งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การบริหารราชการ แบบกลุ่มจังหวัด

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การบริหารราชการ แบบกลุ่มจังหวัด"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การบริหารราชการ แบบกลุ่มจังหวัด
โดย นายมนุชญ์ วัฒนโกเมร

2 มติคณะรัฐมนตรีและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2546 ได้เห็นชอบกับ แนวทางการบริหารงานเชิงยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด ในรูปของการรวมกลุ่มจังหวัดที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงเข้าด้วยกัน และปรับปรุงระบบและวิธีการบริหารงานในลักษณะการเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างกันซึ่งสามารถทำงานแบบตัดผ่านทั้งแนวราบและแนวดิ่ง มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2546 ได้เห็นชอบกับยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด ทั้ง 19 กลุ่ม ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีรัฐมนตรีว่าด้วยระบบการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ.2546

3 กรอบแนวคิด ระบบการบริหารราชการในลักษณะกลุ่มจังหวัดที่มีลักษณะ หรือปัญหาเฉพาะที่เชื่อมโยงระหว่างพื้นที่ ซึ่งต้องการการ บริหารจัดการแบบพิเศษเพื่อตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง เพื่อให้เกิด ประโยชน์สูงสุด และคุ้มค่า การจัดเพื่อประสานความร่วมมือ สรรพกำลัง และใช้ทรัพยากร ระหว่างจังหวัดร่วมกัน การมีเจ้าภาพที่รับผิดชอบตามยุทธศาสตร์การพัฒนา และ เป็นผู้นำบริหารการเปลี่ยนแปลงในกลุ่มจังหวัดที่ชัดเจน

4 แนวทางจัดกลุ่มจังหวัด
ความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างพื้นที่ เพื่อสนับสนุนการพัฒนา เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ ความเกี่ยวเนื่องทางเศรษฐกิจ การผลิต การค้า และการลงทุน เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และการได้เปรียบในการแข่งขันร่วมกัน ยุทธศาสตร์ของการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนร่วมกันของประเทศ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างจังหวัด

5 การจัดกลุ่มจังหวัดในปัจจุบัน
7.2 1. กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน 2. กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2.1 พิษณุโลก ตาก เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์ 2.2 นครสวรรค์ อุทัยธานี กำแพงเพชร พิจิตร 3. กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 3.1 นนทบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี อ่างทอง 3.2 สระบุรี ลพบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท 4. กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 4.1 ราชบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม กาญจนบุรี 4.2 เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร 4.3 ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ นครนายก สระแก้ว ปราจีนบุรี 5. กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 5.1 ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด 6. กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 6.1 อุดรธานี หนองบัวลำภู หนองคาย เลย 6.2 มุกดาหาร สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ 6.3 ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด 7. กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 7.1 นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ 7.2 อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ ยโสธร 8. กลุ่มจังหวัดภาคใต้ 8.1 สุราษฎร์ธานี ชุมพร ระนอง 8.2 นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง 8.3 ภูเก็ต พังงา กระบี่ 9. กลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน ติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน 9.1 ปัตตานี ยะลา นราธิวาส 9.2 สงขลา สตูล 1.1 2.2 3.1 3.2 2.1 4.1 4.2 4.3 5.1 6.1 6.2 6.3 7.1 8.1 8.2 8.3 9.2 9.1

