หลักการแก้ปัญหา
หลักการแก้ปัญหาอย่างมีขั้นตอน การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ การใช้หลักการในการแก้ปัญหา
การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการทางเทคโนโลยี วิธีแก้ปัญหาด้วยกระบวนการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นวิธีที่มีการนำระบบคอมพิวเตอร์ไปใช้ในการแก้ปัญหา หรือเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน จะต้องมีการวิเคราะห์ปัญหาและศึกษาความเป็นไปได้ให้รอบคอบก่อน ต้องเลือกวิธีแก้ปัญหาให้เหมาะสมกับงาน จัดหาเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ไม่เกินความจำเป็น การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ เหมาะกับระบบงานที่ต้องทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งซ้ำซาก และมีปริมาณงานมาก หรืองานที่ต้องการความรวดเร็วในการคำนวณเกินกว่าคนธรรมดาจะทำได้
ขั้นตอนการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ มีดังนี้ การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา การเลือกเครื่องมือ และออกแบบขั้นตอนวิธี การดำเนินการแก้ปัญหา การตรวจสอบ และการปรับปรุง
ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรม การวิเคราะห์ปัญหา การออกแบบโปรแกรม โดยใช้เครื่องมือในการออกแบบ คือ ผังงาน การเขียนโปรแกรม การทดสอบโปรแกรม การจัดทำเอกสารประกอบ
การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการทางเทคโนโลยี 2. เครื่องมือในการวิเคราะห์ขั้นตอนวิธีในการแก้ปัญหา ในการอออกแบบขั้นตอนวิธีในการทำงานเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ หรือการเขียนโปรแกรม จำเป็นต้องใช้เครื่องมือบางอย่างช่วยในการออกแบบและวิเคราะห์วิธีการ เพื่อให้ง่ายต่อการมองภาพกระบวนการทำงานของระบบ สามารถตรวจสอบที่ผิดพลาด รวมทั้งหาทางปรับปรุงให้ดีกว่าเดิมได้ เครื่องมือดังกล่าวที่ง่ายที่สุด ได้แก่ ผังงาน (Flow chart) และรหัสจำลอง (Pesudo Code)
การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการทางเทคโนโลยี ผังงาน (Flow chart) เป็นเครื่องมือช่วยออกแบบและวิเคราะห์การทำงานของโปรแกรมขั้นพื้นฐานที่สุด ช่วยให้สามารถมองเห็นภาพของความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการต่าง ๆ ของระบบหรือโปรแกรมได้ง่าย ทำให้นำไปเขียนเป็นโปรแกรมได้อย่างถูกต้อง
ตารางแสดงความหมายของสัญลักษณ์
การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการทางเทคโนโลยี รหัสจำลอง (Pseudo Code) เป็นเครื่องมือช่วยในการออกแบบระบบงานและโปรแกรมอีกแบบหนึ่ง โดยเขียนขั้นตอนวิธีเป็นประโยคสั้น ๆ กะทัดรัด แต่สื่อความหมายชัดเจน เรียงกันโดยมีหมายเลขกำกับแต่ละขั้นตอน ให้ทำงานตามลำดับหมายเลขและเงื่อนไขที่เขียนไว้
การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการทางเทคโนโลยี วิธีการเขียนผังงาน ก่อนที่จะเขียนผังงาน คือ เราต้องทำการวิเคราะห์ปัญหา และคิดค้นวิธีแก้ปัญหานั้นทีละขั้นตอน จากนั้นนำมาเขียนในสัญลักษณ์ผังงานที่เหมาะสม ซึ่งการทำงานโดยทั่วไปต้องมีจุดเริ่มต้นและจุดจบ
การใช้หลักการในการแก้ปัญหา วิเคราะห์ปัญหาและระบบงานที่จะทำรวมถึงรายละเอียดข้อมูลที่ต้องใช้ จัดทำรายละเอียดของความต้องการของผู้ใช้ระบบงาน (Requirements Specification) ออกแบบขั้นตอนวิธีการทำงาน หรือออกแบบโปรแกรม (Program Design) เขียนชุดคำสั่ง (Coding) ทดสอบโปรแกรม (Testing) และหาที่ผิดพลาด (Debugging) การนำไปใช้งานจริง (Implementation or Operation) การบำรุงรักษา การติดตามผลและการแก้ไขปรับปรุง (Software Maintenance and Improvement)
สรุป การแก้ปัญหาด้วยระบบสารสนเทศ จะต้องมีการวิเคราะห์ปัญหา ศึกษาข้อมูล รวมทั้งค้นคว้าหาวิธีการแก้ปัญหาและทำการตกลงกับผู้ใช้ระบบสารสนเทศนั้นด้วยว่า เขาต้องการแก้ปัญหานั้นอย่างไรจากหลาย ๆ วิธีที่อาจเป็นไปได้ และอีกประการหนึ่งก็คือ เขาต้องการผลหรือคำตอบจากระบบสารสนเทศในรูปแบบอย่างไร