ตะบันน้ำเพื่อนโคบาล (เครื่องสูบน้ำพลังน้ำ) 034-351831 ตะบันน้ำเพื่อนโคบาล (เครื่องสูบน้ำพลังน้ำ) 034-351831
คลองชลประทานหรือลำธารน้ำ วางแผนใช้ตะบันน้ำ ข้อมูลเบื้องต้น มีแหล่งน้ำเช่นลำธารน้ำธรรมชาติหรือน้ำชลประทานหรืออ่างเก็บน้ำอยู่ใกล้พื้นที่ และมีน้ำอย่างเหลือเฟือ ระดับน้ำในแหล่งน้ำดังกล่าวสูงกว่าสถานที่ตั้งตะบันน้ำอย่างน้อย 1.5 เมตร ระยะทางจากแหล่งน้ำถึงที่ตั้งตะบันน้ำ 6-38 เมตร(ถ้ามากกว่านั้นก็ได้แต่ต้องมีท่ออากาศหรือบ่อพักน้ำ) จะส่งน้ำขึ้นได้สูงประมาณ 10 เท่าของความต่างระดับในข้อ 2 น้ำที่สูบได้ประมาณ 20 % น้ำไหลทิ้งประมาณ 80 % ท่อจากแหล่งน้ำ แท้งค์น้ำ อาคาร คลองชลประทานหรือลำธารน้ำ ท่ออากาศ หรือบ่อพัก ตะบันน้ำ ท่อส่งน้ำไปใช้
ส่วนประกอบของตะบันน้ำ หม้อลม เครื่องวัดความดันน้ำ ประตูน้ำไว้ไล่อากาศ ประตูน้ำออก ฟุตวาล์ว เช็ควาล์ว ประตูน้ำเข้า ตัวปั้ม
วิธีใช้งาน ท่อน้ำเข้า ประตูน้ำไว้ไล่อากาศ ประตูน้ำออก ต่อท่อน้ำ ½ นิ้ว หรือ 1 นิ้วจากประตูน้ำออกไปยังแท้งค์น้ำ (ได้ระยะทางกว่า 100 เมตร) เปิดประตูน้ำเข้าในตัวตะบันน้ำและเปิดประตูน้ำไล่อากาศให้น้ำไหลทิ้ง(1-2 นาที) ปิดประตูน้ำเข้า รอให้น้ำไหลออกจากประตูน้ำไล่อากาศจนหมดแล้วจึงปิดประตูไล่อากาศ เปิดประตูน้ำเข้าในตัวตะบันน้ำอีกครั้ง(ขณะนี้ประตูไล่อากาศปิด แต่ประตูน้ำออกเปิดอยู่) ใช้ เหล็กหรือไม้กลมเท่าตะเกียบ กดลงบนลิ้นของฟุตวาล์วแล้วปล่อยเป็นจังหวะห่างกัน 30-50 วินาที่ ทำเช่นนี้จนกว่าลิ้นจะเปิดและปิดเองโดยอัตโนมัติ ซึ่งอาจจะต้องทำ 5-30 ครั้ง(การหรี่ประตูน้ำออกในช่วงแรก จะช่วยให้การกดลิ้นดังกล่าวน้อยครั้งลงได้) ท่อน้ำเข้า ประตูน้ำไว้ไล่อากาศ ประตูน้ำออก
เก็บน้ำไว้ในถังสูงเพื่อใช้แทนน้ำประปา น้ำสูงถึงยอดไผ่ เก็บน้ำไว้ในถังสูงเพื่อใช้แทนน้ำประปา
ประสิทธิภาพขึ้นอยู่กับ ความต่างระดับระหว่างระดับน้ำในแหล่งน้ำกับที่ตั้งตะบันน้ำ(ยิ่งมากยิ่งดี) ความห่างระหว่างแหล่งน้ำกับที่ตั้งตะบันน้ำ (ต้องพอเหมาะ 10-12 เมตรดีที่สุด ถ้าห่างมากต้องทำบ่อพัก หรือท่ออากาศ ณ ที่ตำแหน่งที่พอเหมาะ) ความตรงของท่อป้อนน้ำเข้าตะบันน้ำ (ยิ่งตรงยิ่งดี) ความแข็งแกร่งของท่อป้อนน้ำเข้าตะบันน้ำ (แป๊บเหล็กดีกว่าท่อ พีวีซี) ระยะทางและความสูงระหว่างตะบันน้ำกับถังเก็บน้ำ ขนาดท่อป้อนน้ำ ขนาดของลิ้น และขนาด ตลอดจนรูปร่างของตะบันน้ำ