การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) : กระทรวงการคลัง STATE ENTERPRISE LAW FOCUS : รายแห่ง www.sepo.go.th การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ข้อมูลทั่วไป พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม สังกัด : กระทรวงคมนาคม ประธานกรรมการ : นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม กรรมการผู้แทน กค. : นายนิพิฐ อริยวงศ์ Website : www.railway.co.th โทร. 0-2621-8701 คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของบุคลากรรัฐวิสาหกิจ ประกอบด้วย กรรมการ (ม.5) ผู้บริหารสูงสุด (ม. 8 ตรี) พนักงาน (ม.9) จำนวนกรรมการ ไม่เกิน 11 คน แต่ถ้ารัฐวิสาหกิจใดมีข้อกำหนดให้มีกรรมการน้อยกว่า 11 คน ก็ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ แต่ถ้าจำเป็นต้องมีกรรมการเกินกว่า 11 คน ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดขออนุมัติจาก ครม. แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 15 คน (ม. 6) การนับจำนวนการดำรงตำแหน่งของกรรมการในรัฐวิสาหกิจ ไม่เกิน 3 แห่ง นับรวมการเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง การได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติราชการแทน แต่ไม่รวมการเป็นกรรมการโดยตำแหน่งที่ได้มีการมอบหมายให้ผู้อื่นปฏิบัติราชการแทน (ม. 7) วาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี กรณีกรรมการที่มิใช่กรรมการโดยตำแหน่ง (ไม่ใช้บังคับแก่กรรมการของบริษัทจำกัด) แต่อาจได้รับแต่งตั้งใหม่ (ม. 8) การแต่งตั้งกรรมการอื่น ผู้มีอำนาจพิจารณาแต่งตั้งจากบุคคลในบัญชีรายชื่อกรรมการที่กระทรวง การคลังจัดทำขึ้น ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมการอื่นของรัฐวิสาหกิจนั้น (ม. 12/1 วรรค 1) การกำหนดค่าตอบแทนและร่างสัญญาจ้างผู้บริหารสูงสุด คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจกำหนด โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง (ม. 8 จัตวา วรรคเจ็ด) ข้อมูลเกี่ยวกับสัญญาจ้างผู้บริหาร ผู้ว่าการ (CEO) : นายยุทธนา ทัพเจริญ สัญญาจ้างลงวันที่ : 22 ก.ค. 2551 ระยะเวลาจ้าง : 22 ก.ค. 2551 – 21 ก.ค. 2555 วาระที่ 1 วาระที่ 2 ตำแหน่งเดิมก่อนเป็น CEO Board รอง CEO บุคคลภายนอก รอง CEO พนักงาน สัญญาจ้าง CFO พนักงาน สัญญาจ้าง พระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 และที่แก้ไขเพิ่มเติม วัตถุประสงค์ (ม. 6) รับโอนกิจการของกรมรถไฟจากกรมรถไฟ กระทรวงคมนาคม จัดดำเนินการและนำมาซึ่งความเจริญของกิจการรถไฟ เพื่อประโยชน์แห่งรัฐและประชาชน และดำเนินธุรกิจอันเกี่ยวกับการขนส่งของรถไฟและธุรกิจอื่นซึ่งเป็นประโยชน์แก่กิจการรถไฟ เงินเดือนพนักงาน กลุ่มโครงสร้างเงินเดือน บอร์ดกำหนดโครงสร้างเงินเดือนได้เอง มีบัญชีโครงสร้างเงินเดือนของตนเอง ใช้บัญชีโครงสร้างเงินเดือน 58 ขั้น อัตราเงินเดือนขั้นสูงสุด ขั้นที่ 58 (113,520) อัตราเงินเดือนป.ตรี 4 ขั้นที่ 13 (9,130 บาท) จำนวนพนักงาน 11,518 คน (31 พ.ค. 54) จำนวนและองค์ประกอบคณะกรรมการ ไม่เกิน 8 คน (ม. 24) ประกอบด้วย ประธานกรรมการ กรรมการอื่นอีกไม่น้อยกว่าสี่คน แต่ไม่เกินหกคน ให้ผู้ว่าการเป็นกรรมการ และเลขานุการคณะกรรมการ วาระการดำรงตำแหน่ง : ให้ประธานกรรมการหรือกรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งคราวละ 3 ปี (ม. 28) การแต่งตั้งกรรมการอื่น ให้คณะรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่น (ม. 24 วรรค 3) ผู้มีอำนาจแต่งตั้งผู้บริหารสูงสุด คณะกรรมการเป็นผู้แต่งตั้ง และกำหนดเงินเดือนผู้ว่าการ โดยอยู่ในตำแหน่งได้จนกว่า คกก. จะมีมติให้ออกจากตำแหน่ง เพราะบกพร่อง หรือไม่สุจริตต่อหน้าที่ หรือหย่อนสมรรถภาพด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งจำนวนกรรมการทั้งหมดนอกจากผู้ว่าการ การแต่งตั้ง การกำหนดเงินเดือน และการให้ออกจากตำแหน่งตามมาตรานี้ จะต้องได้รับความเห็นชอบจาก ครม. (ม. 31) มติ ครม. ที่ยกเว้นการปฏิบัติเรื่องต่าง ๆ ยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่ใช้บังคับกับรัฐวิสาหกิจทั่วไป ยกเว้นการปฏิบัติตามมาตรา 13 (2) พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 คุณสมบัติเพิ่มเติมจาก พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานฯ ผู้ที่จะดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ กรรมการ และผู้ว่าการจะต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย และมีความรู้ และจัดเจนเกี่ยวกับการรถไฟ การขนส่ง วิศวกรรมพาณิชยกรรม การเศรษฐกิจ หรือ การเงิน (ม. 26) ประธานกรรมการ หรือกรรมการ ต้อง (1) ไม่มีส่วนได้เสียในสัญญากับ รฟท. หรือในกิจการที่กระทำให้แก่ รฟท. ทั้งนี้ไม่ว่าโดยตรงหรือทางอ้อม (2) ไม่เป็นพนักงานของ รฟท. (3) ไม่เป็นข้าราชการการเมือง (4) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยคุณสมบัติมาตฐานฯ (ม. 27) ผู้ว่าการ ต้อง (1) ไม่ประกอบกิจการอันมีสภาพอย่างเดียวกัน และเป็นการแข่งขันกับกิจการของ รฟท. หรือ เข้าเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด/ผู้ถือหุ้น/กรรมการในกิจการดังกล่าว ไม่ว่าจะทำเพื่อประโยชน์ ตน หรือผู้อื่น ไม่ว่าโดยทางตรง ทางอ้อม (2) ไม่เป็นประธานกรรมการ หรือกรรมการในกิจการร่วมลงทุนตาม มาตรา 9 (5) หรือในบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด ตามมาตรา 9 (10) หรือ (11) (3) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยคุณสมบัติมาตรฐานฯ (ม. 32) การดำเนินการตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการ ในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 ปัจจุบันมีโครงการให้เอกชนร่วมการงาน โครงการดำเนินงานสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง (ICD) ลาดกระบัง อยู่ในขั้นตอน คกก. ม. 22 การให้เอกชนเช่าทรัพย์สินของการรถไฟ แห่งประเทศไทย บริเวณสามเหลี่ยมย่านพหลโยธิน อยู่ในขั้นตอน คกก. ม. 22 อำนาจพิเศษตามกฎหมายจัดตั้ง มีอำนาจกำหนดอัตราค่าภาระการใช้รถไฟ บริการ และความสะดวกต่างๆ ของกิจการรถไฟ และจัดระเบียบเกี่ยวกับวิธีชำระค่าภาระดังกล่าว (ม. 9(3)) ทรัพย์สินของ รฟท. ย่อมไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี (ม. 13) อำนาจให้รื้อถอน/ทำลายสิ่งปลูกสร้างที่ไม่มีเหตุอันชอบด้วยกฎหมายภายในระยะ 40 เมตรจากขอบราง (ม. 15 ทวิ) ให้ประธานกรรมการ กรรมการ ผู้ว่าการและพนักงานของ รฟท. เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา (ม. 18) ให้ รฟท. ได้รับยกเว้นการเสียภาษีตามประมวลรัษฎากร (ม. 19) อำนาจเวนคืนตามกฎหมาย เพื่อใช้ในการสร้างทางรถไฟ หรือเครื่องประกอบทางรถไฟ (ม. 37 ทวิ) ถ้ารายได้มีจำนวนไม่พอสำหรับค่าใช้จ่ายสำหรับดำเนินงาน ค่าภาระต่างๆที่เหมาะสม ให้รัฐพึงจ่ายเงินแก่ รฟท. เท่าจำนวนที่ขาด (ม. ๔๓) หมายเหตุ ในการพิจารณาคุณสมบัติบุคลากรรัฐวิสาหกิจจะต้องพิจารณา พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานฯ กฎหมายจัดตั้งรัฐวิสาหกิจและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องประกอบกัน ที่มาของข้อมูล สัญญาจ้างผู้บริหาร www.krisdika.go.th มติคณะรัฐมนตรี ประสานงานกับเจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการให้เงินอุดหนุนบริการสาธารณะของรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2551 ข้อ 4 รัฐวิสาหกิจ หมายความว่า รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณที่ให้บริการสาธารณะด้านสาธารณูปโภคตามนโยบายพิเศษของรัฐบาล และประสบหรืออาจจะประสบผลขาดทุนจากนโยบายการควบคุมราคาค่าบริการนั้นๆ ของรัฐบาล ได้แก่ กิจการรถไฟ การขนส่งมวลชน การประปา หรือกิจการบริการสาธารณูปโภคอื่นที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนด สำนักกฎหมาย ส่วนกฎหมาย 1 ผู้อำนวยการส่วน : - ผู้จัดทำ : นางสาวอภิรดี จิตต์ปรารพ โทร. 0 2298 5880-9 ต่อ 6746 วันที่จัดทำ : 31 พ.ค. 54 (Update) สิทธิพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง ไม่ปรากฏว่ามีสิทธิพิเศษเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง ตามมติคณะรัฐมนตรี ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกาที่เกี่ยวข้อง เรื่องเสร็จที่ 436/2553 ครม. มีมติเห็นชอบในหลักการเกี่ยวกับมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบเกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์ชุมนุม โดยมีความเห็นเพิ่มเติมว่า กรณีห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมรับไปพิจารณาดำเนินการร่วมกับ รฟท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยด่วนต่อไป รฟท. จึงหารือ สคก. ว่าจะอยู่ในขั้นตอนใดของ พรบ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานฯ สคก. พิจารณาแล้วเห็นว่า กรณีตามข้อหารือ เป็นกรณีที่กระทรวงคมนาคมจะได้พิจารณาร่วมกับ รฟท. ตามมติ ครม. เสียก่อน และหากมี ปํญหาใด รฟท. สมควรหารือไปยังกระทรวงการคลังซึ่งเป็นผู้รักษาการตามกฎหมาย และหากเป็นกรณีที่ยังหาข้อยุติไม่ได้ ให้หารือ สคก. ต่อไป