กลุ่มที่ 4 กลุ่มจังหวัดที่ 8.1 สุราษฎร์ธานี ชุมพร ระนอง กลุ่มจังหวัดที่ 8.2 นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง กลุ่มจังหวัดที่ 8.3 กระบี่ พังงา ภูเก็ต กลุ่มจังหวัดที่ 9.1 ปัตตานี ยะลา นราธิวาส กลุ่มจังหวัดที่ 9.2 สงขลา สตูล
การบริหารงานแบบกลุ่มจังหวัด เห็นด้วยกับการบริหารงานแบบกลุ่มจังหวัด เป็นการเอื้อประโยชน์ในการทำงานเชิงยุทธศาสตร์ร่วมกัน แต่จากการทำงานที่ผ่านมามีการแข่งขันกันเองภายในกลุ่ม และการบริหารจัดการภายในกลุ่มจังหวัด การจัดกลุ่มจังหวัดทำให้เกิดการประสานการทำงานร่วมกันเป็นอย่างดี มีข้อสังเกตว่าควรจัดกลุ่มจังหวัดให้เหมาะสมและทำอย่างไรให้กลุ่มจังหวัดมีความยั่งยืนและเข้มแข็ง
แนวทางการจัดกลุ่มจังหวัด ข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็น ในการพิจารณาการจัดกลุ่มจังหวัดนั้น ควรพิจารณาใน 3 ประเด็นหลักควบคู่กันไป ทั้งในมิติพื้นที่ มิติความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ และมิติในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน ควรเพิ่มแนวทางการจัดกลุ่มจังหวัดเป็นประเด็นที่ 4 โดยคำนึงถึงความเชื่อมโยงในประเด็นยุทธศาสตร์ของกลุ่มจังหวัด ( เช่น ยุทธศาสตร์ข้าวและผลไม้) โดยพิจารณาให้สอดคล้องกับการวางแผนระยะสั้น ระยะยาวของประเด็นยุทธศาสตร์ ข้อสังเกต ควรมองยุทธศาสตร์และอนาคตในการพัฒนาพื้นที่ ควรพิจารณาเรื่องขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ควรมีการสร้างความร่วมมือระหว่างกลุ่มจังหวัด ควรให้สำนักงานบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดทำหน้าที่ในการเชื่อมโยงการทำงานระหว่างกลุ่มจังหวัดที่มียุทธศาสตร์เดียวกันหรือเกื้อหนุนกันเพื่อร่วมมือกันในการทำงาน ให้ความสำคัญกับแนวความคิดในการจัดกลุ่มจังหวัดทั้ง 4 ประการ ทั้งนี้ควรนำแนวความคิดดังกล่าวไปจัดโครงสร้าง บทบาทภารกิจของสำนักงานบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด
แนวทางการจัดกลุ่มจังหวัด (ต่อ) ข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็น Model ที่ 1 การจัดกลุ่มจังหวัดภาคใต้ ควรแบ่งเป็น 3 กลุ่มจังหวัด ดังนี้ 1. กลุ่มอ่าวไทยตอนบน : ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง (ข้อสังเกต มีขนาดพื้นที่ใหญ่) 2. กลุ่มอ่าวไทยตอนล่าง : สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส 3. กลุ่มอันดามัน : ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล (ข้อสังเกต - จากระนองไปสตูลมีระยะทางที่ห่างกันมาก - อาศัยความเข้มแข็งของจังหวัดภูเก็ตและกระบี่ ) ข้อสังเกตในภาพรวม model ที่ 1 ขนาดกลุ่มจังหวัดจะมีขนาดใหญ่ การบริหารจัดการค่อนข้างยาก
