งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

องค์การสุรา กรมสรรพสามิต

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "องค์การสุรา กรมสรรพสามิต"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 องค์การสุรา กรมสรรพสามิต
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) : กระทรวงการคลัง STATE ENTERPRISE LAW FOCUS : รายแห่ง องค์การสุรา กรมสรรพสามิต ข้อมูลทั่วไป พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ และที่แก้ไขเพิ่มเติม สังกัด : กระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ : นายสุรพล สุประดิษฐ์ กรรมการผู้แทน กค. : นางจิตรมณี สุวรรณพูล Website : โทร คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของบุคลากรรัฐวิสาหกิจ ประกอบด้วย กรรมการ (ม.5) ผู้บริหารสูงสุด (ม. 8 ตรี) พนักงาน (ม.9) จำนวนกรรมการ ไม่เกิน 11 คน แต่ถ้ารัฐวิสาหกิจใดมีข้อกำหนดให้มีกรรมการน้อยกว่า 11 คน ก็ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ แต่ถ้าจำเป็นต้องมีกรรมการเกินกว่า 11 คน ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดขออนุมัติจาก ครม. แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 15 คน (ม. 6) การนับจำนวนการดำรงตำแหน่งของกรรมการในรัฐวิสาหกิจ ไม่เกิน 3 แห่ง นับรวมการเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง การได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติราชการแทน แต่ไม่รวมการเป็นกรรมการโดยตำแหน่งที่ได้มีการมอบหมายให้ผู้อื่นปฏิบัติราชการแทน (ม. 7) วาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี กรณีกรรมการที่มิใช่กรรมการโดยตำแหน่ง (ไม่ใช้บังคับแก่กรรมการของบริษัท) แต่อาจได้รับแต่งตั้งใหม่ (ม. 8) การแต่งตั้งกรรมการอื่น ผู้มีอำนาจพิจารณาแต่งตั้งจากบุคคลในบัญชีรายชื่อกรรมการที่กระทรวงการคลังจัดทำขึ้น ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมการอื่นของรัฐวิสาหกิจนั้น (ม. 12/1 วรรค 1) การกำหนดค่าตอบแทนและร่างสัญญาจ้างผู้บริหารสูงสุด คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจกำหนด โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง (ม. 8 จัตวา วรรคเจ็ด) ข้อมูลเกี่ยวกับสัญญาจ้างผู้บริหารสูงสุด ผู้อำนวยการ (CEO) : นายอิทธิเทพ วิเศษสมิต สัญญาจ้างลงวันที่ : 28 พฤษภาคม 2551 ระยะเวลาจ้าง : 2 มิ.ย. 51 – 1 มิ.ย. 55  วาระที่  วาระที่ 2 ที่มาของ CEO :  Board  รอง CEO  บุคคลภายนอก (กรรมการผู้จัดการบริษัท ไทย-อะมาดิอุสเซาท์อีสเอเชีย จำกัด) รอง CEO  พนักงาน  สัญญาจ้าง CFO  พนักงาน  สัญญาจ้าง ระเบียบจัดตั้งองค์การสุรา กรมสรรพสามิต พ.ศ. 2506 วัตถุประสงค์ มีดังต่อไปนี้ (ข้อ 6) (1) จัดตั้งโรงงานผลิตสุราและผลิตภัณฑ์จากวัตถุพลอยได้ที่ได้จากการผลิตสุราหรือผลิตภัณฑ์อันเป็นอุปกรณ์แก่การผลิตสุรา เพื่อหารายได้ให้แก่รัฐ (2) ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวกับหรือต่อเนื่องกับการผลิตตาม (1) เงินเดือนพนักงาน กลุ่มโครงสร้างเงินเดือน  คณะกรรมการกำหนดโครงสร้างเงินเดือนได้เอง  มีบัญชีโครงสร้างเงินเดือนของตนเอง  ใช้บัญชีโครงสร้างเงินเดือน 58 ขั้น อัตราเงินเดือนขั้นสูงสุด ขั้นที่ 58 Min-max ของเงินเดือน : 5,820 – 113,520 บาท อัตราเงินเดือนแรกบรรจุ (ปริญญาตรี 4 ปี) : - บาท จำนวนพนักงาน : 210 คน (31 พ.