การตราข้อบัญญัติ (อบต.) 1. กรณีสภารับหลักการ ม.87 สภาพิจารณาเห็นชอบภายใน 60 วัน ส่งนายอำเภอเพื่อขออนุมัติ สภาพิจารณาไม่แล้วเสร็จภายใน 60 วัน ถือว่าสภา เห็นชอบ
การพิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณให้พิจารณา 3 วาระ จะพิจารณา 3 วาระรวดเดียวไม่ได้ การพิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณ วาระที่ 1 ในการพิจารณาญัตติร่างข้อบัญญัติวาระที่ 1 ให้ที่ประชุมสภา ปรึกษาในหลักการแห่งร่างข้อบัญญัติและลงมติว่าจะรับหลักการแห่งร่างข้อบัญญัตินั้นหรือไม่ หากมีสมาชิกสภาประสงค์จะอภิปราย ห้ามไม่ให้ลงมติก่อนที่สมาชิกสภา ได้อภิปรายในเรื่องนั้นพอสมควร
การพิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณ วาระที่ 2 1. ที่ประชุมสภาจะต้องกำหนดระยะเวลาเสนอคำแปรญัตติต่อคณะกรรมการแปรญัตติ โดยต้องกำหนดระยะเวลาไว้ไม่น้อยกว่า 24 ชม.นับแต่สภามีมติรับหลักการ 2. ผู้ใดเห็นควรจะแก้ไขเพิ่มเติมร่างข้อบัญญัติก็ให้เสนอคำแปรญัตติล่วงหน้าเป็นหนังสือ โดยให้แปรญัตติเป็นรายข้อ และเสนอต่อประธานคณะกรรมการแปรญัตติ
การพิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณ วาระที่ 2 (ต่อ) 3. เมื่อคณะกรรมการแปรญัตติได้พิจารณาแล้ว จะต้องเสนอร่างข้อบัญญัตินั้นตามร่างเดิม และตามที่มีการแก้ไขใหม่ พร้อมทั้งรายงาน และบันทึกความเห็นยื่นต่อ ประธานสภา รายงานนั้นอย่างน้อยจะต้องระบุว่า ได้มีหรือไม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมในตอนหรือข้อใดบ้าง การแปรญัตติและมติของคณะกรรมการแปรญัตติเป็นประการใด การสงวนความเห็นของกรรมการแปรญัตติ ตลอดจนการสงวนคำแปรญัตติด้วย และให้ประธานสภา ส่งรายงานนั้นแก่สมาชิกสภาท้องถิ่น ไม่น้อยกว่า24 ชม. ก่อนวันประชุมพิจารณา
การพิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณ วาระที่ 2 (ต่อ) 4. ให้คณะกรรมการแปรญัตติไปร่วมประชุมสภาด้วย เพื่อแถลงประกอบรายงาน หรือชี้แจงข้อสงสัยต่างๆ เกี่ยวกับรายงานนั้น 5. ในการพิจารณาร่างข้อบัญญัติวาระที่สอง ให้ปรึกษาเรียงตามลำดับข้อ เฉพาะที่มีการแปรญัตติหรือที่คณะกรรมการแปรญัตติแก้ไขเท่านั้น เว้นแต่ที่ประชุมสภาจะได้ลงมติเป็นอย่างอื่น
การพิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณ วาระที่ 2 (ต่อ) 6. การแปรญัตติร่างข้อบัญญัติงบประมาณ จะกระทำได้เฉพาะการขอลดรายจ่าย หรือการขอลดจำนวนเงินที่ขออนุญาตจ่าย 7. ห้ามไม่ให้แปรญัตติรายจ่ายขึ้นใหม่ หรือเพิ่มเติมรายจ่าย หรือเปลี่ยนแปลงความประสงค์ของจำนวนเงินที่ขออนุมัติจ่าย เว้นแต่จะได้รับคำรับรองจากผู้บริหารท้องถิ่น หรือคำแปรญัตตินั้นผู้บริหารท้องถิ่นเป็นผู้แปรญัตติ 8. ห้ามไม่ให้แปรญัตติในรายการและจำนวนเงินซึ่งมีข้อผูกพัน เช่น ดอกเบี้ยและเงินส่งใช้ต้นเงินกู้ หรือรายจ่ายซึ่งเป็นจำนวนเงินที่ต้องจ่ายตามกฎหมาย
การพิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณ วาระที่ 3 การพิจารณาร่างข้อบัญญัติในวาระที่ 3 ไม่มีการอภิปราย เว้นแต่ที่ประชุมสภา จะได้ลงมติให้มีการอภิปราย ถ้ามีเหตุอันสมควร ในการพิจารณาวาระนี้ ให้ที่ประชุมสภาท้องถิ่นลงมติว่าจะให้ตราเป็นข้อบัญญัติหรือไม่
นายอำเภอพิจารณาอนุมัติภายใน 15 วัน (1) นายอำเภออนุมัติ ส่งนายก อบต. ลงนาม ประกาศใช้โดยเปิดเผย (2) กรณีนายอำเภอไม่อนุมัติ - นายอำเภอพิจารณาไม่แล้วเสร็จหรือไม่ส่งคืนสภา ภายใน 15 วัน ถือว่านายอำเภออนุมัติร่างข้อบัญญัติ - กรณีนายอำเภอไม่เห็นด้วย ส่งคืนสภา พร้อมเหตุผล นายอำเภอพิจารณาอนุมัติภายใน 15 วัน
สภาพิจารณาใหม่ สภามีมติยืนยันตามร่างเดิม นายอำเภอ ส่งให้ ผวจ. ภายใน 15 วัน ผวจ. พิจารณาภายใน 15 วัน - ผวจ. พิจารณาไม่เสร็จภายใน 15 วัน ถือว่า ผวจ. เห็นชอบกับร่างข้อบัญญัตินั้น - ผวจ. เห็นชอบ ส่งนายอำเภอลงนามอนุมัติ - ผวจ. ไม่เห็นชอบ ร่างข้อบัญญัติตกไป
2. กรณีสภาไม่รับหลักการ ม. 87/1 และ ม. 87/2 - นายอำเภอ ตั้งคณะกรรมการ 7 คน พิจารณา ข้อบัญญัติภายใน 15 วัน รายงานนายอำเภอ - นายอำเภอ ส่งผลการพิจารณาของคณะกรรมการให้นายก อบต. โดยเร็ว นายก อบต. เสนอต่อสภาภายใน 7 วัน นายก อบต. ไม่เสนอ นายอำเภอรายงาน ต่อ ผวจ. นายก อบต. พ้นจากตำแหน่ง
สภาพิจารณาร่างข้อบัญญัติภายใน 30 วัน สภาไม่พิจารณา หรือมีมติไม่เห็นชอบ สภาไม่พิจารณา หรือมีมติไม่เห็นชอบ ร่างข้อบัญญัติ ตกไป เสนอ ผวจ. ยุบให้สภา นายอำเภอ
สวัสดี นายสมชาย เกตะมะ โทร. 08-1884-9569