งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) : กระทรวงการคลัง STATE ENTERPRISE LAW FOCUS : รายแห่ง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ข้อมูลทั่วไป พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ และที่แก้ไขเพิ่มเติม สังกัด : กระทรวงพลังงาน ประธานกรรมการ : นายพรชัย รุจิประภา กรรมการผู้แทน กค. : นายเทวัญ วิชิตะกุล Website : โทร   คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของบุคลากรรัฐวิสาหกิจ ประกอบด้วย กรรมการ (ม.5) ผู้บริหารสูงสุด (ม. 8 ตรี) พนักงาน (ม.9) จำนวนกรรมการ ไม่เกิน 11 คน แต่ถ้ารัฐวิสาหกิจใดมีข้อกำหนดให้มีกรรมการน้อยกว่า 11 คน ก็ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ แต่ถ้าจำเป็นต้องมีกรรมการเกินกว่า 11 คน ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดขออนุมัติจาก ครม. แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 15 คน (ม. 6) การนับจำนวนการดำรงตำแหน่งของกรรมการในรัฐวิสาหกิจ ไม่เกิน 3 แห่ง นับรวมการเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง การได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติราชการแทน แต่ไม่รวมการเป็นกรรมการโดยตำแหน่งที่ได้มีการมอบหมายให้ผู้อื่นปฏิบัติราชการแทน (ม. 7) วาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี กรณีกรรมการที่มิใช่กรรมการโดยตำแหน่ง (ไม่ใช้บังคับแก่กรรมการของบริษัทจำกัด) แต่อาจได้รับแต่งตั้งใหม่ (ม. 8) การแต่งตั้งกรรมการอื่น ผู้มีอำนาจพิจารณาแต่งตั้งจากบุคคลในบัญชีรายชื่อกรรมการที่กระทรวง การคลังจัดทำขึ้น ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมการอื่นของรัฐวิสาหกิจนั้น (ม. 12/1 วรรค 1) การกำหนดค่าตอบแทนและร่างสัญญาจ้างผู้บริหารสูงสุด คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจกำหนด โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง (ม. 8 จัตวา วรรคเจ็ด) ข้อมูลเกี่ยวกับสัญญาจ้างผู้บริหารสูงสุด ผู้ว่าการ (CEO) : นายสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ สัญญาจ้างลงวันที่ : 29 ธ.ค. 52 ระยะเวลาจ้าง : 29 ธ.ค. 52 – 30 ก.ค. 56  วาระที่  วาระที่ 2 ตำแหน่งเดิมก่อนเป็น CEO  Board  รอง CEO  บุคคลภายนอก (รองผู้ว่าการ กฟผ.) รอง CEO  พนักงาน  สัญญาจ้าง CFO  พนักงาน  สัญญาจ้าง พระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511 วัตถุประสงค์ (ม. 6) 1) ผลิต จัดให้ได้มา จัดส่งหรือจำหน่ายซึ่งพลังงานไฟฟ้าให้แก่ กฟน. กฟภ. ผู้ใช้พลังงานไฟฟ้า และ ประเทศใกล้เคียง 2) ดำเนินงานต่างๆ ที่เกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้า แหล่งพลังงานอันได้มาจากธรรมชาติ เช่น น้ำ ลม ความร้อนธรรมชาติ แสงแดด แร่ธาตุ หรือเชื้อเพลิงเป็นต้นว่า น้ำมัน ถ่านหิน หรือก๊าซ รวมทั้งพลังงานปรมาณู เพื่อการผลิตพลังงานไฟฟ้า และงานอื่นที่ส่งเสริมกิจการของกฟผ. 3) ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้าและธุรกิจอื่นที่เกี่ยวกับหรือต่อเนื่องกับกิจการของ กฟผ. หรือร่วมทุนกับบุคคลอื่นเพื่อดำเนินการดังกล่าว 4) ผลิตและขายลิกไนท์ หรือวัตถุเคมีจากลิกไนท์หรือโดยอาศัยลิกไนท์หรือร่วมทุนกับบุคคลอื่น เพื่อดำเนินการดังกล่าว (ดู ม.9 ประกอบ) เงินเดือนพนักงาน กลุ่มโครงสร้างเงินเดือน  คณะกรรมการกำหนดโครงสร้างเงินเดือนได้เอง  มีบัญชีโครงสร้างเงินเดือนของตนเอง  ใช้บัญชีโครงสร้างเงินเดือน 58 ขั้น Min-max ของเงินเดือน : 6,100 – 235,900 บาท อัตราเงินเดือนแรกบรรจุ (ปริญญาตรี 4 ปี) : 12,000 บาท / 16,800 บาท (วิศวกร) จำนวนพนักงาน : 22,577 คน ลูกจ้างทดลองงานรอบรรจุ 284 คน รวม 22,861 คน (31 พ.ค. 54) จำนวนและองค์ประกอบคณะกรรมการ : ไม่เกิน 11 คน ประกอบด้วย ประธานกรรมการ และกรรมการอื่นอีกไม่เกิน 10 คน รวมทั้งผู้ว่าการซึ่งมิใช่กรรมการโดยตำแหน่ง ให้ ครม. เป็นผู้แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นซึ่งมิใช่กรรมการโดยตำแหน่ง (ม.13) วาระการดำรงตำแหน่ง : ประธานกรรมการและกรรมการซึ่ง ครม. แต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี แต่อาจได้รับการแต่งตั้งอีกได้ (ม.16) (ในทางปฏิบัติ ปฏิบัติตามแนววินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกา คือ 3 ปี) ผู้มีอำนาจแต่งตั้งผู้บริหารสูงสุด : คณะกรรมการเป็นผู้แต่งตั้งและกำหนดอัตราเงินเดือนของผู้ว่าการด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี (ม.19) มติ ครม. ที่ยกเว้นการปฏิบัติเรื่องต่าง ๆ  ยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ และ มติคณะรัฐมนตรีที่ใช้บังคับกับรัฐวิสาหกิจทั่วไป  ยกเว้นการปฏิบัติตามมาตรา 13 (2) พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 คุณสมบัติเพิ่มเติมจาก พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานฯ · ประธานกรรมการหรือกรรมการ จะต้อง (1) ไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญากับ กฟผ. หรือในกิจการที่กระทำให้แก่ กฟผ.