6 รายงานการศึกษา วิจัย ที่เกี่ยวข้อง
สภาพปัญหา ไม่มีองค์กรในระดับปฏิบัติการรองรับการดำเนินการของกลุ่มจังหวัด ไม่มีระบบการทำงานในรูปของกลุ่มจังหวัด การจัดแบ่งกลุ่มจังหวัดไม่เหมาะสม หรือ ไม่สอดคล้องในแง่ของพื้นที่หรือสภาพทางภูมิศาสตร์ ได้รับงบประมาณในการดำเนินการน้อย ขาดการ บูรณาการงบประมาณของส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเข้าด้วยกัน แผนยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด ไม่มีลักษณะเป็นองค์รวม ข้อเสนอเชิงนโยบาย จัดตั้งสำนักงานยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดขึ้นเป็นฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด(กกจ.) โดยมีเจ้าหน้าที่ดูแลรับผิดชอบกลุ่มจังหวัดเป็น การเฉพาะ ทบทวนปรับกลุ่มจังหวัดบางกลุ่มใหม่ จัดสรรงบกลาง เพื่อสนับสนุนแผนยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด/จังหวัดโดยจัดแบ่งตามแผนงาน โครงการที่กลุ่มจังหวัด / จังหวัดจัดลำดับไว้แล้ว ข้อเสนอเชิงปฏิบัติ จัดให้มีคณะกรรมการร่วมกลุ่มจังหวัด เพื่อบูรณาการยุทธศาสตร์แผนงาน โครงการ งบประมาณ ของกลุ่มจังหวัดและจังหวัด และการบูรณาการระหว่างหน่วยงานในพื้นที่ กระทรวง กรม ควรปรับยุทธศาสตร์ของหน่วยงานให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของพื้นที่ ให้จังหวัดมีส่วนในการกำหนดตัวชี้วัดแผนยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด/จังหวัดได้เองมากขึ้น จาก รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง การบริหารจัดการของกลุ่มจังหวัดในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมระดับพื้นที่ ของสถาบันดำรงราชานุภาพ กระทรวงมหาดไทย กุมภาพันธ์ 2548

7 รายงานการศึกษา วิจัย ที่เกี่ยวข้อง (ต่อ)
การจัดกลุ่มจังหวัด ให้มีการทบทวนจำนวนของกลุ่มจังหวัดใหม่ ในการจัดกลุ่มจังหวัดควรเลือกจังหวัดที่มีศักยภาพเหมือนกัน เพื่อให้การพัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน การบริหารงานในกลุ่มจังหวัด ให้จังหวัดจัดตั้งหน่วยประสานงานร่วมกันระหว่างจังหวัด ภายในกลุ่มจังหวัด ปรับปรุงรูปแบบของคณะกรรมการยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด การบริหารงบประมาณของกลุ่มจังหวัดควรมีการกำหนดให้ชัดเจน ตัวชี้วัด ตัวชี้วัดของกรม และกลุ่มจังหวัด/จังหวัด ควรสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน โดยให้กลุ่มจังหวัด/จังหวัด ร่วมกันกำหนดตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับสภาพของแต่ละพื้นที่ ควรยกเลิกการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการของกลุ่มจังหวัด จาก การสรุปข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของกระทรวงมหาดไทยและจังหวัด เกี่ยวกับการจัดโครงสร้างและระบบการบริหารราชการส่วนภูมิภาค และจากเอกสารทางวิชาการ เรื่องแนวทางการปรับปรุง โครงสร้าง บทบาทและภารกิจ ของกระทรวงมหาดไทย ของสมาคมนักปกครองแห่งประเทศไทย ธันวาคม 2549

8 การจัดโครงสร้างกลุ่มจังหวัดตามพื้นที่ แนวทางในการพัฒนา
ให้มีโครงสร้างที่เป็นทางการตามกฎหมาย ให้มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาของกลุ่มจังหวัด ร่วมประเมินผลการปฏิบัติงานตามยุทธศาสตร์ และ จัดทำบริการสาธารณะขนาดใหญ่บางประเภท ซึ่งเกินศักยภาพของจังหวัด แนวทางการพัฒนา จัดกลุ่มจังหวัดตามยุทธศาสตร์ในลักษณะคู่ขนาน (Dual Track) ไปกับการจัดกลุ่มจังหวัดตามพื้นที่ในปัจจุบัน เป็นความร่วมมือกันระหว่างจังหวัดที่มีลักษณะทางยุทธศาสตร์ หรือภารกิจใกล้เคียงกัน จังหวัดหนึ่งเป็นสมาชิกของกลุ่มจังหวัดเพียงกลุ่มเดียว สมาชิกของกลุ่มจังหวัดอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ หลักเกณฑ์เบื้องต้นของการจัดกลุ่มจังหวัดตามยุทธศาสตร์ คือ (1) พิจารณาจากยุทธศาสตร์หลักของจังหวัด และ (2) พิจารณาจากสภาพพื้นฐานและทรัพยากรของจังหวัด กระทรวงต่าง ๆ จะเป็นผู้ช่วยสำคัญด้านความชำนาญเฉพาะด้าน การจัดโครงสร้างกลุ่มจังหวัดตามยุทธศาสตร์ จาก รายงานการศึกษา เรื่อง การพัฒนาโครงสร้างการบริหารราชการส่วนภูมิภาค ของสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

