ลิฟต์
ลิฟต์ เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เคลื่อนที่ในแนวดิ่งชนิดหนึ่ง มีประสิทธิภาพในการเคลื่อนย้ายคนหรือสิ่งของระหว่างชั้นในอาคาร ลิฟต์ในปัจจุบันใช้พลังงานมอเตอร์ไฟฟ้าในการทำงาน เนื่องจากในปัจจุบันที่ดินมีราคาแพงมากขึ้น ฉะนั้นในการที่จะใช้พื้นที่ให้คุ้มค่ามากที่สุดวิธีการหนึ่งคือ การสร้างอาคารให้มีความสูงหลายๆ ชั้น เมื่ออาคารมีความสูงหลายชั้น การที่จะทำให้คนที่เข้ามาใช้อาคารเกิดความ สะดวกสบายในการเดินทางติดต่อกันระหว่างชั้น จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง
ประเภทของลิฟต์
ลิฟต์โดยสาร ลิฟต์บรรทุกของ
ลิฟต์บรรทุกเตียงคนไข้ ลิฟต์บรรทุกรถยนต์
ลิฟต์ส่งอาหาร ลิฟต์แก้ว
การใช้งานของลิฟต์
2 บานเปิดไปในทิศทางเดียวกัน 1. ลิฟต์โดยสาร (Passenger) เป็นลิฟต์ที่พบเห็นทั่วไปตามอาคารต่างๆ เช่น อาคารสำนักงาน คอนโดมิเนียม โรงแรม เป็นต้น ลิฟต์ชนิดนี้ใช้สำหรับขนส่งผู้โดยสารเป็นหลัก 2. ลิฟต์บรรทุกของ (Freight) เป็นลิฟต์ที่ใช้ในงานอุตสาหกรรมเพื่อขนส่งของที่มีน้ำหนักมาก และเหมาะต่อการขนส่งสินค้า เช่น ในโรงงานอุตสาหกรรมหรือโกดังสินค้าจะมีลักษณะพิเศษ คือมีขนาดประตูเปิดกว้างกว่าลิฟต์โดยสารและมีขนาดบรรทุกที่มากกว่าลิฟต์โดยสาร 3. ลิฟต์บรรทุกเตียงคนไข้ (Bed) เป็นลิฟต์ที่ใช้ในโรงพยาบาลมีลักษณะพิเศษคือ มีด้านลึก ยาวกว่าด้านกว้าง และประตูลิฟต์เป็นแบบ 2 บานเปิดไปในทิศทางเดียวกัน
4. ลิฟต์บรรทุกรถยนต์ (Automobile) เป็นลิฟต์ขนาดใหญ่ที่ รถยนต์สามารถขับเข้าไปได้ บานประตูลิฟต์เป็นลักษณะบานเลื่อนขึ้น-ลง ซึ่งมักถูกติดตั้งในอาคารจอดรถ หรือจุดที่ต้องเคลื่อนย้ายรถยนต์ขึ้น-ลง 5. ลิฟต์ส่งอาหาร (Dumbwaiter) เป็นลิฟต์ขนาดเล็กที่ไม่สามารถขนส่งคนได้ แต่ใช้ส่งของในร้านอาหาร โรงแรม 6. ลิฟต์แก้ว เป็นลิฟต์ที่มีความสวยงามมากที่สุด เป็นลิฟต์ที่ใช้ในการโดยสาร ตามสถานที่ที่เป็นสถานที่นัดพบและสถานที่ที่ต้องการความเป็นพิเศษต่างๆ
ส่วนประกอบของลิฟต์
1. เครื่องจักรขับลิฟต์ 2. ชุดลูกถ่วง 3. รางลิฟต์ 4. ตู้โดยสาร 5. บัฟเฟอร์ 6. ตู้คอนโทรล 7. ประตูหน้าชั้น 8. สลิงลิฟต์ 9. ปุ่มกด 10. สายเคเบิล
คำแนะนำในการใช้ลิฟต์
1. กดปุ่มหน้าชั้นเฉพาะทิศทางที่จะไป (ขึ้นหรือลง) เท่านั้นโดยกดให้ ไฟติดเพียงครั้งเดียวการกดย้ำ หลายๆ ครั้ง นอกจากจะไม่ทำให้ลิฟต์เร็วขึ้น ยังมีผลทำให้ปุ่มกดชำรุดเร็วกว่ากำหนด 2. ห้ามใช้ของแข็งหรือของมีคมกดปุ่มเรียกลิฟต์ 3. เมื่อประตูลิฟต์เปิดอยู่ต้องดูให้แน่ใจว่ามีลิฟต์จอดอยู่ ก่อนที่จะก้าวเข้าไปในลิฟต์ 4. เมื่อเข้าลิฟต์แล้วให้รีบเดินเข้าไปด้านในและพยายามยืนโดยการกระจายน้ำหนักให้ทั่วห้องโดยสารอย่ายืนขวางประตูหรือยืนรวมกัน 5. กดปุ่มเฉพาะชั้นที่ต้องการจะไปเท่านั้น
6. กรณีที่มีการล้างหรือทำความสะอาดพื้นบริเวณหน้าลิฟต์ ต้องทำด้วยความระมัดระวังไม่ให้น้ำไหลลงลิฟต์เพราะว่าจะทำให้เกิดความเสียหายได้ และใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆ เช็ดทำความสะอาดอุปกรณ์และพื้นผิวในห้องโดยสารเท่านั้น 7. ห้ามใช้ลิฟต์ในระหว่างการปรับปรุงซ่อมแซมและต้องมีป้ายประกาศให้ชัดเจน 8. ห้ามใช้ลิฟต์ในขณะเกิดไฟไหม้ 9. ห้ามสูบบุหรี่ในลิฟต์ ควรหลีกเหลี่ยงการใช้ลิฟต์ในขณะที่เกิดพายุฟ้าคะนอง หรือฝนตกหนักหรือขณะเกิดแผ่นดินไหวเพราะลิฟต์อาจค้างได้
การบำรุงรักษาลิฟต์
- ตรวจเช็คการทำงานของวงจรเซฟตี้ทั้งหมด - ตรวจเช็คสวิทซ์หน้าคอนแทค และกลไกของดอร์ล็อค - ตรวจเช็คระดับชั้น (การจอดเสมอระดับขั้นหรือไม่) - ตรวจการทำงานของชุดเซฟตี้ชูส์/ ไลท์เรย์ - ตรวจระบบไฟแสงสว่างฉุกเฉิน/กระดิ่ง อินเตอร์คอมฯ /แบตเตอรี่ - ตรวจผ้าเบรคและระยะการทำงานของเบรค - ตรวจสัญญาณบอกชั้น ทิศทางการขึ้นลง และสัญญาณเสียงแจ้งเตือน - ตรวจการทำงานของปุ่มกดหน้าชั้น สัญญาณบอกชั้น - ตรวจเช็คอุณหภูมิมอเตอร์ และพัดลมระบายอากาศ - ตรวจเช็ค และทดสอบการทำงานของชุดกัฟเวอเนอร์ จัดทำโดย นางสาวอภิญญา เชียงกา ปวส.2/1 การบัญชี เลขที่ 36 จบการนำเสนอ
จัดทำโดย นางสาวอภิญญา เชียงกา ปวส.2/1 การบัญชี เลขที่ 36