แนวทางการจัดกลุ่มจังหวัด (ต่อ) ข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็น Model ที่ 2 การจัดกลุ่มจังหวัดภาคใต้ ควรแบ่งเป็น 4 กลุ่มจังหวัด ดังนี้ กลุ่มอ่าวไทยตอนบน : ชุมพร (10 อำเภอ) สุราษฎร์ธานี (19 อำเภอ) กลุ่มอ่าวไทยตอนกลาง : นครศรีธรรมราช (23 อำเภอ) พัทลุง (11 อำเภอ) กลุ่มชายแดน (เน้นความมั่นคงเป็นหลัก) : สงขลา (16 อำเภอ) ปัตตานี (12 อำเภอ) ยะลา (8 อำเภอ) นราธิวาส (13 อำเภอ) สตูล (7 อำเภอ) กลุ่มอันดามัน : ระนอง 5 พังงา 8 ภูเก็ต 3 กระบี่ 8 ตรัง 10 ข้อสังเกตในภาพรวม Model ที่ 2 กลุ่มอ่าวไทยตอนบนและตอนกลาง จะมีขนาดพื้นที่เล็กทำให้การประสานงานระหว่างจังหวัดคล่องตัวมากขึ้น
แนวทางการจัดกลุ่มจังหวัด (ต่อ) ข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็น Model ที่ 3 การจัดกลุ่มจังหวัดภาคใต้ ควรแบ่งเป็น 4 กลุ่มจังหวัด ดังนี้ กลุ่มภาคใต้ตอนบน : ชุมพร (10 อำเภอ) สุราษฎร์ธานี (19 อำเภอ) นครศรีธรรมราช (23 อำเภอ) กลุ่มภาคใต้ตอนกลาง : พัทลุง (11 อำเภอ) ตรัง (10 อำเภอ) สตูล (7 อำเภอ) กลุ่มชายแดน (เน้นความมั่นคงเป็นหลัก) : สงขลา (16 อำเภอ) ปัตตานี (12 อำเภอ) ยะลา (8 อำเภอ) นราธิวาส (13 อำเภอ) กลุ่มอันดามัน : ระนอง (5 อำเภอ) พังงา (8 อำเภอ) ภูเก็ต (3 อำเภอ)กระบี่ (8 อำเภอ) ข้อสังเกตในภาพรวม Model ที่ 3 พิจารณาภายใต้ประเด็นยุทธศาสตร์ร่วมกันแต่ละกลุ่มโดยพิจารณาจากผลิตผล ความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจเป็นหลัก รวมทั้งการทำงานเชื่อมโยงของภาคเอกชนร่วมกันแต่ละกลุ่มจังหวัด
การจัดระบบหรือกลไกการบริหารราชการ แบบกลุ่มจังหวัด การจัดระบบหรือกลไกการบริหารราชการ แบบกลุ่มจังหวัด
การบริหารเชิงยุทธศาสตร์ของกลุ่มจังหวัด ปัญหา จังหวัดเจ้าภาพต้องใช้ศักยภาพของตนเองในการบริหารจัดการยุทธศาสตร์ ทั้งการประมวล การดำเนินงานตามตัวชี้วัด การประสานจังหวัด การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของกลุ่มจังหวัดมีปัญหาสืบเนื่องมาจากการขาดแคลนงบประมาณของกลุ่มจังหวัดโดยเฉพาะ ขาดการมีส่วนร่วมของจังหวัดและทุกภาคส่วนในกลุ่มจังหวัด ไม่มีการกำหนดยุทธศาสตร์ที่เป็นของกลุ่มจังหวัดร่วมกัน และมีการแยกกันดำเนินแผนงานโครงการตามงบประมาณที่จังหวัดได้รับการสนับสนุน ข้อเสนอแนะ ต้องสร้างระบบและกลไกให้ทุกภาคส่วนและจังหวัดในกลุ่มได้มีส่วนร่วมในการกำหนดยุทธศาสตร์โดยมีระยะเวลาที่เพียงพอ ต้องมีการบูรณาการในการจัดทำยุทธศาสตร์ร่วมกัน แผนงานโครงการของกลุ่มจังหวัดควรมีลักษณะสอดคล้องกับยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดเป็น value chain
