"น่าสนใจ มั้ยล่ะ! มารู้จักกันเลยดีกว่า"

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ทฤษฎีใหม่.
Advertisements

ด.ญ.กชกร โชคเฉลิมวงศ์ เลขที่ 15 ป.4/3
 โครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ ประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่
ส่วนที่ : 2 เรื่อง การวางแผน
นางกาญจนา แย้มลักษณะเลิศ
ทอฟฟี่มะละกออัลมอนด์
โครงการพลังงานสัญจร “เปิดโลกปิโตรเลียม” บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
การพัฒนาและส่งเสริมเชื้อเพลิงชีวภาพ (Bio-Fuel)
เศรษฐกิจพอเพียง.
สบู่สมุนไพร.
ชื่อ นางสาว สุนิสา แก้วจารนัย
เกษตรตามแนว ทฤษฏีใหม่
คำถามของการบริหารการค้าปลีก
ECO CAR (ACES CAR ) รถประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล.
Fuel cell Technology  เซลล์เชื้อเพลิง.
น้ำมันไบโอดีเซล คืออะไร
การผลิตไฟฟ้าจากขยะ โดยการฝังกลบขยะมูลฝอย
อะไรคือ “ไฮบริด”. อะไรคือ “ไฮบริด” ไฮบริด ( hybrid) คือ ระบบการทำงานของเครื่องยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สองระบบทำงานร่วมกัน โดยทั่วไปแล้วหมายถึงการทำงานร่วมกันระหว่างระบบสันดาปภายในที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงทำงานร่วมกับระบบมอเตอร์ไฟฟ้า.
บทที่ 8 การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce)
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “สถานการณ์มลพิษทางอากาศ ในบรรยากาศในภาคตะวันออก” หลักการและเหตุผล มลภาวะทางอากาศ (Air pollution) เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ.
ปาล์มน้ำมัน ส่งเสริมการแปรรูปผลผลิตปาล์มเป็นน้ำมันปาล์มดิบ
บทบาทหน้าที่ผู้ตรวจราชการกรม
เทคโนโลยีชีวภาพ แก๊สชีวภาพ นำเสนอโดย 1. นายทรงศักดิ์ ศรีสันติสุข 2
เทคโนโลยีน้ำมันแก๊สโซฮอลล์ ( GOSOHOL )
รู้จัก...ก๊าซหุงต้ม (LPG)...ให้มากขึ้น...
ปัจจุบันทั่วโลกกำลังประสบปัญหากับวิกฤตการณ์ด้านการขาดแคลนพลังงานและปัญาโลกร้อนจากภาวะเรือนกระจกที่ทุกประเทศต้องร่วมกันแก้ไข ที่ผ่านมาการนำพืชอาหารมาใช้เป็นพลังงานทดแทน.
ผลสรุปการแบ่งกลุ่มย่อยประชุมวิชาการเชิงปฏิบัติการ
Strategy Plan  ออม  การลงทุน  แก้ความจน ช่วยสังคม  เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย กำไร ความเข้มแข็ง ความ มั่นคง ทางการเงิน อย่างสมดุล / ยั่งยืนต่อเนื่อง ความเข้มแข็ง.
มาตรการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55
หลักการสำคัญของเกษตรอินทรีย์
โครงการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ศักยภาพ ผัก ผลไม้ เศรษฐกิจภาคใต้ ปัญหาและอุปสรรคของการผลิต การจำหน่ายทั้งในและส่งออกต่างประเทศ ในมุมมองของภาครัฐ.
เกษตรอินทรีย์ (Organic)
ด้านสัญญาณ เตือน คำอธิบาย ด้านการผลิต ภาคการเกษตร สาขา การเกษตร ขยายตัว พิจารณาจากมูลค่า ผลผลิตรวมด้านการเกษตรเพิ่มขึ้น จากปีก่อนร้อยละ สาขาปศุ
ความหมายของสิทธิบัตร
