวทาง "ทฤษฎีใหม่" นี้มีความจำเป็นต้องประยุกต์ใช้ในเหมาะสมกับ สภาพภูมิประเทศและสิ่งแวดล้อมจึงจะเกิดประโยชน์สูงสุด
เกษตรทฤษฎีใหม่ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติหนึ่งของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีขั้นตอนของการพัฒนาแบ่งออกได้ 3 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 ทฤษฎีใหม่ขั้นต้น เริ่มต้นจากการมุ่งแก้ปัญหาของเกษตรกรที่มีน้ำไม่เพียงพอสำหรับการเกษตร โดยการใช้แนวทางการจัดทำแหล่งน้ำขนาดเล็กในฟาร์ม ส่วนที่ดินการเกษตรอื่นจะใช้ในการผลิตเพื่อตอบสนองกับความต้องการพื้นฐานอื่นของครอบครัว การเกษตรทฤษฎีใหม่ในขั้นนี้ จึงเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในระดับครอบครัว ในเกษตรทฤษฎีใหม่ขั้นต้นนี้ มีแนวทางสำคัญในการการจัดสรรที่ดินการเกษตรและที่อยู่อาศัย โดยแบ่งพื้นที่ ออกเป็น 4 ส่วน ตามอัตราส่วน 30:30:30:10 คือ
การแบ่งพื้นที่ทำกินตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ 30% ขุดสระเก็บกักน้ำ 30% ปลูกข้าว 30:30:30:10 10% เป็นที่อยู่อาศัย และอื่นๆ 30% ปลูกผลไม้ ไม้ยืนต้น พืชไร่ พืชผัก
ขั้นที่ 2 ทฤษฎีใหม่ขั้นกลาง เมื่อเกษตรกรได้เริ่มต้นปฏิบัติตามเกษตรทฤษฎีใหม่ขั้นต้นแล้ว มีความพอเพียงและความมั่นคงในขั้นพื้นฐานระดับหนึ่งแล้ว ขั้นตอนต่อมาจึงเป็นเรื่องของการรวมกลุ่มเกษตรกร เช่น กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ หรือวิสาหกิจ ซึ่งการร่วมมือกันนี้ก็เพื่อสร้างประโยชน์ให้เกิดขึ้นกับกลุ่มโดยรวม บนพื้นฐานของการไม่เบียดเบียนกัน การแบ่งปันช่วยเหลือกันตามกำลัง และความสามารถของตน
ขั้นที่ 3 ทฤษฎีใหม่ขั้นก้าวหน้า กลุ่มเกษตรกรที่ได้ดำเนินการตามทฤษฎีใหม่ในขั้นกลาง จนประสบความสำเร็จเบื้องต้น อาจก้าวเข้าสู่ขั้นก้าวหน้า โดยการประสานความร่วมมือกับองค์กรอื่นๆ ในระดับประเทศ เพื่อยกระดับการทำธุรกิจ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกร ในประเทศไทย มีหน่วยงานจำนวนมาก โดยเฉพาะหน่วยงานราชการ ที่ส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ แต่หน่วยงานประสานงานหลักเกี่ยวกับการส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ คือ มูลนิธิชัยพัฒนา
ประโยชน์ของทฤษฎีใหม่ - ประชาชนพออยู่พอกินในระดับประหยัด เลี้ยงตนเองได้ ไม่อดอยาก ตามหลักปรัชญาของ "เศรษฐกิจพอเพียง" - ในหน้าแล้งก็สามารถนำน้ำที่เก็บกักไว้ในสระมาปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย เช่น ถั่วต่างๆ ได้ โดยไม่ต้องอาศัยชลประทาน - ในปีที่ฝนตกตามฤดูกาล ก็สามารถสร้างรายได้ให้ร่ำรวยได้ - ในกรณีที่เกิดอุทกภัย ก็สามารถฟื้นตัว และช่วยตัวเองได้ใน ระดับหนึ่ง โดยราชการไม่ต้องช่วยเหลือมากนัก
เกษตรทฤษฎีใหม่ จัดทำโดย กลุ่มที่4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่5/8 1 เกษตรทฤษฎีใหม่ จัดทำโดย กลุ่มที่4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่5/8 1.นายณัฐพล ประจวบ เลขที่1 2.นายภาณุพงศ์ มะโนสีลา เลขที่2 3.นางสาวกัลยรัตน์ เหมืองพลอย เลขที่9 4.นางสาวฐิตาภา ศุภจิตรานนท์ เลขที่13 5.นางสาวฐิติวรดา สันป่าเป้า เลขที่14 6.นางสาวธนัชพร เวียงนาค เลขที่21 7.นางสาวปานมาศ สุวรรณกาศ เลขที่27 8.นางสาวภัทรสุดา แสนใจยา เลขที่32