เกร็ดความรู้ที่เยาวชนไทยควรทราบ Download ใน www.metteyya.info
เนื้อหาในการบรรยาย วินัยในการดำรงชีวิตประจำวัน ความเป็นผู้นำ จิตสำนึกในความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
ทำไมต้องเรียนรู้เรื่องเหล่านี้ วินัยในการดำรงชีวิต ความเป็นผู้นำ เพื่อให้เยาวชนสามารถดำรงชีวิต โดยใช้กรอบของวินัย ช่วยส่งเสริม ให้เยาวชนอยู่ร่วมกันในสังคมได้ อย่างมีความสุข เพราะทุกสังคมต้องมีผู้นำ การศึกษาความเป็นผู้นำทำให้เยาวชนสามารถเป็น ผู้นำของสังคม นำพาสังคมไปสู่ความสุข สงบและร่มเย็นได้ จิตสำนึกในความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เพราะสถาบันชาติ ศาสน์ กษัตริย์มีความสำคัญสูงสุดกับประเทศ สามสถาบันนี้อยู่คู่ความเป็นชาติไทยมาโดยตลอด เยาวชนจึงต้องมีจิตสำนึกในความรักชาติ ศาสตร์ กษัตริย์ และเพื่อตอบแทนบุญคุณของสถาบันชาติ ศาสน์ กษัตริย์
วินัยในการดำรงชีวิตประจำวัน ความหมายของวินัยและวินัยในตนเอง วินัย คือ กฎเกณฑ์ข้อบังคับที่ต้องปฏิบัติ หากฝ่าฝืนอาจต้องได้รับโทษ กล่าวอีกนัยหนึ่งวินัยคือ การควบคุมความประพฤติให้อยู่ในระเบียบแบบแผนที่กำหนด ความหมายของวินัยในตนเอง[ใช้ได้ทั้งเยาวชนและผู้ใหญ่] “ความสามารถของบุคคลในการควบคุมอารมณ์ หรือพฤติกรรมของตนเองให้เป็นไปตามที่ตามกฎระเบียบของสังคม โดยเกิดจากความสำนึกขึ้นมาเอง แม้จะมีสิ่งเร้าจากสิ่งแวดล้อม[เช่น คนชวนไปทำผิดวินัย] หรือภายในจิตใจมาเป็นอุปสรรค ก็ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่จะรักษากฎระเบียบไว้”
วินัยสงฆ์ คือ ศีล : พระภิกษุสงฆ์ ๒๒๗ ข้อ พระวินัยเป็นกฎหมายของพระภิกษุ เป็นเครื่องควบคุมความประพฤติการปฏิบัติตนของภิกษุให้เป็นนักบวชที่น่าเคารพเลื่อมใส ทำให้ผู้พบเห็นเกิดความศรัทธาชื่นชมและมีใจโน้มเข้าหาเพื่อฟังธรรมต่อไป พระวินัยนั้นพระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติตามเหตุที่บังเกิดขึ้น เมื่อมีภิกษุทำสิ่งที่ไม่เหมาะสม หรือทำความเสียหายอย่างใดอย่างหนึ่ง พระพุทธเจ้าก็ทรงประชุมสงฆ์ ตรัสถามเรื่องราวจากภิกษุผู้กระทำผิดให้ได้ความกระจ่าง แล้วทรงชี้ให้เห็นโทษของความประพฤติ ผิดนั้นๆ พร้อมกับทรงชี้ทางที่ควรประพฤติให้สงฆ์ได้ทราบ พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันได้กำหนดวินัยสำหรับพระสงฆ์ในสมัยพุทธกาลไว้ ๒๒๗ ข้อ ความผิดพระวินัยสูงสุดเรียก "ปาราชิก" อาบัติปาราชิกมี ๔ ประการ ได้แก่ การเสพเมถุน การลักทรัพย์ การฆ่ามนุษย์ และการอวดอุตริมนุสธรรม
วินัยสงฆ์ คือ ศีล : สามเณร สามเณรมีสิกขาบท 10 คือ 1.เว้นจากการทำสัตว์ที่มีชีวิตให้ตกล่วงไป. 2.เว้นจากถือเอาพัสดุอันเจ้าของมิได้ให้. 3.เว้นจากกรรมอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์.[เว้นจากเพศสัมพันธ์] 4.เว้นจากการกล่าวเท็จ. 5.เว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท. 6.เว้นจากบริโภคอาหารในเวลาวิกาล. 7.เว้นจากฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการเล่นที่เป็นข้าศึก. 8.เว้นจากการทัดทรงตกแต่งด้วยดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้อันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว. 9.เว้นจากที่นั่งและที่นอนอันสูงและใหญ่. 10. เว้นจากการรับทองและเงิน.
องค์ประกอบของวินัยในตนเองที่เยาวชนควรทราบ มีวินัยดี เป็น หนึ่งในมงคล 38 มงคล คือเหตุแห่งความสุข ความก้าวหน้าในการดำเนินชีวิต ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ให้พุทธศาสนิกชนได้พึงปฏิบัติ นำมาจากบทมงคลสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสตอบปัญหาเทวดาที่ถามว่า คุณธรรมอันใดที่ทำให้ชีวิตประสบความเจริญหรือมี "มงคลชีวิต" องค์ประกอบของวินัยในตนเองที่เยาวชนควรทราบ 1.ไม่ฆ่าคนหรือสัตว์ ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ 2.ไม่ลักทรัพย์หรือยักยอกทรัพย์ 3.ไม่ประพฤติผิดในกาม 4.ไม่พูดโกหก หลอกลวง 5.ไม่พูดส่อเสียด นินทาว่าร้าย ยุยงให้คนแตกแยกกัน 6.ไม่พูดหยาบคาย ให้เป็นที่แสลงหูคนอื่น 7.ไม่พูดจาไร้สาระ หรือ เพ้อเจ้อ 8.ไม่โลภอยากได้ของของคนอื่น 9.ไม่คิดร้าย ผูกใจเจ็บ ปองร้ายผู้อื่น 10.ไม่เห็นผิดเป็นชอบ เช่น เห็นว่าพ่อแม่ไม่สำคัญ บุญหรือกรรมไม่มี สรุปคือ เว้นในอกุศลกรรม 10
แบบอย่างสามเณรที่น่ายกย่อง สามเณรรูปแรกในพระพุทธศาสนาคือ พระราหุล ต่อมาท่านเป็นพระสงฆ์ ได้รับการยกย่องว่าเป็น ผู้เลิศกว่าคนอื่นด้านใฝ่ศึกษาหาความรู้