๕.๖ ส่วนประกอบของ DBMS ในการใช้ข้อมูลในฐานข้อมูลจะต้องมีการสอบถามหรือค้นหาคำตอบ รวมถึงการเพิ่มและการลบข้อมูล ซึ่งโดยทั่วไปผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องทราบวิธีการในการจัดเก็บข้อมูล แต่ผู้ใช้จะต้องศึกษาภาษาที่ใช้ในการค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูล โดยผ่านทางระบบการจัดการฐานข้อมูล (DBMS)
1) ภาษา SQL (Structured Query Language)
2) ภาษาสำหรับนิยามข้อมูล (Data Definition Language - DDL) 3) ภาษาสำหรับการจัดการข้อมูล (Data Manipulation Language-DML) 4) ภาษาสำหรับการควบคุมข้อมูล (Data Control Language-DCL)
๕.๗ การพัฒนาฐานข้อมูลของระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ ในองค์กรที่มีการใช้งานฐานข้อมูลโดยทั่วไป การจะใช้งานฐานข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพและตรงกับความต้องการของผู้ใช้นั้น ย่อมจะต้องมาจากการออกแบบฐานข้อมูลที่มีการวางแผนมาเป็นอย่างดี โดยจะต้องมีการพัฒนาระบบฐานข้อมูลตามขั้นตอนที่ถูกต้อง ซึ่งการพัฒนาระบบสารสนเทศ เป็นกระบวนการจัดการข้อมูลดิบให้เป็นสารสนเทศซึ่งอยู่ในรูปแบบที่นำมาใช้ประโยชน์ได้สะดวก โดยมีกระบวนการดังต่อไปนี้
๕.๗.๑ ขั้นตอนการพัฒนาระบบฐานข้อมูล ซึ่งโดยทั่วไปแล้วขั้นตอนในการพัฒนาระบบจะมีอยู่ด้วยกัน 3 ขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1) การวิเคราะห์ปัญหา (Problem Analysis) 2) การศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study) 3) การพัฒนาระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์
๕.๗.๒ แนวทางการพัฒนาระบบสารสนเทศ หลังจากนั้นก็นำมาพัฒนาระบบสารสนเทศโดยอาศัยแนวทางดังนี้ 1. กำหนดวัตถุประสงค์ และกลุ่มผู้ใช้ (Objective Formulation and Users Identification) 2. การศึกษาเบื้องต้น (Preliminary Study) 3. การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) 4. การออกแบบระบบ (System Design) 5. การพัฒนาระบบ (Construction)
ดังนั้นระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ที่ได้พัฒนาขึ้นมาจะสามารถเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลที่แสดงคุณลักษณะต่างๆ ในรูปแบบแผนที่และคำอธิบาย ในลักษณะการประยุกต์ใช้งานกับการจัดการฐานข้อมูลจริงในปัจจุบัน และนอกจากนี้จะต้องมีคู่มือประกอบแฟ้มข้อมูลนั้นๆ ด้วยเพื่อประโยชน์ในการค้นหาข้อมูลในอดีตได้ง่ายขึ้น เราสามารถใช้โปรแกรม Microsoft Excel หรือ Microsoft Access เพื่อใช้ในการเก็บข้อมูลของหน่วยงานของเรา ซึ่งเราสามารถที่จะนำมาใช้ประโยชน์ได้ต่อไปในอนาคต ความยากของการจัดการฐานข้อมูลคือ การออกแบบโครงสร้างฐานข้อมูลว่าจะจัดเก็บอยู่ในลักษณะใด