9 แนวทางการจัดกลุ่มจังหวัด
แนวทางการจัดกลุ่มมีความเหมาะสม แต่ ควรมีการนำองค์ประกอบบางประการมาพิจารณาเพิ่มเติม เช่น การพิจารณาสภาพข้อเท็จจริงในทางภูมิศาสตร์ ข้อแตกต่างของลุ่มน้ำ หรือควรพิจารณาการจัดกลุ่มเชิงยุทธศาสตร์ควบคู่ไปกับการจัดกลุ่มเชิงพื้นที่ด้วย การจัดกลุ่มจังหวัดในปัจจุบัน มีข้อควรปรับปรุงในบางกลุ่ม ตัวอย่าง เช่น กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน มีขนาดของกลุ่มจังหวัดใหญ่และมีความแตกต่างของสภาพและศักยภาพของจังหวัด อาจมีการแบ่งเป็น 2 กลุ่มโดยใช้ยุทธศาสตร์เป็นตัวแบ่ง เช่นกลุ่มหนึ่งเน้นในด้านของอุตสาหกรรม ส่วนอีกกลุ่มเน้นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ จาก ...การประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการปรับปรุงระบบการบริหารราชการกลุ่มจังหวัด สำนักงาน ก.พ.ร. มีนาคม 2550

10 ระบบและกลไกการบริหารงานของกลุ่มจังหวัด
การจัดกลไกบริหารงานกลุ่มจังหวัด อาจมีความหลากหลายตาม พื้นที่ ตามวาระเร่งด่วน และควรนำภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมใน การบริหารงาน ตัวอย่างเช่น การระดมทุนเพื่อการบริหารงานกลุ่มจังหวัด อาจจัดตั้งเป็น กองทุนพัฒนากลุ่มจังหวัด การใช้รูปแบบหน่วยงานเอกชน การพัฒนาฐานข้อมูลของจังหวัดต้องให้มีความต่อเนื่อง เชี่อมโยง และเป็นระบบ การนำสถาบันการศึกษาในพื้นที่ เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหาร จัดการ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มจังหวัด การประชาสัมพันธ์ และการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการบริหาร ยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดให้ทราบโดยทั่วถึงกัน จาก ...การประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการปรับปรุงระบบการบริหารราชการกลุ่มจังหวัด สำนักงาน ก.พ.ร. มีนาคม 2550

11 ข้อสรุปเบื้องต้น แนวทางการจัดกลุ่มจังหวัด
แนวทางการจัดกลุ่มจังหวัดในภาพรวมมีความเหมาะสมแล้ว การแบ่งกลุ่มจังหวัด ควรมีการแบ่งโดยการยึดลักษณะของ พื้นที่และยุทธศาสตร์ประกอบกัน เนื่องจากการจัดกลุ่ม จังหวัดโดยยึด พื้นที่บางครั้งอาจเกิดข้อจำกัดในการบริหาร และขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ จำนวนของกลุ่มจังหวัดไม่ควรมีการเพิ่มอีก แต่อาจมีการ จัดกลุ่มใหม่ หรือยุบรวมกลุ่มได้ตามความเหมาะสม การเปลี่ยนแปลงการจัดกลุ่มจังหวัด อาจมีผลกระทบกับ แผนการดำเนินงานหรือข้อปฏิบัติต่าง ๆ ของส่วนราชการที่ ได้กำหนดให้สอดคล้องกับจำนวนกลุ่มจังหวัดในปัจจุบัน (19 กลุ่มจังหวัด) ไปแล้ว

12 ระบบและกลไกการบริหารงานของกลุ่มจังหวัด
การจัดตั้งสำนักบริหารยุทธศาสตร์ของกลุ่มจังหวัด จะเป็นกลไกขับเคลื่อนของกลุ่มจังหวัด การบริหารกลุ่มจังหวัดในเชิงยุทธศาสตร์ ต้องมีการประสานความร่วมมือกับส่วนราชการที่รับผิดชอบ การบริหารยุทธศาสตร์ที่ได้ผลต้องมาจากความร่วมมือของ ส่วนราชการและจังหวัด ในการจัดทำแผนแบะบริหารโครงการ การเตรียมความพร้อม ด้าน infrastructure ให้กลุ่มจังหวัด อาจทำเป็นลักษณะ ท่อกลางสาธารณะ ที่หน่วยไหนจะเข้าไปดำเนินการหรืองบประมาณจากส่วนไหนมาก็สามารถเข้าสู่ท่อกลางนี้ได้ทันที

