รายงานสถานการณ์การระบาดเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง ภาคตะวันออก ข้อมูล ณ วันที่ 3 มีนาคม 2553 กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 จังหวัดระยอง
สถานการณ์การระบาดของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง สถานการณ์การระบาดของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง ถึงวันที่ 3 มีนาคม 2553 พื้นที่ระบาด 6 จังหวัด ในภาคตะวันออก ได้แก่ จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ปราจีนบุรี ระยองและสระแก้ว รายละเอียดดังนี้ วิเคราะห์สถานการณ์ ข้อมูลพื้นที่การปลูกมันสำปะหลัง ในภาพรวม 6 จังหวัด ภาคตะวันออก รวม 1,786,433 ไร่ พื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง (ไร่) จันทบุรี 383,702 ฉะเชิงเทรา 351,705 ชลบุรี 301,239 ปราจีนบุรี 192,831 ระยอง 89,937 สระแก้ว 467,019 รวม 1,786,433
ตามมาตรการเร่งด่วนและมาตรการเฝ้าระวัง 2. การระบาดของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง 6 จังหวัด ภาคตะวันออก ตามมาตรการเร่งด่วนและมาตรการเฝ้าระวัง พื้นที่ระบาดรวม 194,288 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 11 ของพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังทั้งหมด 6 จังหวัด ภาคตะวันออก (1,786,433 ไร่) พื้นที่ยังไม่ระบาดรวม 1,592,145 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 89
3. พื้นที่การระบาดของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง ใน 6 จังหวัด ภาคตะวันออก ตามมาตรการเร่งด่วนและมาตรการเฝ้าระวัง แบ่งตามช่วงอายุมันสำปะหลัง ดังนี้ -อายุ 1 – 4 เดือน พื้นที่ระบาด 116,859 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 60 ของพื้นที่ระบาดรวม(194,288 ไร่) -อายุ 5 – 7 เดือน พื้นที่ระบาด 52,790 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 27 ของพื้นที่ระบาดรวม(194,288 ไร่) -อายุ 8 เดือนขึ้นไป พื้นที่ระบาด 24,639 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 13 ของพื้นที่ระบาดรวม(194,288 ไร่) รวมพื้นที่ระบาด 194,288 ไร่
ต่อพื้นที่ระบาดรวมรายจังหวัด รายละเอียดพื้นที่และร้อยละการระบาดของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังตามช่วงอายุมันสำปะหลัง ต่อพื้นที่ระบาดรวมรายจังหวัด อายุมันสำปะหลัง 1-4 เดือน 5-8 เดือน 8 เดือนขึ้นไป รวมพื้นที่ระบาด (ไร่) ร้อยละ (ไร่) ร้อยละ (ไร่) ร้อยละ (ไร่) จันทบุรี 2,000 22 - - 6,975 78 8,975 ฉะเชิงเทรา 32,500 54 25,325 41 3,284 5 61,109 ชลบุรี 5,035 27 7,855 43 5,610 30 18,500 ปราจีนบุรี 58,895 90 5,057 8 1,092 2 65,044 ระยอง 3,379 33 4,295 42 2,583 25 10,257 สระแก้ว 15,050 49 10,258 34 5,095 17 30,403 ภาพรวม 116,859 60 52,790 27 24,639 13 194,288
สาเหตุการระบาดของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง 1.สภาพอากาศแห้งแล้ง เหมาะสมต่อการขยายพันธุ์ของเพลี้ยแป้ง จึงทำให้เกิด การแพร่กระจายและการระบาดมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น 2.เกษตรกรยังไม่ตระหนักด้านการป้องกัน จึงไม่ได้ทำลายเศษซาก ต้นมันสำปะหลังแปลงที่มีการระบาดของเพลี้ยแป้ง หลังการเก็บเกี่ยว จึงเป็นแหล่งขยาย พันธุ์เพลี้ยแป้งไปยังแปลงปลูกในบริเวณใกล้เคียง ทำให้การระบาดมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น 3.การดำเนินการควบคุมการเคลื่อนย้ายท่อนพันธุ์มันสำปะหลังโดยชุมชน ยังไม่มีการนำไปปฏิบัติอย่างจริงจัง 4.เกษตรกรไม่ตระหนักในการปฏิบัติท่อนพันธุ์ที่ถูกต้องให้ปลอดจากเพลี้ยแป้ง ก่อนปลูก สำหรับเกษตรกรที่ปลูกมันสำปะหลังไปแล้ว ส่วนใหญ่ไม่ได้แช่ท่อนพันธุ์ ด้วยสารเคมีกำจัดเพลี้ยแป้งก่อนปลูก
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ 1. มันสำปะหลังอายุ 8 เดือนขึ้นไป ใน 6 จังหวัดภาคตะวันออก รวมพื้นที่ระบาด 24,639 ไร่ หรือ คิดเป็นร้อยละ 13 ของพื้นที่ที่มีการระบาดรวม ใน 6 จังหวัด ภาคตะวันออก หลังจากที่เกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วจะทำให้พื้นที่การระบาดลดลงร้อยละ 13 ดังนั้น จังหวัดและอำเภอจึงควรประชาสัมพันธ์ ให้เกษตรกรมีการทำลายซากต้นมันสำปะหลัง มีการไถตากดิน และมีการแช่ท่อนพันธุ์ด้วยสารเคมีก่อนปลูก 2. จังหวัดควรเร่งจัดซื้อสารเคมีตามโครงการการจัดการเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง และแจกจ่ายให้กับเกษตรกรที่กำลังจะปลูกมันสำปะหลังใช้แช่ท่อนพันธุ์ก่อนปลูก
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ 3. ประสานงานให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการควบคุมการเคลื่อนย้ายท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง 4. รณรงค์และสนับสนุนสารเคมี ตามโครงการการจัดการเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง ให้เกษตรกรฉีดพ่นสารเคมี ในพื้นที่ระบาดของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง อายุ 1-4 เดือน และอายุ 5-8 เดือน ที่มีพื้นที่ระบาดรวม 169,649 ไร่ หรือ คิดเป็นร้อยละ 87 ของพื้นที่ที่มีการระบาดรวม ใน 6 จังหวัด ภาคตะวันออก จะทำให้พื้นที่การระบาดของเพลี้ยแป้งลดลงในระดับหนึ่ง พร้อมกับเร่งรัดอำแภอ/ตำบลดำเนินการจัดตั้งศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน และให้ความรู้แก่สมาชิกเพื่อเป็นกลไกในการปฏิบัติการควบคุมเพลี้ยแป้งโดยวิธีผสมผสาน อีกด้านหนึ่ง
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ 5. ควรมีการประสานงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อบจ. อบต. เพื่อขอรับการสนับสนุนการดำเนินงานต่อไป 6. มาตรการเฝ้าระวังพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังที่ยังไม่เกิดการระบาดของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง ใน 6 จังหวัด ภาคตะวันออก รวมจำนวน 1,592,145 ไร่ หรือ คิดเป็นร้อยละ 89 ของพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังทั้งหมด ควรมีการประชาสัมพันธ์เน้นหนักให้เกษตรกรเกิดความตระหนักและมีการหมั่นออกสำรวจแปลงปลูกมันสำปะหลังเป็นประจำสม่ำเสมอทุกสัปดาห์ หากพบเพลี้ยแป้งระบาดให้เด็ดยอดทำลาย และฉีดพ่นด้วยสารเคมีไทอะมิโทแซม อัตรา 2 กรัม ผสมไวท์ออย 50 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร