โครงการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยและ ได้มาตรฐาน ปีงบประมาณ 2553
1.1 อบรมเกษตรกรหลักสูตรระบบการผลิตตาม มาตรฐาน GAP พืช - บุคคลเป้าหมาย เกษตรกรที่สมัครเข้าสู่การรับรองมาตรฐานGAP ปี 2553 จำนวน 36,266 ราย - วิธีการ รวมกลุ่มเกษตรกรที่ผลิตพืชชนิดเดียวกัน หรือกลุ่มพืชที่มีลักษณะการผลิตคล้ายกันมีพื้นที่อยู่ใกล้หรือพื้นที่เดียวกัน กลุ่มละประมาณ 20-25 ราย
- จุดเน้น ทบทวนความรู้เรื่องข้อกำหนด GAP 8 ข้อ ความรู้เรื่องแผนควบคุมการผลิตพืช ความรู้เรื่องการจดบันทึกแปลงและฝึกปฏิบัติการจดบันทึก ความรู้ในประเด็นที่กลุ่มต้องการ หรือเจ้าหน้าที่เห็นควรเพิ่มเติมแก่เกษตรกรเพื่อให้สามารถผ่านการตรวจรับรองตามมาตรฐาน GAP - งบประมาณ จำนวน 2 วัน ๆ ละ 100 บาท
1.2 ติดตามให้คำปรึกษาและประเมินแปลงเบื้องต้นโดยเจ้าหน้าที่ที่ปรึกษา - บุคคลเป้าหมาย เกษตรกรที่สมัครเข้าสู่การรับรองมาตรฐานGAP ปี 2553 - วิธีการ เจ้าหน้าที่ที่ปรึกษาติดตามให้คำปรึกษา แนะนำการปฏิบัติของเกษตรกร และประเมินแปลงเบื้องต้นตามแบบฟอร์ม (ประมาณ 3 ครั้ง/แปลง) พิมพ์ใบประกาศนียบัตรรับรองการผ่านประเมินแปลงเบื้องต้นให้แก่เกษตรกรที่ผ่านการประเมินเบื้องต้นแล้ว รวบรวมรายชื่อเกษตรกรที่ผ่านการประเมินเบื้องต้น ส่งให้หน่วยตรวจรับรอง ติดตามผลการตรวจรับรอง และแจ้งผลการตรวจรับรองและใบรับรองให้เกษตรกร
- จุดเน้น การจดบันทึกในแบบบันทึกอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง สถานที่เก็บสารเคมีปลอดภัยและถูกต้องตามข้อกำหนด การใช้สารเคมีตามคำแนะนำ - งบประมาณ สำหรับเจ้าหน้าที่ที่ปรึกษา แปลง ๆ ละ 190 บาท
1.3 จัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับระบบการรับรองมาตรฐาน GAP - บุคคลเป้าหมาย เกษตรกรที่สมัครเข้าสู่การรับรองมาตรฐานGAP ปี 2553 - รายละเอียด ใบสมัคร GAP-01 ตามแบบฟอร์มปี 2552 แบบประเมินแปลงเบื้องต้น ตามแบบฟอร์มปี 2552 ใบประกาศนียบัตรรับรองการผ่านประเมินเบื้องต้น ตามแบบฟอร์มปี 2552 - งบประมาณ จำนวน 10 บาท/3 รายการ
2.1 อบรมเตรียมความพร้อมเกษตรกรเข้าสู่ระบบการรับรอง มาตรฐาน GAP ปี 2554 - บุคคลเป้าหมาย เกษตรกรทั่วไปที่สนใจการผลิตพืชตามระบบการรับรองมาตรฐาน GAP จำนวน 203,734 ราย - วิธีการ รวมกลุ่มเกษตรกรที่ผลิตพืชชนิดเดียวกัน หรือกลุ่มพืชที่มีลักษณะการผลิตคล้ายกัน มีพื้นที่อยู่ใกล้หรือพื้นที่เดียวกัน กลุ่มละประมาณ 20-25 ราย เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการพัฒนาไป สู่การตรวจรับรอง GAP แบบกลุ่มตามความสมัครใจของเกษตรกร
- จุดเน้น ถ่ายทอดความรู้ตามข้อกำหนดระบบการผลิตตามมาตรฐาน GAP 8 ข้อ นำความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอดไปปฏิบัติตามไม่น้อยกว่า 1 ประเด็น - งบประมาณ จำนวน 1 วัน ๆละ 100 บาท
3. นำร่องและศึกษารูปแบบระบบการรับรองมาตรฐาน GAP แบบกลุ่ม - บุคคลเป้าหมาย กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ หมู่ 5 ตำบลสิงหนาท อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัด พระนครศรีอยุธยา (กลุ่มนำร่องของเขตที่ 1)
- วิธีการ ส่วนกลาง เขต จังหวัด และอำเภอร่วมกันดำเนินการในกลุ่มนำร่อง โดยร่วมกับมกอช. ดำเนินกิจกรรมต่อเนื่องปี 2552 จำนวน 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1. อบรมสมาชิกกลุ่มเพื่อทำความเข้าใจระบบเอกสารและฝึกการนำ แบบฟอร์มต่าง ๆ ไปทดลองปฏิบัติ 2. ตรวจติดตามการใช้ระบบเอกสารตามระบบควบคุมภายในของกลุ่ม 3. อบรมการตรวจสอบแปลงภายในและฝึกปฏิบัติให้กับผู้ตรวจสอบแปลง ภายในของกลุ่ม 4. ตรวจติดตามการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบแปลงภายในและระบบ ควบคุมภายในของกลุ่ม 5. ประเมินความพร้อมระบบควบคุมภายในของกลุ่มก่อนประสานหน่วย ตรวจรับรองดำเนินการให้การรับรองกลุ่มเกษตรกร
- จุดเน้น เจ้าหน้าที่ในพื้นที่เข้าไปติดตามการดำเนินการของกลุ่มนำร่องฯ เพื่อให้เกษตรกรมีความเข้าใจและสามารถปฏิบัติตามระบบควบคุมภายในของการรับรอง GAP แบบกลุ่ม - งบประมาณ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางของเจ้าหน้าที่เขต จำนวน 4,500 บาท/กลุ่ม ค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมกลุ่มเกษตรกรและค่าใช้จ่ายในการเดินทางจังหวัดและอำเภอ จำนวน 23,000 บาท/กลุ่ม