ค. 54) จำนวนและองค์ประกอบคณะกรรมการ คณะกรรมการประกอบด้วยอธิบดีกรมสรรพสามิตเป็นประธานกรรมการโดยตำแหน่ง รองอธิบดีกรมสรรพสามิตผู้ซึ่งอธิบดีกรมสรรพามิตมอบหมายจำนวน 2 คน เป็นรองประธานกรรมการโดยตำแหน่ง ผู้อำนวยการเป็นกรรมการและเลขานุการโดยตำแหน่ง และกรรมการอื่นอีกจำนวนไม่น้อยกว่า 3 คน แต่เมื่อรวมกรรมการทั้งคณะหมดแล้ว ต้องมีจำนวนไม่เกิน 11 คน ซึ่งในกรรมการอื่นนี้ให้มีผู้แทนกระทรวงการคลังเป็นกรรมการร่วมด้วยหนึ่งคน กรรมการอื่นรวมทั้งผู้แทนกระทรวงการคลังและที่ปรึกษาคณะกรรมการ รัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอน (ข้อ 12) วาระการดำรงตำแหน่ง : กรรมการอื่น นอกจากผู้เป็นกรรมการโดยตำแหน่งต้องออกจากตำแหน่งเมื่อครบกำหนด 4 ปี นับแต่วันแต่งตั้ง กรรมการที่ออกนั้นต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินการต่อไปจนกว่ากรรมการที่ตั้งใหม่จะเข้ารับหน้าที่ ผู้ที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระ อาจได้รับแต่งตั้งอีกก็ได้ (ข้อ 15) (ตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ม. 8 วรรคสอง กำหนดให้กรรมการรัฐวิสาหกิจที่ไม่ได้เป็นกรรมการโดยตำแหน่งมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี ซึ่งในกรณีดังกล่าวต้องยึดถือระยะเวลาการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี เนื่องจากเป็นหลักกฎหมายที่มีเจตนารมณ์เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับระบบของกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวกับวาระการดำรงตำแหน่ง ตามบันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 734/2535 เรื่องวาระการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย) ผู้มีอำนาจแต่งตั้งผู้บริหารสูงสุด : การแต่งตั้ง ถอดถอน และกำหนดอัตราเงินเดือนผู้อำนวยการ เป็นอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (ข้อ 18) มติ ครม. ที่ยกเว้นการปฏิบัติเรื่องต่าง ๆ  ยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่ใช้บังคับกับรัฐวิสาหกิจทั่วไป  ยกเว้นการปฏิบัติตามมาตรา 13 (2) พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 การดำเนินการตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการ ในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 ปัจจุบันไม่มีโครงการที่ดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 หมายเหตุ ในการพิจารณาคุณสมบัติบุคลากรรัฐวิสาหกิจจะต้องพิจารณา พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานฯ กฎหมายจัดตั้งรัฐวิสาหกิจและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องประกอบกัน คุณสมบัติเพิ่มเติมจาก พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานฯ ลักษณะต้องห้ามของกรรมการ ที่ปรึกษาคณะกรรมการ หรือผู้อำนวยการ - มีส่วนได้เสียในสัญญากับองค์การสุรา หรือในกิจการที่กระทำให้แก่องค์การสุรา ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม เว้นแต่จะเป็นเพียงหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือผู้ถือหุ้นของบริษัทจำกัดที่กระทำการอันมีส่วนได้เสียเช่นว่านั้น (ข้อ 13 (1)) - เป็นพนักงานสุรา (ข้อ 13 (2)) - เป็นบุคคลที่ไม่มีสัญชาติ (ข้อ 13 (3)) ที่มาของข้อมูล  สัญญาจ้างผู้บริหาร   มติคณะรัฐมนตรี  ประสานงานกับเจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจ สำนักกฎหมาย ส่วนกฎหมาย 2 ผู้อำนวยการส่วน : นายปัญญ์สุธา รายา ผู้จัดทำ : นางสาวพิมพ์นิภา โตประเสริฐ โทร ต่อ 6719 วันที่จัดทำ : 31 พ.ค. 54 (Update) อำนาจพิเศษตามกฎหมายจัดตั้ง : - สิทธิพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง -ไม่มี- ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกาที่เกี่ยวข้อง/ข้อมูลสำคัญอื่น สคร.ได้เสนอเรื่องการนำรัฐวิสาหกิจที่อยู่ในกำกับของกรมสรรพสามิต คือ องค์การสุรา ไปจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ในที่ประชุม กนร. เมื่อวันที่ 29 มี.ค. 54


ดาวน์โหลด ppt องค์การสุรา กรมสรรพสามิต

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google