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาลำไยหริภุญชัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
น.ส.ผาณิตดา แสนไชย รหัสนักศึกษา
น.ส.ผาณิตดา แสนไชย รหัสนักศึกษา
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนปรับปรุงมะม่วงคุณภาพดีเพื่อการส่งออกมงคลธรรมนิมิต
สำนักงานเกษตรจังหวัดอ่างทอง
โครงการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยและ ได้มาตรฐาน ปีงบประมาณ 2553
ยุทธศาสตร์กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปีงบประมาณ พ. ศ
หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3
- อาจารย์ - บุคลากร - นักศึกษา ทุนอุดหนุนการวิจัยประเภท งานวิจัยตามพันธกิจ และอัตลักษณ์ของ มหาวิทยาลัย.
การติดตาม และการควบคุม (Monitoring and Control)
การพัฒนาระบบการผลิตไก่พื้นเมืองฯ เพื่อสร้างโอกาส
การสัมมนากลุ่มย่อย เรื่อง แนวทางและวิธีการลดต้นทุนการผลิตทางการเกษตร แนวทางการปฏิบัติงานโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ ภายใต้การสร้างต้นแบบการทำงานร่วมกัน.
นโยบายพลังงาน - ปตท. และ ก๊าซ CBG 4. ประเทศไทยมีการพึ่งพาการนำเข้าด้านพลังงานอยู่ใน ระดับสูงและมีจุดอ่อนหลายประการ.
ยุทธศาสตร์จังหวัดชัยนาท
นโยบาย ให้ความสำคัญกับเรื่องการเพิ่มมูลค่าผลผลิต ทั้ง แปรรูปเป็นอาหาร และเป็นผลิตภัณฑ์ ตลอดจนการส่งเสริมการบริโภค และขยายการตลาด เน้นการขับเคลื่อนกิจกรรมที่
รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน
เรื่อง ปรากฏการณ์โลกร้อน จัดทำโดย นายยศพล ปรางค์ภูผา ช่างยนต์ กลุ่ม 3 เลขที่ 17 เสนอ อาจาน สมคิด มีมะ จำ.
RDF/ MSW Industry for Thailand
บทที่ 8 การใช้ประโยชน์จากผลพลอยได้และเศษเหลือทิ้ง
สรุปผลการจัดตั้งตลาดเกษตรกร ของสหกรณ์การเกษตรสบปราบ จำกัด จังหวัดลำปาง
นายพนาสิน หอมจิตต์ ชั้น ปวช 1 เลขที่ 11 กลุ่ม 1 แผนกคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
นโยบายพลังงาน-ปตท. และ ก๊าซCBG(2)
บทบาทของข้อมูลการตลาด
การวิจัย และองค์ความรู้จากโครงการหลวง
ความร่วมมือไทย-ลาว ในเรื่อง Contract Farming (CF)
การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ Project Feasibility
ไบโอดีเซล.
ผลการดำเนินงานวิจัยกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดตรัง
ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันที่นำไปใช้เป็นวัตถุดิบ หรือส่วนประกอบในการผลิตในโรงอุตสาหกรรมน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน(ฉบับที่
เกษตรอินทรีย์ชีวภาพบ้านตะโกสิงห์หมู่ 9 ตำบลอีสานเขต
ด. ช. อติชาต ปันเต ม.1/12 เลขที่ 4 ด. ช. ณปภัช เรือนมูล ม.1/12 เลขที่ 5.
การเลือกสถานที่ตั้งโรงงาน
ความเชื่อมั่น ความดูดีในอีก ระดับ ความเป็นผู้นำ ความแตกต่างที่ เป็นจุดเด่น การบ่งบอกถึง คุณภาพ.
เศรษฐกิจพอเพียง นางสาวสุนิสา จันทร์ตะบูน ชั้น ปวช 1 เลขที่ 20 กลุ่ม 2
ใบสำเนางานนำเสนอ:

