งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) : กระทรวงการคลัง STATE ENTERPRISE LAW FOCUS : รายแห่ง www.sepo.go.th ข้อมูลทั่วไป การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) : กระทรวงการคลัง STATE ENTERPRISE LAW FOCUS : รายแห่ง www.sepo.go.th ข้อมูลทั่วไป การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) : กระทรวงการคลัง STATE ENTERPRISE LAW FOCUS : รายแห่ง www.sepo.go.th ข้อมูลทั่วไป การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ข้อมูลเกี่ยวกับสัญญาจ้างผู้บริหารสูงสุด สำนักกฎหมาย ส่วนกฎหมาย 3 ผู้อำนวยการส่วน : นายณัฐวุฒ ไพศาลวัฒนา ผู้จัดทำ : นายรณชัย ทองใบ โทร. 0 2298 5880-9 ต่อ 6722 วันที่จัดทำ : 31 พ.ค. 54 (Update) วัตถุประสงค์ (ม.8) กกท. มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ (1)ส่งเสริมการกีฬา (2)ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการประสานงานเกี่ยวกับการกีฬา (3)ศึกษา วิเคราะห์และจัดทำโครงการ แผนงานและสถิติเกี่ยวกับการส่งเสริมการกีฬารวมทั้งประเมินผล (4)จัด ช่วยเหลือ แนะนำและร่วมมือในการจัดและดำเนินการการกีฬา (5)สำรวจ จัดสร้างและบูรณสถานที่สำหรับการกีฬา (6)ติดต่อร่วมมือกับองค์การหรือสมาคมกีฬาทั้งในและนอกราชอาณาจักร (7)สอดส่องและควบคุมการดำเนินกิจการการกีฬา (8)ประกอบกิจการอื่นๆ อันเกี่ยวแก่หรือเพื่อประโยชน์ของการกีฬา (ดูมาตรา 9 ประกอบ) พระราชบัญญัติการประปาส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2522 สังกัด : กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ประธานกรรมการ : นายชุมพล ศิลปอาชา กรรมการผู้แทน กค. : นางจินดา สังข์ศรีอินทร์ Website : www.sat.or.th โทร. 0 2369 0999 ผู้ว่าการ (CEO) : นายกนกพันธุ์ จุลเกษม สัญญาจ้างลงวันที่ : 28 มี.ค. 54 ระยะเวลาจ้าง : 21 พ.ย. 53 - 30 มิ.ย. 57  วาระหนึ่ง  วาระสอง ตำแหน่งเดิมก่อนเป็น CEO  Board  รอง CEO  บุคคลภายนอก (CEO บริษัทเอกชน) รอง CEO  พนักงาน  สัญญาจ้าง CFO  พนักงาน  สัญญาจ้าง มติ ครม. ที่ยกเว้นการปฏิบัติเรื่องต่าง ๆ จำนวนและองค์ประกอบคณะกรรมการ คณะกรรมการ กกท. ประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ ท่องเที่ยวและกีฬา เป็นประธาน ปลัดกระทรวงกลาโหมหรือผู้แทน ปลัดกระทรวงมหาดไทยหรือผู้แทน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการหรือผู้แทน ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ ผู้อำนวยการ สำนักงบประมาณหรือผู้แทน ผู้แทนคณะกรรมการกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ผู้แทนคณะกรรมการ โอลิมปิคแห่งประเทศไทย และบุคคลอื่นอีกไม่เกิน 10 คน ซึ่ง ครม. แต่งตั้งเป็นกรรมการ และผู้ว่าการเป็น กรรมการและเลขานุการ (ม.14) วาระการดำรงตำแหน่ง : กรรมการที่ได้รับแต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรีดำรงตำแหน่งคราวละ 2 ปี กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้แต่ไม่เกินสองวาระติดต่อกัน (ม.16) ผู้มีอำนาจแต่งตั้งผู้บริหารสูงสุด : ให้กรรมการ กกท. แต่งตั้งและกำหนดอัตราเงินเดือนของ ผู้ว่าการ กกท. โดยความเห็นชอบของ ครม. (ม. 21) ผู้ว่าการ กกท. พ้นจากตำแหน่งเมื่อคณะกรรมการ กกท. มีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของ จำนวนกรรมการทั้งหมดที่อยู่ในตำแหน่งนอกจากผู้ว่าการ และต้องได้รับความเห็นชอบจาก ครม. (ม.23) เงินเดือนพนักงาน กลุ่มโครงสร้างเงินเดือน  คณะกรรมการกำหนดโครงสร้างเงินเดือนได้เอง  มีบัญชีโครงสร้างเงินเดือนของตนเอง  ใช้บัญชีโครงสร้างเงินเดือน 58 ขั้น อัตราเงินเดือนขั้นสูงสุด ขั้นที่ 58 Min-max ของเงินเดือน : 5,510 – 113,520 บาท อัตราเงินเดือนแรกบรรจุ (ปริญญาตรี 4 ปี) : 9,130 บาท (ปริญญาโท) : 10,810 บาท เงินเดือนสูงสุดที่ได้รับจริง = 89,890 บาท จำนวนพนักงาน : 609 คน ลูกจ้าง 530 คน (31 พ.ค. 54)  ยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ และมติ คณะรัฐมนตรีที่ใช้บังคับกับรัฐวิสาหกิจทั่วไป  ยกเว้นการปฏิบัติตามมาตรา 13 (2) พ.ร.บ.แรงงาน รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 คุณสมบัติเพิ่มเติมจาก พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานฯ กรรมการ ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (ม.17) ผู้ว่าการ ไม่มีส่วนได้เสียกับกิจการที่กระทำกับ กกท. ทั้งนี้ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม (ม.22) การดำเนินการตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการให้ เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการ ในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกาที่เกี่ยวข้อง เรื่องเสร็จที่ 118/2552 เรื่อง การดำรงตำแหน่งประธานกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ว่า พรบ.การกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2528 บัญญัติให้รมต.ว่าการ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเป็นประธานกรรมการ กกท.โดยตำแหน่ง อันเป็นการดำรงตำแหน่งโดยกฎหมาย ดังนั้น การดำรงตำแหน่งดังกล่าวจึงไม่ต้องนำ บทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการเป็นกรรมการซึ่งครม. แต่งตั้งมาใช้บังคับ รมต.ว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาจึงสามารถดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ กกท. ได้ ปัจจุบันไม่ปรากฏโครงการตาม พรบ. ว่าด้วยการให้เอกชน เข้าร่วมงานฯ หมายเหตุ ในการพิจารณาคุณสมบัติบุคลากรรัฐวิสาหกิจ จะต้องพิจารณา พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานฯ กฎหมาย จัดตั้งรัฐวิสาหกิจและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องประกอบกัน ที่มาของข้อมูล  สัญญาจ้างผู้บริหาร  www.krisdika.go.th  คณะรัฐมนตรี  ประสานงานกับเจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจ พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของบุคลากรรัฐวิสาหกิจ ประกอบด้วย กรรมการ (ม.5) ผู้บริหารสูงสุด (ม. 8 ตรี) พนักงาน (ม.9) จำนวนกรรมการ ไม่เกิน 11 คน แต่ถ้ารัฐวิสาหกิจใดมีข้อกำหนดให้มีกรรมการน้อยกว่า 11 คน ก็ให้ เป็นไปตามที่กำหนดไว้ แต่ถ้าจำเป็นต้องมีกรรมการเกินกว่า 11 คน ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดขออนุมัติจาก ครม. แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 15 คน (ม. 6) การนับจำนวนการดำรงตำแหน่งของกรรมการในรัฐวิสาหกิจ ไม่เกิน 3 แห่ง นับรวมการเป็น กรรมการโดยตำแหน่ง การได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติราชการแทน แต่ไม่รวมการเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง ที่ได้มีการมอบหมายให้ผู้อื่นปฏิบัติราชการแทน (ม. 7) วาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี กรณีกรรมการที่มิใช่กรรมการโดยตำแหน่ง แต่อาจได้รับแต่งตั้งใหม่ (ม. 8) การแต่งตั้งกรรมการอื่น ผู้มีอำนาจพิจารณาแต่งตั้งจากบุคคลในบัญชีรายชื่อกรรมการที่กระทรวง การคลังจัดทำขึ้น ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมการอื่นของรัฐวิสาหกิจนั้น (ม. 12/1 วรรค 1) การกำหนดค่าตอบแทนและร่างสัญญาจ้างผู้บริหารสูงสุด คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจกำหนด โดย ความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง (ม. 8 จัตวา วรรคเจ็ด) อำนาจพิเศษตามกฎหมายจัดตั้ง สมาคมกีฬาที่มีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือส่งเสริมการกีฬาโดยตรงจะต้องได้รับอนุญาตจาก กกท. ก่อนจึงจะสามารถดำเนินการจัดตั้งตามกฎหมายได้ (ม.53) สมาคมที่ได้รับอนุญาตจาก กกท. ตาม ม. 53 ต้องอยู่ในความควบคุมของ กกท. และต้องปฏิบัติตาม ข้อบังคับที่ กกท. กำหนดโดยความเห็นชอบของกรรมการ (ม.54) กกท. มีอำนาจเพิกถอนการอนุญาตที่ให้ไว้แก่สมาคม ตามมาตรา 53 (ม.55) ห้ามมิให้บุคคลหรือคณะบุคคลใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” หรือมีอักษรหรือเครื่องหมายใด แสดงว่าเป็น สมาคม สโมสรหรือคณะบุคคล ซึ่งมีกิจกรรมเกี่ยวกับกีฬาในนามของชาติหรือประเทศไทย เว้นแต่จะ ได้รับอนุญาตจาก กกท. (ม.59) ห้ามมิให้คณะบุคคลหรือบุคคลใดเข้าร่วมการแข่งขันหรือส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬา หรือจัดหรือ ร่วมในการจัดให้มีการแข่งขันกีฬา โดยแสดงว่าเป็นการแข่งขัน หรือจัดการแข่งขันกีฬาในนามของชาติ หรือประเทศไทย เว้นแต่ได้รับอนุญาตจาก กกท. (ม.59 วรรคสอง) ทรัพย์สินของ กกท. ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี (ม. 13) สิทธิพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง ปัจจุบันไม่ปรากฏว่า กกท. ได้รับสิทธิพิเศษเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างตามมติคณะรัฐมนตรี พระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2528


ดาวน์โหลด ppt สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) : กระทรวงการคลัง STATE ENTERPRISE LAW FOCUS : รายแห่ง www.sepo.go.th ข้อมูลทั่วไป การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google