13 ระบบและกลไกการบริหารงานของกลุ่มจังหวัด (ต่อ)
การสร้างทางเชื่อมระหว่างจังหวัดต่อจังหวัด ที่อยู่คนละกลุ่มจังหวัด ให้สามารถประสานงานกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างเช่น การสร้าง MOU ร่วมกันระหว่างจังหวัด การปรับปรุงระเบียบการประสานแผนการพัฒนาจังหวัดกับกลุ่มจังหวัดให้สอดคล้องกับเงื่อนเวลาปฏิบัติของงบประมาณ สร้างกลไกการบริหารงานกลุ่มจังหวัด โดยให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานมากกว่านี้ ควรมีการศึกษาระบบการบริหารงานร่วมกันในลักษณะกลุ่มจังหวัด ให้เห็นผล โดยอาจใช้กลุ่มตัวอย่าง 3-4 กลุ่มก่อน แล้วจึงทยอยขยายผลในภาพรวมต่อไป

14 ประเด็นความเห็นที่ต้องการ
แนวทาง หลักเกณฑ์ และการจัดกลุ่มจังหวัด ที่เหมาะสม ระบบและกลไกการบริหารงานของกลุ่มจังหวัด ที่มีประสิทธิภาพ อื่น ๆ

15

16 ร่างพรบ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ .. ) พ.ศ. ....
ร่างพรบ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ .. ) พ.ศ. .... ที่เกี่ยวกับการบริหารราชการ ในเขตจังหวัด

17 จังหวัดเป็นส่วนราชการ
สรุปประเด็นสาระสำคัญตามร่างพรบ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ ที่เกี่ยวกับการบริหารราชการในเขตจังหวัด จังหวัดเป็นส่วนราชการ ตามกฎหมายว่าด้วย วิธีการงบประมาณ (มาตรา 52 และ 52/1) 1

18 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามของมาตรา ๕๒ แห่งพรบ
ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามของมาตรา ๕๒ แห่งพรบ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ “เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานแบบบูรณาการในจังหวัด คณะรัฐมนตรีจะกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขให้จังหวัดบางจังหวัดหรือทุกจังหวัดยื่นคำขอจัดตั้งงบประมาณโดยตรงต่อสำนักงบประมาณก็ได้ ในกรณีเช่นนั้นให้ถือว่าจังหวัดเป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ” ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๕๒/๑ “มาตรา ๕๒/๑ ให้จังหวัดมีอำนาจภายในเขตจังหวัด ดังต่อไปนี้ (๑) นำภารกิจของรัฐและนโยบายของรัฐบาลไปปฏิบัติให้เกิดผลสัมฤทธิ์ (๒) รักษาและบังคับใช้กฎหมาย ให้เกิดความสงบเรียบร้อยและเป็นธรรมในสังคม (๓) คุ้มครอง ป้องกัน และช่วยเหลือประชาชนและชุมชนที่ด้อยโอกาสให้ได้รับความเป็นธรรมทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมในการดำรงชีวิตอย่างพอเพียง

19 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๕๒/๑ (ต่อ)
(๔) จัดบริการภาครัฐให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้อย่างเสมอหน้า รวดเร็ว และมีคุณภาพ (๕) ส่งเสริม อุดหนุน และสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้สามารถดำเนินการตามอำนาจและหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และให้มีขีดความสามารถพร้อมที่จะดำเนินการตามภารกิจที่ได้รับการถ่ายโอนจากกระทรวง ทบวง กรม (๖) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นของรัฐมอบหมาย หรือที่มีกฎหมายกำหนดเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ของจังหวัดตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐที่ประจำอยู่ในเขตจังหวัด ที่จะต้องปฏิบัติให้สอดคล้องกันและเป็นไปตามแผนพัฒนาจังหวัดตามมาตรา ๕๓/๑”