"น่าสนใจ มั้ยล่ะ! มารู้จักกันเลยดีกว่า" ไบโอดีเซล          ปัจจุบันความต้องการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงมีมากขึ้น และราคาน้ำมันเชื้อเพลิงได้ปรับตัวสูงขึ้นในขณะที่น้ำมันมะพร้าวและน้ำมันปาล์มซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ ที่ได้จากพืชมีราคาตกต่ำในช่วงที่มีผลผลิตเกินความต้องการของตลาด จึงมีผู้นำน้ำมันมะพร้าวดิบและน้ำมันปาล์มดิบมาผสมกับน้ำมันก๊าดและน้ำมันดีเซลในสัดส่วน ต่าง ๆ กัน แล้วนำออกจำหน่ายเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงใช้กับรถยนต์และใช้ชื่อ ว่า “ไบโอดีเซล” "น่าสนใจ มั้ยล่ะ! มารู้จักกันเลยดีกว่า"

         คำว่า “น้ำมันไบโอดีเซล” ในทางวิชาการ หมายถึง น้ำมันที่ผลิตได้จากการนำน้ำมันพืชชนิดต่าง ๆ หรือน้ำมันที่ใช้ ปรุงอาหาร แล้วมาแปรสภาพ โดยผ่านขบวนการเคมีกับแอล กอฮอล์ ได้เป็นน้ำมันชนิดใหม่อยู่ในรูปของเมทิลเอสเตอร์หรือเอทิลเอสเตอร์ ซึ่งสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยทั้งสองด้านคือ คุณลักษณะของน้ำมัน พืชที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงและเทคโนโลยีของเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมัน ส่วนกรณีที่มีผู้นำน้ำมันพืช เช่น น้ำมันปาล์มดิบ และน้ำมันมะพร้าวดิบมาผสมกับน้ำมันดีเซลตามอัตราส่วนต่าง ๆ ยังไม่ ถือว่าเป็นน้ำมันไบโอดีเซล และการนำไปใช้กับเครื่องยนต์ ทั่วไปก็ยังไม่มีผลการศึกษาที่ชัดเจน

สืบเนื่องมาจากนโยบายรัฐบาลที่ส่งเสริมให้มีการนำพลังงานทดแทนที่ผลิตได้จากพืชผลทางเกษตรมาใช้แทนน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตจากฟอสซิล เพื่อลดการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศ และเพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ดังนั้น เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค และสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ใช้น้ำมัน กรมธุรกิจพลังงานจึงได้เริ่มให้การสนับสนุนการนำน้ำมันพืชมาใช้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงทดแทนน้ำมันปิโตรเลียมอย่างเต็มที่ เพราะเป็นการลดการนำเข้าน้ำมันปิโตรเลียม ขณะเดียวกันก็ช่วยสนับสนุนเกษตรกรผู้ ปลูกพืชน้ำมันด้วยอีกทางหนึ่ง แต่การสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการใช้น้ำมันพืชอย่างยั่งยืน สำหรับใช้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงทดแทนน้ำมันปิโตรเลียมต้องมีการทดสอบการใช้งานกับเครื่องยนต์ในระยะยาว เพื่อยืนยันว่าคุณภาพ ของน้ำมันมีความเหมาะสมกับความต้องการของเครื่องยนต์จริงและเพื่อสร้างความมั่นใจกับผู้บริโภคที่จะใช้น้ำมันดังกล่าวแล้วไม่เกิดผลเสียหายต่อเครื่องยนต์

กรมฯ จึงร่วมกับการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย(ปตท กรมฯ จึงร่วมกับการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย(ปตท.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เริ่มศึกษาทดลองการใช้งานของน้ำมันดังกล่าวในสัดส่วนต่าง ๆ เพื่อดูผลกระทบที่มีต่อเครื่อง ยนต์ระยะยาว โดยขณะนี้ ปตท.ได้ทดลองผลิตและจำหน่ายน้ำมันดีเซลผสมน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ในสัดส่วนไม่เกิน 10% โดยปริมาตร โดยที่มีคุณภาพเป็นไปตามข้อกำหนดคุณภาพ ของน้ำมันดีเซลที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน และขณะนี้กรมธุรกิจพลังงานได้กำหนดมาตรฐานคุณ ภาพของน้ำมันไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรด ไขมัน โดยได้มีการประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ ผู้ผลิตไบโอดีเซล ผู้ค้าน้ำมัน ผู้ประกอบอุตสาหกรรมรถยนต์ กรมควบคุมมลพิษ เพื่อให้น้ำมันไบโอดีเซลที่ผลิตได้มีมาตรฐานเดียวกัน และเป็นที่ยอมรับ ซึ่งเมื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการ ผลิตน้ำมันดีเซลบี5 (น้ำมันดีเซลผสมไบโอดีเซล 5%) จะได้น้ำมันที่มีคุณภาพเหมาะสมกับการใช้งานของเครื่องยนต์

