ประเภทของแอนิเมชั่นใน Flash Frame-by-frame คือ การสร้างคีย์เฟรมหลายคีย์เฟรมต่อกันไป โดยคงความต่อเนื่อง ของชิ้นงานชิ้นเดิมไว้ ทำให้มองเป็นเป็นภาพเคลื่อนไหว การสร้างภาพเคลื่อนไหวแบบเฟรม ต่อเฟรม จะเหมาะกับการสร้างภาพเคลื่อนไหวที่ซับซ้อนไม่มีรูปแบบแน่นอน Tween คำว่า Tween มาจากคำว่า “in between” เป็นการสร้างภาพเคลื่อนไหวจาก เฟรมต้นและเฟรมสุดท้าย ซึ่งโปรแกรมจะสร้างการเปลี่ยนแปลงระหว่างเฟรมให้โดย อัตโนมัติ จึงมีจะมีการสร้างเฟรมเพียง 2 เฟรม ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ Inverse Kinematic (IK) เป็นการใส่กระดูก เพื่อเชื่อมโยงกับรูปทรงที่สร้าง หรือ วัตถุหลายๆ ชิ้น ให้สัมพันธ์กันด้วยโครงกระดูก โดยสามารถขยับกระดูกเหล่านี้เพื่อให้เกิด การเคลื่อนไหว เช่น การสร้างการเคลื่อนไหวเลียนแบบการเดินของคน
Tween Shape Tween เป็นการสร้างภาพเคลื่อนไหว โดยแปลงจากรูปทรงหนึ่งไปอีก รูปทรงหนึ่ง เช่น รูปสี่เหลี่ยมค่อยๆ เปลี่ยนเป็นรูปวงกลม Classic Tween เป็นการทำแอนิเมชั่นเพื่อโดยเปลี่ยนคุณสมบัติของวัตถุ สี ความ สว่างของสี หรือขนาดรูปร่าง เช่น ภาพที่ค่อยๆ สว่างขึ้น หรือตัวหนังสือค่อยๆ จาง หายไป Motion Tween เป็นการสร้างภาพเคลื่อนไหวที่มีการเปลี่ยนตำแหน่ง ขนาด หรือ หมุนวัตถุตามต้องการ เป็นการสร้างภาพเคลื่อนไหว ที่มีการเคลื่อนกำหนดการ เคลื่อนที่ หมุน ย่อ หรือขยายให้กับวัตถุ แบบฝึกหัด : แอนิเมชั่น Moon and Planet
บทที่ 5 การสร้างแอนิเมชั่นด้วยคำสั่ง Tween Tween คือการสร้างภาพเคลื่อนไหวในโปรแกรม flash ช่วยสร้างการ เคลื่อนไหวระหว่าง เฟรมเริ่มต้นจนถึงเฟรมสิ้นสุดที่เราได้ทำการสร้าง Tween ขึ้นมาให้โดยอัตโนมัติTween แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ Shape Tween Classic Tween Motion Tween
Shape Tween เป็น Animation สำหรับการเปลี่ยนรูปทรงหนึ่งเป็นอีกรูปทรงหนึ่ง เช่น วงกลม เปลี่ยนเป็นรูปดาว รูปดาวกลายเป็นสี่เหลี่ยม หรือน้ำกลิ้งไปกลิ้งมา ฯลฯ โดย อาศัยหลักการของ Tween ซึ่งหลักการคือ วาดรูปเริ่มต้นไว้ที่ Keyframe แรก และไปวาดรูปปลายทางที่ keyframe ต่อไป แต่ Shape Tween นั้นจะทำได้ เพียงรูปทรงพื้นฐานเท่านั้น ในรูปทรงยาก ๆ ก็จะให้การเปลี่ยนแปลงที่ไม่สวย
Classic Tween คือ การสร้างแอนิเมชันโดยใช้ออบเจ็กต์เพียงชิ้นเดียว จากนั้นจึงสั่งให้มีการ เคลื่อนไหวออบเจ็กต์นั้น Classic Tween สามารถใช้ในการเปลี่ยนแปลง คุณสมบัติของวัตถุ จากค่าหนึ่งไปเป็นอีกค่าหนึ่งได้โดยง่าย
Motion Tween เป็นการสร้างภาพเคลื่อนไหว ชนิดกำหนดจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด วัตถุที่นำมา สร้างจะเป็นวัตถุประเภทใดก็ได้ โปรแกรมจะสร้างการเปลี่ยนแปลงระหว่าง เฟรมให้โดยอัตโนมัติ เหมาะสำหรับการสร้างภาพเคลื่อนไหวแบบที่ต้องการ ความต่อเนื่องสม่ำเสมอ
การทำ Motion Tween แบบฝึกหัด: แอนิเมชั่น Star การสร้างการเคลื่อนไหวแบบนี้ สามารถกำหนดค่าต่าง ๆ ให้กับการเคลื่อนไหวได้ เช่น ปรับความเร็วในการ เคลื่อนไหว กำหนดจำนวนแสดงซ้ำ ทั้งหมดนี้ให้กำหนดค่าที่ พาเนล Properties Frame Label กำหนดชื่อเฟรม เมื่อกำหนดชื่อจะปรากฏธงสีแดง และชื่อเฟรมที่จอภาพ Timeline Tween กำหนดรูปแบบของภาพเคลื่อนไหว - None ไม่เคลื่อนไหว - Motion การเคลื่อนที่แบบย้ายสถานที่ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างองวัตถุแต่สามารถเปลี่ยนขนาดวัตถุ - Shape การเคลื่อนไหวแบบเปลี่ยนรูปร่าง เช่นเปลี่ยนรูปร่างสี่เหลี่ยมเป็นรูปดาว Ease กำหนดความช้าเร็วในการเคลื่อนที่ โดยมีข้อกำหนดดังนี้ - ถ้ากำหนดค่าตัวเลขมากกว่า 0 การเคลื่อนที่จะเริ่มจากเร็วแล้วค่อย ๆ ช้าลงจนกระทั่งหยุดการเคลื่อนไหว - ถ้ากำหนดค่าตัวเลขน้อยกว่า 0 การเคลื่อนที่จะเริ่มจากช้าแล้วค่อย ๆ เร็วขึ้นจนกระทั่งหยุดการเคลื่อนไหว Rotate การกำหนดการตั้งค่าการหมุนของวัตถุ ดังนี้ - None ไม่มีการหมุนวัตถุ - Auto หมุนวัตถุอัตโนมัติ - CW/CWW หมุนวัตถุตามเข็มนาฬิกา/ ทวนเข็มนาฬิกา แบบฝึกหัด: แอนิเมชั่น Star