20 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จัดทำและประกาศใช้แผนพัฒนาจังหวัด
2 ใช้ระบบแผนและการปรึกษาหารือเป็นเครื่องมือในการบูรณาการ(มาตรา 53 และ 53/1) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จัดทำและประกาศใช้แผนพัฒนาจังหวัด ให้จังหวัดจัดทำโดยการประชุมปรึกษาหารือกับ ทุกหน่วยงานในเขตจังหวัด - อปท. -ส่วนราชการในจังหวัดจัดทำแผนดำเนินกิจการของส่วนราชการ อปท.จัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น

21 “มาตรา ๕๓ ในจังหวัดหนึ่งให้มีคณะกรมการจังหวัด ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้น กับปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายหรือมติของคณะรัฐมนตรีกำหนด”(ตัด “และให้ความเห็นชอบในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด”) ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๕๓/๑ “มาตรา ๕๓/๑ ให้จังหวัดจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นในจังหวัด ในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดจัดให้มีการประชุมปรึกษาหารือร่วมกันระหว่างหัวหน้า ส่วนราชการที่มีสถานที่ตั้งทำการอยู่ในจังหวัดไม่ว่าจะเป็นราชการ ส่วนภูมิภาคหรือราชการส่วนกลางและผู้บริหารองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นทั้งหมดในจังหวัด เมื่อประกาศใช้แผนพัฒนาจังหวัดแล้ว ในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการดำเนินกิจการของส่วนราชการและหน่วยงานอื่นของรัฐทั้งปวงที่กระทำในพื้นที่จังหวัดต้องสอดคล้องกับแผนพัฒนาจังหวัดดังกล่าว”

22 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๕๕/๑ แห่ง พ. ร. บ
ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๕๕/๑ แห่ง พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ “ มาตรา ๕๕/๑ ในจังหวัดหนึ่งนอกจากกรุงเทพมหานครให้มีคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า “ก.ธ.จ.” ทำหน้าที่สอดส่องและเสนอแนะการปฏิบัติภารกิจของหน่วยงานของรัฐในจังหวัดให้ใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีและเป็นไปตามหลักการที่กำหนดไว้ในมาตรา ๓/๑ ก.ธ.จ. ประกอบด้วยผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งมีเขตอำนาจในจังหวัด เป็นประธาน ผู้แทนจากภาคประชาสังคม ผู้แทนสมาชิกสภาท้องถิ่นที่ไม่ได้ดำรงตำแหน่งผู้บริหาร และผู้แทนภาคธุรกิจเอกชน ทั้งนี้ จำนวน วิธีการคัดเลือก และการปฏิบัติหน้าที่ของ ก.ธ.จ. ให้เป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ในกรณีที่ ก.ธ.จ. พบว่ามีการละเลยไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับ หรือมีกรณีที่เป็นการทุจริต ให้เป็นหน้าที่ของ ก.ธ.จ. ที่จะต้องแจ้งให้ ป.ป.ช. หรือผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินทราบ เพื่อดำเนินการ ตามอำนาจหน้าที่ต่อไป ”

23 การบริหารราชการแบบบูรณาการในเขตจังหวัด
ให้มี ก.ธ.จ. สอดส่องและเสนอแนะการปฏิบัติงานของรัฐในจังหวัดให้เป็นไปตามวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (มาตรา 55/1) 3 ก.ธ.จ. ภาคเอกชน การบริหารราชการแบบบูรณาการในเขตจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัด บริหารราชการในเขต จังหวัด โดยใช้แผน พัฒนาจังหวัดและความ ร่วมมือจากทุกฝ่าย ภาคประชาสังคม ภาครัฐ

24 ก.ธ.จ. ประกอบด้วย ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน
ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ซึ่งมีเขตอำนาจในจังหวัด ผู้แทนจากภาคประชาสังคม ผู้แทนสมาชิกสภาท้องถิ่น ที่ไม่ได้ดำรงตำแหน่งผู้บริหาร ผู้แทนภาคธุรกิจเอกชน ทั้งนี้ จำนวน วิธีการคัดเลือก และการปฏิบัติหน้าที่ของก.ธ.จ. ให้เป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี


ดาวน์โหลด ppt การบริหารราชการ แบบกลุ่มจังหวัด

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google