การส่งเสริมการใช้ไบโอดีเซลในเชิงพาณิชย์ใน ระยะแรกจะส่งเสริมให้มีการใช้ที่อัตราส่วนไม่เกิน 5 % โดยน้ำมันดีเซลบี5 จะยังคงมีคุณภาพเช่นเดียวกับน้ำมันดีเซลที่จำหน่ายทั่วไป ซึ่งบริษัทรถยนต์ให้การยอมรับว่าสามารถใช้งานกับรถยนต์ได้โดยไม่ต้องดัดแปลงเครื่อง ยนต์ สำหรับการใช้ในอัตราส่วนที่สูงกว่านี้จะมีผลให้คุณ ภาพของน้ำมันแตกต่างไป จากน้ำมันดีเซลทั่วไป นอกจากนี้ กระทรวงพลังงานมีนโยบายที่จะส่งเสริม ให้มีการใช้น้ำมันดีเซลผสมไบโอดีเซลที่อัตราส่วน 10 % (น้ำมันดีเซลบี10) ในปี 2555 อยู่แล้ว โดยในระหว่างนี้ได้มอบหมาย ให้เจ้าหน้าที่ไปศึกษาผลการใช้ไบโอดีเซลที่มีอัตราส่วนตั้งแต่ 10% ขึ้นไปในเครื่องยนต์ดีเซลหมุนเร็ว เพื่อนำข้อมูลมาใช้กำหนดมาตรฐานคุณภาพของน้ำมัน ดีเซลผสมไบโอดีเซลที่เหมาะสมกับเครื่องยนต์ต่อไป

การพึ่งพาตนเองด้านพลังงานที่ยั่งยืน ไบโอดีเซลชุมชน การพึ่งพาตนเองด้านพลังงานที่ยั่งยืน ไบโอดีเซลเป็นหนึ่งในพลังงานทดแทนซึ่งนอก จากจะผลิตได้จากพืชน้ำมัน เช่น ปาล์มน้ำมัน สบู่ดำ ยังใช้น้ำมันประกอบอาหารที่ใช้แล้ว ซึ่งหาได้ในชุม ชน ภาครัฐจึงส่งเสริมให้มีไบโอดีเซลในระดับชุมชน โดยตั้งเป้าหมายให้เกิดชุมชนไบโอฯทั่วประเทศภาย ในปี 2551 โดยจะส่งเสริมชุมชนที่มีศักยภาพทั้งใน ด้านวัตถุดิบ บุคลากร รวมทั้งความพร้อมอื่นๆ เพื่อจัด ตั้งเป็นชุมชนต้นแบบ สนับสนุนการผลิตไบโอดีเซล ขนาด 100-150 ลิตรต่อวัน อบรมความรู้ทั้งด้าน ทฤษฎีและเทคนิคให้กับชุมชน เพื่อรับทราบและ เข้าใจขั้นตอนการผลิตรวมทั้งติดตาม และสนับสนุน การดำเนินงานเพื่อการผลิตที่มีคุณภาพ ไบโอดีเซล บรรจุขวด ต้นปาล์มที่ใช้ในไบโอดีเซล