การบริหารงบประมาณ ปัญหา กลุ่มจังหวัดไม่มีงบประมาณเป็นของตนเอง ทำให้การบริหารงานไม่มีความคล่องตัว การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ของกลุ่มจังหวัดมีปัญหาสืบเนื่องมาจากการขาดแคลนงบประมาณของกลุ่มจังหวัดโดยเฉพาะ ข้อเสนอแนะ ควรมีการจัดสรรงบประมาณลงไปยังกลุ่มจังหวัดและจังหวัดอย่างเพียงพอ ควรจัดกลุ่มแผนงานโครงการที่มีความเร่งด่วนเพื่อเสนอสำนักงบประมาณ
การบริหารจัดการทรัพยากรร่วมกันภายใน กลุ่มจังหวัด การบริหารจัดการทรัพยากรร่วมกันภายใน กลุ่มจังหวัด ปัญหา ในขณะนี้ยังเป็นการบริหารจัดการของตนเอง จังหวัดไม่สามารถให้การสนับสนุนเจ้าหน้าที่ไปปฏิบัติงานของกลุ่มจังหวัด ข้อเสนอแนะ ผู้ว่าราชการจังหวัดมีบทบาทในการประสานการบริหารจัดการการใช้ทรัพยากรร่วมกันอยู่แล้ว
การประสานความร่วมมือระหว่างจังหวัด ปัญหา/ข้อเสนอแนะ ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนยังมีไม่มาก ข้อเสนอแนะ ควรมีเวทีและกลไกในการประสานความร่วมมือและเพิ่มระดับความร่วมมือที่ชัดเจน
การจัดหน่วยบริหารเชิงยุทธศาสตร์ (OSM) ในกลุ่มจังหวัด ปัญหา เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในสำนักงานบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดยังไม่มีความชำนาญ จึงรับผิดชอบงานเฉพาะบางเรื่องโดยรับประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นเสนอให้ ก.พ.ร. รับทราบ ขาดแคลนบุคลากรที่จะปฏิบัติงาน ความชัดเจนของบทบาทภาระหน้าที่ของ OSM ระบบความเชื่อมโยงของ OSM และจังหวัดในกลุ่มจังหวัดไม่มีความชัดเจน ข้อเสนอแนะ ควรมีเจ้าหน้าที่สำนักงาน ก.พ.ร. ไปปฏิบัติงานใน OSM ควรให้มีผู้ตรวจกระทรวงต่างๆ เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการและจัดโครงสร้างให้มีส่วนราชการอื่นๆ เข้ามามีส่วนร่วม เพื่อให้การสนับสนุนการดำเนินงานตามประเด็นยุทธศาสตร์ ต้องกำหนดบทบาทภาระหน้าที่ให้ชัดเจน เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของกลุ่มจังหวัดได้ ประธานคณะกรรมการบริหาร OSM ต้องให้ความสำคัญในการบริหารจัดการยุทธศาสตร์ของกลุ่มจังหวัด
การบริหารงานบุคคล ปัญหา/ข้อเสนอแนะ มีการโยกย้ายสับเปลี่ยนเจ้าหน้าที่ในพื้นที่บ่อยครั้งทำให้การทำงานไม่ต่อเนื่อง ศักยภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ข้อเสนอแนะ ควรกำหนดระยะเวลาในการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ควรพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ระบบสนับสนุนของหน่วยงานส่วนกลาง ปัญหา/ข้อเสนอแนะ ขาดการถ่ายทอดความรู้จากส่วนกลางที่ชัดเจน ข้อเสนอแนะ ควรมีการดำเนินการถ่ายทอดความรู้เป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
กฎหมายและระเบียบต่างๆ ปัญหา ไม่มีระเบียบรองรับการดำเนินงานของ OSM กลุ่มจังหวัด ข้อเสนอแนะ ควรมีระเบียบรองรับการดำเนินงานของ OSM พร้อมทั้งกำหนดอำนาจหน้าที่