บูรณาการประเทศไทย ก้าวพ้นภัยพิบัติ ดร.ธงชัย โรจนกนันท์ สำนักงานผู้ประสานงานด้านสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง กระทรวงมหาดไทย 21 ธันวาคม 2554
ประเด็นหลัก ๐ ผังเมืองจะมีส่วนช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมได้หรือไม่ และประเด็นของการใช้พื้นที่โดยไม่ได้วางแผนดีพอ เช่นการขยายตัวของเมือง การใช้พื้นที่เกษตรเป็นอุตสาหกรรม ทำให้ภาวะน้ำท่วมที่ผ่านมารุนแรงมากน้อยแค่ไหน อย่างไร ๐ ผลของวิกฤติอุทกภัยครั้งนี้ ทำให้พื้นที่ต่างๆ เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง ๐ แผนการจัดทำผังเมืองใหม่เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วม สำหรับย่านที่อยู่ พื้นที่อุตสาหกรรม พื้นที่รับน้ำ พื้นที่เกษตร และการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน ควรเป็นเช่นไรบ้าง
กรุงเทพและปริมณฑลเป็นที่ลุ่มต่ำ...ใครบ้างไม่รู้? แหล่งข้อมูล : คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
น้ำท่วมใหญ่ปี 2554 เป็นบทเรียนไม่ใช่ประสบการณ์
ผังเมืองมีส่วนช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมได้ ด้วยการกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินและการขยายตัวของเมืองที่เหมาะสม
ราวปี 2527-2531 กรมการผังเมืองได้แสดงความเห็นค้านการพัฒนาอุตสาหกรรมบนพื้นที่ลุ่มเกษตรกรรมเดิม (อยุธยา)
ผังเมืองรวมกทม. ปี 2535 ปรากฏ Floodway ชัดเจน
แต่ผังเมืองปริมณฑลเอาบ้านจัดสรร ไม่เอา Floodway
ปัจจุบันมีบ้านจัดสรรมากกว่า 90 โครงการบน Floodway
มาตรการผังเมือง-อนุรักษ์พื้นที่น้ำท่วมหลาก (Floodway) โครงการตามแนวพระราชดำริ ผังเมืองรวมเมืองชุมพร 2543
ผังควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดิน และแนวน้ำท่วมหลาก ลุ่มน้ำเพชรบุรี 2548 ผังควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดิน และแนวน้ำท่วมหลาก ลุ่มน้ำเพชรบุรี 2548
มาตรการผังเมืองป้องกันน้ำท่วมถูกเสนอแนะกรณีหาดใหญ่ ศึกษาวิเคราะห์เสร็จ 2545 ระบุแนวน้ำท่วมหลากและแก้มลิง
ผลของวิกฤติอุทกภัยครั้งนี้ บางพื้นที่เกิดการเปลี่ยนแปลง บางแห่งเสี่ยงภัยน้ำท่วมมากขึ้น เพราะต่างแข่งกันถมที่ดินสูงขึ้น สร้างกำแพงคอนกรีตสูงมากขึ้น ต่างเอาตัวรอด
ต้องทบทวนแนวความคิดการป้องกันน้ำท่วม ต้องทบทวนแนวความคิดการป้องกันน้ำท่วม..เลิกถมคลองสร้างเขื่อน ทำลายภูมิทัศน์ คลองแคบลง ทำลายระบบนิเวศ เปลี่ยนสังคมชนบท
ต่อจากนี้..ชุมชนริมน้ำตอนบนจะแข่งกันสร้างกำแพงคอนกรีต
ไม่เอา Floodway เสนอ Flood Tunnel ยาว 100 กิโลเมตร จากบางปะอินถึงสมุทรปราการ 200000 ล้านบาท
แผนการจัดทำผังเมืองใหม่เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วม สำหรับย่านที่อยู่ พื้นที่อุตสาหกรรม พื้นที่รับน้ำ พื้นที่เกษตร และการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน ควรเป็นเช่นไรบ้าง
เร่งแก้ปัญหาสำคัญ-ท้องถิ่นไม่เข้มงวดกฎหมายผังเมือง และกฎหมายควบคุมการก่อสร้างอาคาร
เตรียมแผนรับภัยพิบัติระดับชาติ ภาค เมือง และชุมชน Source;www/hydro.iis.u-tokyo.ac.jp/.../map/drainage.gif
ต้องมีแผนรองรับระดับลุ่มน้ำ รักษาแก้มลิงและ Floodway Source; Royal Irrigation Department
กรุงเทพมหานครและปริมณฑลเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหว ตามประกาศกฎกระทรวง ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน 2550
เปลือกโลกบริเวณกรุงเทพมหานครกำลังทรุดตัวลง
อนาคตภัยธรรมชาติจะรุนแรงขึ้น สภาพภูมิอากาศจะแปรปรวนเกินกว่าคาดการณ์
จบการนำเสนอ