การพัฒนาและส่งเสริมการผลิต ไบโอดีเซลชุมชน จะช่วยให้แต่ละชุมชน สามารถผลิตไบโอดีเซลขึ้นใช้เอง เพื่อ ทดแทนการใช้น้ำมันดีเซลในระดับหนึ่ง ทั้งนี้ มุ่งเน้นให้ชุมชนดำเนินการเองได้ อย่างยั่งยืน รู้จักนำของเสียที่เป็นน้ำมัน พืชใช้แล้ว หรือไขมันสัตว์มาผลิตเป็น พลังงานทดแทนที่สามารถนำไปใช้ได้จริง สามารถลดค่าใช้จ่ายให้ แก่ชุมชนเอง ส่งเสริมให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองด้านพลังงาน สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน รวมทั้งเพื่อเป็นชุมชนต้นแบบให้กับ ชุมชนข้างเคียงต่อไป นอกจากนี้ยังช่วยประเทศลดการนำเข้าน้ำมัน ที่มีราคาแพง ส่งเสริมให้เกษตรกรมีรายได้ที่มั่นคงและถือเป็นการ ใช้ผลผลิตทางเกษตรได้อย่างคุ้มค่าอีกด้วย ชุมชนตัวอย่างที่ได้ ดำเนินการไปแล้ว ได้แก่ ชุมชนหนองแก๋ว จ.เชียงใหม่ ชุมชน แผ่นดินทองคอยรุตตั๊กวา หนองจอก กทม. เป็นต้น

พระอัจฉริยะภาพ พ่อหลวงไทย สู่ต้นแบบการผลิตไบโอดีเซล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาเชื้อเพลิงจากวัสดุเกษตรมาเป็นระยะเวลาระยะเวลา ร่วม 20 ปี ก่อนจะมีผู้ใดเชื่อว่าน้ำมันที่ได้จากพืช หรือไขมันสัตว์จะสามารถนำมาผลิตเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ได้ แต่ ด้วยพระอัจฉริยะภาพที่ทรงให้มีการทดลองเรื่อยมา จนทำให้ประเทศสามารถผลิตน้ำมันไบโอดีเซล ที่มีคุณสมบัติเช่นเดียว กับน้ำมันดีเซล เพื่อใช้ในรถยนต์เพื่อทดแทนการใช้น้ำมันที่ต้อง นำเข้าจากต่างประเทศ

ตั้งแต่ปี 2528 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมี พระราชดำริให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สร้างโรงงาน สกัดน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ขนาดเล็กที่สหกรณ์นิคม อ่าวลึก จ.กระบี่ พร้อมทั้งให้ดำเนินการทดลองนำน้ำมันปาล์มมา ทดลองใช้กับรถยนต์เครื่องยนต์ดีเซล ของกองงานส่วนพระ องค์ โดยผลการทดลองพบว่า ไม่มีผลกระทบใดๆต่อเครื่อง ยนต์ รวมทั้งการใช้น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ทำให้เพิ่มกำลังให้กับ เครื่องยนต์ ลดมลพิษในไอเสียของเครื่องยนต์ เพิ่มการหล่อ ลื่น ทำให้เครื่องยนต์ยืดอายุการใช้งานอีกด้วย และเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2548 พระองค์ยังได้ทรงพระราชทานพระบรม ราโชวาท เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา โดยมีพระราชดำริ ถึงการให้ภาครัฐเร่งส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน เพราะ เป็นพลังงานที่หาได้ในไทยและยังช่วยสร้างรายได้แก่ เกษตรกรอีกด้วย

รู้จักขั้นตอนผลิตไบโอดีเซลเชิงพาณิชย์ การผลิตไบโอดีเซลในเชิงพาณิชย์เป็นโรงงานผลิต ขนาดใหญ่ที่มีกำลังการผลิตระหว่าง 50,000 – 300,000 ลิตรต่อวัน มีขั้นตอนการผลิตที่ครบถ้วน ให้ผลผลิตเป็นไบโอ ดีเซล B100 ที่ได้คุณภาพและมาตรฐานตามที่กำหนด ก่อน นำไปผสมกับน้ำมันดีเซลจำหน่ายตามปั๊มน้ำมันเป็น B5 ต่อไป ชนิดของกระบวนการผลิตของโรงงานขนาดใหญ่ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ การผลิตแบบครั้งต่อครั้ง(Batch process) การผลิตแบบต่อเนื่อง (Continuous process)

