ความยากจนกับสังคมไทย ปัญหาและทางออก ความยากจนกับสังคมไทย ปัญหาและทางออก
ปัญหาความยากจน (Poverty)
สาเหตุของปัญหาความยากจน สาเหตุของความยากจนสามารถแบ่งได้เป็น2แนวทางใหญ่ๆ คือ สาเหตุจากปัจจัยภายใน ได้แก่ การมีความรู้ความสามารถในการประกอบอาชีพต่ำ เนื่องจากการขาดโอกาสในการศึกษาและพัฒนา ทักษะต่างๆ รวมทั้งการขาดโอกาสในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ และการมีภาระ ในการเลี้ยงดูครอบครัวที่มีขนาดใหญ่ ประกอบกับการมีทรัพย์สินและที่ดินในการทำกินน้อย ปัจจัยเหล่านี้ ล้วนเป็นสาเหตุภายในบุคคลที่ทำให้บุคคลกลายเป็นคนจนได้
สาเหตุจากปัจจัยภายนอก ได้แก่ นโยบายการพัฒนาที่ไม่สมดุลของภาครัฐ ที่เน้นพัฒนาเมืองมากกว่าพัฒนาชนบทหรือการพัฒนาชนบทที่เน้นแต่ทุนทางกายภาพโดยขาดการส่งเสริมทุนทางสังคม ทางด้านเศรษฐกิจมากกว่าการกระจายรายได้ เน้นการเปิดประเทศมากเกินไปในขณะที่ยังไม่มีมาตรการรองรับผลกระทบ ในด้านต่างๆ ที่ดีพอกระบวนการทางกฎหมายที่เป็นตัวสร้างความเหลื่อมล้ำในสังคม และระบบราชการไม่เอื้อต่อการแก้ปัญหา ความยากจนทั้งในแง่ขั้นตอนในการปฏิบัติงานที่ซับซ้อนและล่าช้า
ผลกระทบจากความยากจน คือปัญหาที่คนในสังคมมีชีวิตในการดำรงชีวิตที่ยากลำบาก ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องปัจจัย 4 ที่ยังไม่ค่อยมี และจะมีผลกระทบคือ สังคมใดมีปัญหามากถือได้ว่าสังคมนั้น ยังไม่มีการพัฒนาดีพอควร ก่อให้เกิดปัญหาในด้านอาชญากรรม ชกชิง วิ่งราว ปล้น ทำผิดศีลธรรม ซึ่งคนที่ทำเช่นนี้ส่วนใหญ่คือผู้ที่ด้อยในการศึกษาทั้งทางโลกและทางธรรม (อาจไม่จำกัดเฉพาะความยากจน) สำคัญคือ ทำให้เกิดการกดขี่จากผู้มีอำนาจต่อรองมาก ดั่งเช่น การกู้หนี้นอกระบบก็เกิดจากปัญหาความยากจน
ผลเสียของความยากจน 1. ผลเสียต่อบุคคลและครอบครัว ทำให้บุคคลสูญเสียบุคลิกภาพที่ดี ครอบครัวขาดเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็นแก่การดำรงชีพ ไม่สามารถจะส่งบุตรหลานเล่าเรียนได้เท่าที่ควร 2. เป็นภาระแก่สังคม สังคมต้องอุ้มชู ดูแลคนยากจน ทำให้ประเทศชาติไม่สามารถจะทุ่มเทการพัฒนาได้ 3. ทำให้เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองไม่มั่นคง ประเทศที่มีคนยากจนมากก็ไม่สามารถจะพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองได้ จะเกิดความล่าช้าในการพัฒนาประเทศ เกิดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ และความไม่มั่นคงทางสังคม เกิดปัญหาสังคมอื่นๆ ตามมาเช่น ปัญหาอาชญากรรม
วิธีป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมไทย วิธีป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมไทย 1. ให้การศึกษาแก่ประชาชนให้ทั่วถึงและสูงขึ้น การศึกษาเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของมนุษย์ให้สูงขึ้น รัฐจึงควรทุ่มเทงบประมาณในการให้การศึกษาแก่ประชาชน 2. รัฐต้องจัดสวัสดิการที่ดีให้แก่ประชาชน ต้องจัดให้ประชาชนมีการศึกษาที่ดีและมีงานทำทุกคนเพื่อ เป็นหลักประกันของชีวิต ควรจัดให้มีการประกันสังคมโดยทั่วถึง 3. พัฒนาเศรษฐกิจอย่างเหมาะสมกับประเทศ โดยพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อส่วนรวม กระจายรายได้สู่ชนบทมากขึ้น พยายามลดช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวยให้อยู่ในระดับเดียวกัน 4. มีการพัฒนาสังคมให้เหมาะสม โดยเฉพาะระดับครอบครัว ซึ่งเป็นสถาบันที่สำคัญต้องพัฒนาก่อนสถาบันอื่น ๆ ควรสร้างค่านิยมที่ดีให้กับเด็ก เช่น ให้มีความซื่อสัตย์ ขยัน ใฝ่ศึกษา พระพุทธศาสนามีหลักธรรมช่วยแก้ปัญหาความยากจนไว้
แนวทางการแก้ไขปัญหาความยากจน ในปัจจุบันทั้งธนาคารโลกและประเทศไทยได้เน้นมาแก้ไขปัญหาความยากจนที่เกิดจากปัจจัยภายในบุคคล โดยการเปิดโอกาสด้านต่างๆให้กับคนจนมากขึ้นทั้งโอกาสทางสังคม โดยการสร้างระบบประกันสังคมและระบบตาข่ายความคุ้มครองทางสังคมต่างๆ ขยายโอกาสทางเศรษฐกิจโดยการพัฒนาและส่งเสริมอาชีพ พัฒนาตลาด และให้เงินทุนกู้ยืมต่าง ๆ รวมถึงโอกาสทางการเมือง
แหล่งที่มา http://region3.prd.go.th/problempoor/stripes.htm http://www.learners.in.th/blogs/posts/336223 http://www.gotoknow.org/posts/327033