KM ประจำเดือนตุลาคม 2550 สวัสดีค่ะ...พบกับข้อมูลข่าวสาร KM ของกองการเจ้าหน้าที่ ได้ที่นี่กันเป็นประจำ นะคะ ... และสำหรับการต้อนรับปีงบประมาณใหม่ ปี 2551 ได้มีการปรับเงินเดือน ในอัตราร้อยละสี่ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2550 กันไปถ้วนหน้า ทั้งเงินเดือนข้าราชการ ค่าจ้างลูกจ้างประจำ ค่าตอบแทนพนักงานราชการ และ เงินช่วยค่าครองชีพ รวมทั้งผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ ...แต่อย่างไรก็ตาม ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้อยู่ตลอดเวลา การนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำรัส ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะช่วยให้ทุกๆ ท่านรอดพ้นจากปัญหาต่างๆ และสามารถดำรงอยู่ได้ อย่างมั่นคง และยั่งยืนตลอดไปค่ะ .... สุดท้ายนี้ พบกับ KM ในรอบถัดไปของ กจ. นะคะ
กรอบตัวชี้วัดคุณลักษณะคนดี กรอบคุณลักษณะคนดีและตัวชี้วัดโครงการเมืองไทยเมืองคนดี ตามแนวพระบรมราโชวาท พระราชดำรัส แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และหลักธรรมทางศาสนา คุณลักษณะ กรอบตัวชี้วัดคุณลักษณะคนดี ๑. คุณธรรม ๔ ประการ ๑. การรักษาความสัจ ความจริงใจต่อตนเองที่จะประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ และเป็นธรรม ๒. การข่มใจตนเอง ฝึกใจตนเอง ให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัจสุจริต ความดีนั้น ๓. การอดทน อดกลั้น และอดออมที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัจสุจริต ไม่ว่าจะด้วยเหตุประการใด ๔. การรู้จักละวางความชั่ว ความทุจริต และรู้จักเสียสละประโยชน์ส่วนน้อยของตน เพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของ บ้านเมือง
กรอบตัวชี้วัดคุณลักษณะคนดี กรอบตัวชี้วัดคุณลักษณะคนดี ๒. ค่านิยมพื้นฐาน ๕ ประการ ๑. พึ่งตนเอง ขยันหมั่นเพียร และมีความรับผิดชอบ ๒. ประหยัด และ ออม ๓. มีระเบียบวินัย และเคารพกฎหมาย ๔. ปฏิบัติตามหลักธรรมทางศาสนา ๕. จะรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ คุณลักษณะ กรอบตัวชี้วัดคุณลักษณะคนดี ๓. แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ๑. ความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวัง ๒. ความสำนึกในคุณธรรม ๓. ความซื่อสัตย์สุจริต ๔. ความอดทน ความเพียร ความมีสติปัญญา
กรอบตัวชี้วัดคุณลักษณะคนดี ๔. ความกตัญญูกตเวทีต่อบุพการี และผู้มีพระคุณ ๑. ให้ความอุปการะช่วยเหลือ ดูแลต่อบุพการี ๒. มีความเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ต่อผู้มีพระคุณ ๓. ให้ความเคารพรัก และเชื่อฟังต่อบุพการี และผู้มีพระคุณ ๔. มีความอ่อนน้อมถ่อมตนต่อบุพการีและผู้มีพระคุณ พอเพียง พอดี
เศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียง (อังกฤษ: sufficiency economy) เป็นปรัชญาที่ชี้แนวทาง การดำรงอยู่ และปฏิบัติตน ของประชาชนในทุกระดับ รวมถึงระดับรัฐบาล ในการพัฒนา และบริหารประเทศ ที่พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชดำรัส แก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 และภายหลังวิกฤติเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540 ได้ทรงเน้นย้ำ เป็นแนวทางการแก้ไข เพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้ อย่างมั่นคง และยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ
พฤติกรรมสู่ความเป็นเลิศ โดย ศาสตราจารย์ ดร. บุญทัน ดอกไธสง K 1 มุ่งมั่น 2 ทำงานหนัก 3 มองการไกล S รับผิดชอบ ประสานแผน สร้างสรรค์ M เสียสละ ซื่อสัตย์ มีวินัย