บทที่ 1 บทนำ โดย อ.มานิตย์ ผิวขาว โดย อ.มานิตย์ ผิวขาว สายวิชาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น
หัวข้อ 1.1 ความหมายและขอบเขตของการคลังสาธารณะ 1.2 ความเป็นมาของการคลังสาธารณะ 1.3 ความสำคัญของการคลังสาธารณะ 1.4 ความสัมพันธ์ระหว่างวิชาการคลังสาธารณะกับวิชาอื่นๆ 1.5 แนวทางการศึกษาของวิชาการคลังสาธารณะ
1.1 ความหมายและขอบเขตของการคลังสาธารณะ 1) ความหมายของการคลังสาธารณะ - การคลังสาธารณะ(Public Finance) หมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับข้อเท็จจริง ทฤษฎี วิธีการ และผลกระทบกระเทือนจากการจัดการงบประมาณแผ่นดิน ทั้งด้านรายรับและรายจ่ายของรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น โดยรวมไปถึงการบริหารหนี้สาธารณะและการคลังรัฐวิสาหกิจ
1.2 ความเป็นมาของการคลังสาธารณะ 1.2 ความเป็นมาของการคลังสาธารณะ ระยะที่ 1 สมัยโบราณ -ในระบบ Barter Economic System -รายได้ไม่อยู่ในรูปตัวเงิน เช่น แรงงาน ทรัพย์สิน -รายได้ที่เป็นตัวเงิน เช่น ค่าปรับสงคราม เครื่องบรรณาการณ์ ค่าเช่าที่ดิน ค่าปรับค่าธรรมเนียม ระยะที่ 2 สมัยกลาง -แนวคิดพวก Kameralist รายได้แผ่นดินมาจาก ทรัพย์สินของรัฐ รายได้ของกษัตริย์ รายได้จากภาษีอากร และรายได้เบ็ดเตล็ด -Adam Smith รายได้รัฐบาลมาจาก ทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อื่นของรัฐ รายได้จากภาษีอากร
-บทบาทหน้าที่รัฐบาล 3 ประการ รักษาความสงบ ป้องกันประเทศ ให้ความยุติธรรม ระยะที่ 3 สมัยใหม่ -จากจตุสดมส์ 4 เวียง วัง คลัง นา -การเก็บภาษีอากรเป็นรายได้ เช่น อากรสุรา อากรบ่อนเบี้ย -การจัดทำระบบงบประมาณในรัชการที่ 5
1.3 ความสำคัญของการคลังสาธารณะ 1. ต่อรัฐบาล การมีความรู้ในวิชาการคลังช่วยในการดำเนินการมาตรการทางการคลังและนโยบายการคลังให้มีความถูกต้องและเกิดประโยชน์เต็มที่ต่อระบบเศรษฐกิจ ประชาชน ธุรกิจ และประเทศชาติ 2. ต่อผู้บริหารธุรกิจ การมีความรู้เรื่องภาษีอากร ผลกระทบของการดำเนินนโยบายทางการคลัง จะช่วยในการวางแผนทางธุรกิจให้เกิดประโยชน์สูงสุด 3. ต่อผลประโยชน์ของรัฐบาลและประเทศชาติ การดำเนินการทางการคลังทั้งด้านรายได้ และรายจ่ายกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและประชาชน การบริหารการคลังที่ดีจะช่วยรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ
4. ต่อการจัดเก็บรายได้(จากภาษี) และการใช้จ่ายเงินงบประมาณ ซึ่งมีผลต่อประชาชนและระบบเศรษฐกิจโดยทั่วไป ต้องดำเนินการให้เกิดประสิทธิภาพ มีการติดตามและประเมินผลการดำเนินการ 5. ต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ทั้งเสถียรภาพภายในประเทศ(เงินเฟ้อ เงินฝืด การว่างงาน) และเสถียรภาพระหว่างประเทศ(ดุลการค้า ดุลบัญชีเดินสะพัด ดุลการชำระเงิน และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ) 6. ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ทั้งการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การจ้างงาน และการกระจายรายได้หรือความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน
1.4 ความสัมพันธ์ระหว่างวิชาการคลังสาธารณะกับวิชาอื่นๆ 1.4 ความสัมพันธ์ระหว่างวิชาการคลังสาธารณะกับวิชาอื่นๆ -วิชาเศรษฐศาสตร์ ใช้วิเคราะห์การผลักภาระภาษีอากร ผลกระทบของภาษีอากรด้านต่างๆ ผลกระทบของการใช้จ่ายรัฐบาลและการก่อหนี้ -วิชาจิตวิทยา พยายามดำเนินนโยบายการคลังที่กระทบต่อประชาชนให้น้อยที่สุด ประชาชนมีความพอใจและได้รับประโยชน์สูงสุด -วิชารัฐศาสตร์ การทำความเข้าใจต่อรัฐสภาเพื่อให้เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี -วิชากฎหมาย สามารถร่างกฎหมายเพื่อออกบังคับใช้ได้อย่างถูกต้องและรัดกุม -วิชาสถิติ จัดเก็บข้อมูล การศึกษาผลกระทบของการใช้นโยบายการคลังของรัฐบาล แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจในอนาคต การวางแผนการใช้นโยบายการคลัง
1.5 แนวทางการศึกษาของวิชาการคลังสาธารณะ 1. วิธีวิเคราะห์แบบ Predictive Approach -เป็นการศึกษาข้อเท็จจริงของระบบเศรษฐกิจ โดยไม่มีการตัดสินหรือกำหนดนโยบาย ศึกษาสิ่งที่มีอยู่มากกว่าสิ่งที่ควรจะเป็น 2. วิธีวิเคราะห์แบบ Normative Approach -การศึกษาโดยการใช้ค่านิยมมาตัดสินว่าควรจะเป็นอย่างไร เช่น รัฐบาลควรใช้นโยบายการคลังอย่างไรเพื่อให้เกิดการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมมากที่สุด 3. วิธีวิเคราะห์แบบ Research Approach -ใช้การวิจัยเข้าช่วย เมื่อพบปัญหา เริ่มค้นหาความจริง โดยมีกระบวนการและขั้นตอนในการวิจัยที่ชัดเจน