หลักการนำเสนอ ข้อมูลสถิติ ธัญภา จันทร์โท สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 นครราชสีมา yapa_5@yahoo.com โทร 089-9470188 , 084-0362935,
ตัวแปร ปริมาณ คุณภาพ สถิติพรรณนา statistic % Proportion - Rate - Mean ,Mode ,Median - Range ,SD,CV Presentation -Table -Bar/ chart -Pie chart -Table Line chart -Bar/ chart
การกระจายของโรค ภัย ไข้เจ็บ การกระจายของโรค ภัย ไข้เจ็บ บุคคล อายุ /วัย (หาอัตราป่วยเฉพาะกลุ่มอายุ) เพศ สถานภาพสมรส การศึกษา อาชีพ ภาวะทางสังคมและเศรษฐกิจ ยากจน/ ฐานะดี เกิดโรคต่างกัน
สถานที่ เปรียบเทียบในเขตเมือง/ ชนบท ภาค จังหวัด / อำเภอ /ตำบล /หมู่บ้าน ฯลฯ
เวลา การเปลี่ยนแปลงระยะยาว นับเป็น 10 ปี มักเห็นชัดในโรคไร้เชื้อ ตีความหมายได้ 2 แบบ 1. การเปลี่ยนแปลงอาจเนื่องมาจากความก้าวหน้าในการวินิจฉัยโรค การค้นหาผู้ป่วยใหม่ได้ดีกว่าเดิม 2. การเปลี่ยนแปลงอาจแสดงเป็นดัชนีในการวัดสถานการณ์โรค การเปลี่ยนแปลงเป็นรอบ/ตามฤดูกาล (โรคติดเชื้อ) การเปลี่ยนแปลงระยะสั้น เป็นชั่วโมง /วัน (สารพิษ)
วิธีการนำเสนอข้อมูล วัตถุประสงค์ของการนำเสนอข้อมูล เพื่อให้ข้อมูล/ เรื่องราวนั้นเข้าใจง่าย สื่อความหมายได้ถูกต้อง แบ่งการนำเสนอได้ 4 วิธี 1. การนำเสนอในรูปบทความ 2. การนำเสนอในรูปบทความกึ่งตาราง 3. การนำเสนอในรูปตาราง 4. การนำเสนอในรูปกราฟ
การนำเสนอในรูปบทความ เป็นการบอกเล่าข้อมูลด้วยข้อความต่างๆ ที่ไม่ยาวเกินไป โดยมีตัวเลขปะปนกับข้อความ เหมาะกับข้อมูลที่มีรายการจำนวนน้อย พบทั่วไปในรายการวิทยุ โทรทัศน์ หน้าหนังสือพิมพ์ สรุปรายงาน เช่น ผลการคัดกรองค้นหาโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ในตำบล ก. ปี 2552 ในกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปจำนวนทั้งหมด 240 คน พบผู้มีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน จำนวน 85 คน ร้อยละ 35.41 เสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 102 คน ร้อยละ 42.50
การนำเสนอในรูปบทความกึ่งตาราง เป็นการนำเสนอด้วยบทความและตารางประกอบกัน เพื่อสะดวกในการอ่านค่า เปรียบเทียบตัวเลขให้ชัดเจนเร็วขึ้น (ตารางที่ประกอบไม่ต้องทำเป็นรูปตาราง) เช่น ผลการคัดกรองค้นหาโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ในตำบล ก. ปี 2552 ในกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปจำนวนทั้งสิ้น 240 คน พบดังนี้ - ผู้มีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน 85 คน ร้อยละ 35.41 - เสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง 102 คน ร้อยละ 42.50
3. การนำเสนอในรูปตาราง เป็นการนำข้อมูลมาจัดเป็นหมวดหมู่ แสดงไว้ในตาราง เพื่อให้ดูง่ายขึ้น ง่ายต่อการอ่านค่า และง่ายต่อการเปรียบเทียบ ตารางทางเดียว
ตาราง 2 ทาง (Two-way table)
ตารางซับซ้อน /หรือตาราง 3 ทางขึ้นไป
การเขียนชื่อตาราง/หัวข้อเรื่อง อ่านแล้วทราบว่าเป็นเรื่องอะไร ที่ไหน เมื่อไร (what where when) การเขียนตัวเลขในตาราง เขียน 0 หมายถึงมีค่าเป็นศูนย์ - หมายถึงหาค่ามาไม่ได้/ ไม่มีข้อมูล / (NA : not available)
การนำเสนอด้วยกราฟ เป็นการนำเสนอด้วยภาพที่ทำให้ดึงดูดความสนใจ สวยงาม เห็นเรื่องราวที่นำเสนอได้มากและรวดเร็ว สามารถทราบความแตกต่างและแนวโน้ม เปรียบเทียบได้ชัดเจน แต่ไม่ทราบค่ารายละเอียดได้เหมือนตาราง
อัตราป่วยด้วยโรคเบาหวาน อัตราป่วยต่อแสน ด้วยโรคเบาหวาน ปี 2548-2551 เขต 14จำแนกรายจังหวัด (แหล่งข้อมูล จาก สสจ. ในเขต) อัตราป่วยด้วยโรคเบาหวาน มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจาก ปี 2548 พบอัตราป่วยต่อแสน 1227.27 , ปี2551 เป็น 1857.53 เพิ่มขึ้น 1.5 เท่า หรือร้อยละ 51.3 ภายในระยะเวลา 3 ปี อัตราป่วยต่อแสน ด้วยโรคความดันโลหิตสูง ปี 2548-2551 เขต 14 จำแนกรายจังหวัด โรคความดันโลหิตสูง ปี 2548 พบอัตราป่วยต่อแสน 1208.79 , ปี2551 เพิ่มเป็น1942.91 เพิ่มขึ้น 1.6 เท่า หรือร้อยละ 60.7 ภายในระยะเวลา 3 ปี
ร้อยละของการคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงตามมาตรฐาน ใน กลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ปี 2549-2551 เกณฑ์ ไม่ต่ำกว่า65%
ร้อยละของระดับความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงจากการคัดกรอง ในกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ปี 2551 เขต 14 กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง พบร้อยละ 18.14 กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน พบร้อยละ 14.91