ไม่ว่าโดยตรงหรืออ้อม เว้นแต่เป็นเพียงผู้ถือหุ้นเพื่อประโยชน์ในการลงทุนโดยสุจริตในบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด ที่กระทำการอันมีส่วนได้เสียเช่นว่านั้น หรือเป็นผู้ซึ่งคณะกรรมการมอบหมายให้เป็นประธานกรรมการ กรรมการในบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่ กฟผ.เป็นผู้ถือหุ้น (ม.15 (1)) (2) ไม่เป็นพนักงาน เว้นแต่ผู้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการ (ม.15 (3)) การดำเนินการตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการ ในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 ปัจจุบันไม่ปรากฏว่ามีโครงการที่ได้ดำเนินการ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการ ในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 อำนาจพิเศษตามกฎหมายจัดตั้ง ทรัพย์สินของ กฟผ. ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี (ม.12) ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ประธานกรรมการ กรรมการ และพนักงานเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา (ม.26) พนักงานและลูกจ้างของ กฟผ. มีอำนาจใช้สอยหรือเข้าครองครองอสังหาริมทรัพย์เป็นการชั่วคราว เพื่อการสำรวจระบบ การป้องกันอันตราย หรือความเสียหายที่เกิดแก่ระบบไฟฟ้า หรือการสำรวจ แหล่งพลังงาน (ม.28) กฟผ. มีอำนาจเดินสายส่งไฟฟ้าและติดตั้งอุปกรณ์ผ่านที่ดินของบุคคลใดๆ เพื่อประโยชน์ในการส่งและการจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า (ม.29) กฟผ. มีอำนาจรื้อถอน ทำลายหรือตัดต้นไม้ ที่อยู่ใกล้ระบบไฟฟ้า เพื่อประโยชน์แห่งความปลอดภัย (ม. 33) พนักงานหรือลูกจ้างของ กฟผ. มีอำนาจเข้าไปในที่ดินหรือสถานที่ของผู้อื่น เพื่อตรวจ ซ่อมแซม แก้ไขระบบไฟฟ้า (ม. 34) กฟผ. มีอำนาจในเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ในกรณีจำเป็นเพื่อให้ได้มาซึ่งแหล่งพลังงานหรือสร้างเขื่อน (ม.36) หมายเหตุ ในการพิจารณาคุณสมบัติบุคลากรรัฐวิสาหกิจจะต้องพิจารณา พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานฯ กฎหมายจัดตั้งรัฐวิสาหกิจและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องประกอบกัน ที่มาของข้อมูล  สัญญาจ้างผู้บริหาร   มติคณะรัฐมนตรี  ประสานงานกับเจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจ สำนักกฎหมาย ส่วนกฎหมาย 3 ผู้อำนวยการส่วน : นายณัฐวุฒ ไพศาลวัฒนา ผู้จัดทำ : นายเอกวิทย์ ชูทอง โทร ต่อ 6722 วันที่จัดทำ : 31 พ.ค. 54 (Update) สิทธิพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง ในปัจจุบัน ไม่ปรากฏว่า กฟผ. ได้รับสิทธิพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรี ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกาที่เกี่ยวข้อง เรื่องเสร็จที่ 734/2535 เรื่อง วาระการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กรณีวาระการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซึ่งแม้ตาม พรบ. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยที่กำหนดให้ประธานกรรมการหรือกรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี แต่ พรบ. คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการฯ มาตรา 8 กำหนดให้กรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตำแหน่งตามกฎหมายหรือพระราชกฤษฎีกาตำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี เมื่อพิจารณาเจตนารมณ์ของ พรบ. คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการฯ แล้วเห็นว่ามีลักษณะเป็นกฎหมายที่กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับระบบของคณะกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจทั้งหลายเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวกับวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการรัฐวิสาหกิจ ดังนั้น การที่ กฟผ. ยึดถือปฏิบัติตาม พรบ. คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการเกี่ยวกับวาระการดำรงตำแหน่ง จึงเป็นการปฏิบัติที่ตรงตามเจตนารมณ์ของกฎหมายแล้ว


ดาวน์โหลด ppt การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google