การผลิตแบบครั้งต่อครั้ง (Batch process) การผลิตแบบครั้งต่อครั้ง ดูได้จากขั้นตอนการทำปฏิกิริยาเคมีว่า มีการเตรียมวัตถุดิบทั้งหมดให้พร้อมก่อน แล้วจึงทำการกวนให้เข้ากันภายใต้สภาวะอุณหภูมิที่เหมาะ สม เมื่อครบกำหนดเวลาแล้ว จึงย้ายส่วนผสมที่ได้ทั้งหมด เข้าสู่ขั้นตอนการแยกกลีเซอรีนออกจากไบโอดีเซลต่อไป การทำปฏิกิริยาเป็นครั้งๆนี้ เป็นการขยายขนาดการผลิตมา จากห้องปฏิบัติการ การออกแบบเครื่องขนาดใหญ่กระทำ ได้ไม่ยากนัก และราคาระบบไม่แพงมาก

การผลิตแบบต่อเนื่อง (Continuous process) สำหรับการผลิตแบบนี้ วัตถุดิบจะถูกส่งเข้าสู่ขั้นตอน การผลิตพร้อมๆกันอย่างต่อเนื่องในสัดส่วนที่เหมาะสม ขั้นตอนการผลิต ได้แก่ การทำปฏิกิริยาเคมี การไล่ความชื้นออก จากไบโอดีเซล การล้างไบโอดีเซล ด้วยน้ำ การแยกกลีเซอรีน

รู้จักขั้นตอนผลิตไบโอดีเซลเชิงพาณิชย์ ขั้นตอนการทำปฏิกิริยาเคมี  เมทานอล (Methanol) หรือ เอทานอล (Ethanol) น้ำมันพืช  เมทิลเอสตอร์ (Methyl esters) หรือ เอทิลเอสเตอร์ (Ethyl esters) กลีเซอรีน

ขั้นตอนการผลิตที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ผลผลิตที่ได้จะ ออกมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยสามารถทำงานได้ 24 ชั่วโมง โดยไม่หยุด ปกติวิธีการควบคุมระบบการผลิตแบบนี้จะ ใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมทุกขั้นตอน และมีราคาค่าก่อสร้าง โรงงานค่อนข้างแพง ใช้คนคุมเครื่องเป็นจำนวนน้อย อย่างไรก็ดี ชนิดของการผลิตทั้งสองมีคุณภาพใกล้ เคียงกัน การตัดสินใจของผู้ที่จะลงทุนจะต้องคำนึงถึงผล ดีและผลเสียของแต่ละชนิดก่อน เช่น หากงบประมาณมี จำนวนจำกัด ก็ควรที่จะเลือกระบบแบบการผลิตครั้งต่อครั้ง แต่ต้องใช้คนทำงานมาก แต่ถ้ามีงบประมาณมาก ก็สามารถ เลือกระบบผลิตแบบต่อเนื่องเพราะสามารถเดินเครื่องได้ ตลอดเวลาและใช้คนจำนวนน้อย

ไบโอดีเซลพลังงานสะอาด ไม่มีผลต่อเครื่องยนต์และสิ่งแวดล้อม ไบโอดีเซลเป็นเชื้อเพลิงเหลวที่ได้จากน้ำมันพืชหรือ ไขมันสัตว์และน้ำมันพืชที่ใช้แล้ว โดยมีคุณสมบัติเทียบเคียง ได้กับน้ำมันดีเซล แต่ให้การเผาไหม้ที่สมบูรณ์กว่า เพราะ ออกซิเจนในไบโอดีเซล ให้การสันดาปที่สมบูรณ์กว่าน้ำมัน ดีเซลปกติ จึงเกิดคาร์บอนมอนอกไซด์น้อยกว่า โดยไบโอดีเซล ไม่มีส่วนประกอบของสารซัลเฟอร์ได ออกไซด์ (sSO2) ทำให้ไอเสียที่ออกมาจากเครื่องยนต์ปราศ จากมลพิษ จึงช่วยลดโอกาสที่จะทำให้เกิดฝนกรดโดยเฉพาะ เมื่อเทียบกับการใช้น้ำมันดีเซล รวมทั้งการใช้ไบโอดีเซล ยัง ก่อให้เกิดเขม่าคาร์บอนน้อย ช่วยหล่อลื่นเครื่องยนต์ ทำให้ อายุการทำงานของเครื่องยนต์ได้ดี