งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) : กระทรวงการคลัง STATE ENTERPRISE LAW FOCUS : รายแห่ง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ข้อมูลทั่วไป พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ และที่แก้ไขเพิ่มเติม สังกัด : กระทรวงมหาดไทย ประธานกรรมการ : นายวิเชียร เชาวลิต กรรมการผู้แทน กค. : นายสมชาย พูลสวัสดิ์ Website : โทร คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของบุคลากรรัฐวิสาหกิจ ประกอบด้วย กรรมการ (ม.5) ผู้บริหารสูงสุด (ม. 8 ตรี) พนักงาน (ม.9) จำนวนกรรมการ ไม่เกิน 11 คน แต่ถ้ารัฐวิสาหกิจใดมีข้อกำหนดให้มีกรรมการน้อยกว่า 11 คน ก็ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ แต่ถ้าจำเป็นต้องมีกรรมการเกินกว่า 11 คน ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดขออนุมัติจาก ครม. แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 15 คน (ม. 6) การนับจำนวนการดำรงตำแหน่งของกรรมการในรัฐวิสาหกิจ ไม่เกิน 3 แห่ง นับรวมการเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง การได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติราชการแทน แต่ไม่รวมการเป็นกรรมการโดยตำแหน่งที่ได้มีการมอบหมายให้ผู้อื่นปฏิบัติราชการแทน (ม. 7) วาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี กรณีกรรมการที่มิใช่กรรมการโดยตำแหน่ง (ไม่ใช้บังคับแก่กรรมการของบริษัทจำกัด) แต่อาจได้รับแต่งตั้งใหม่ (ม. 8) การแต่งตั้งกรรมการอื่น ผู้มีอำนาจพิจารณาแต่งตั้งจากบุคคลในบัญชีรายชื่อกรรมการที่กระทรวง การคลังจัดทำขึ้น ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมการอื่นของรัฐวิสาหกิจนั้น (ม. 12/1 วรรค 1) การกำหนดค่าตอบแทนและร่างสัญญาจ้างผู้บริหารสูงสุด คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจกำหนด โดยความเเห็นชอบของกระทรวงการคลัง (ม. 8 จัตวา วรรคเจ็ด) ข้อมูลเกี่ยวกับสัญญาจ้างผู้บริหารสูงสุด ผู้ว่าการ (CEO) : นายณรงค์ศักดิ์ กำมเลศ สัญญาจ้างลงวันที่ : 11 พ.ค. 53 ระยะเวลาจ้าง : 13 มิ.ย. 53 – 7 ธ.ค. 55  วาระที่  วาระที่ 2 ตำแหน่งเดิมก่อนเป็น CEO  Board  รอง CEO  บุคคลภายนอก (รองผู้ว่าการจำหน่ายและบริการ (ภาค 2)) รอง CEO  พนักงาน  สัญญาจ้าง CFO  พนักงาน  สัญญาจ้าง พระราชบัญญัติการไฟฟ้าภูมิภาค พ.ศ. 2503 วัตถุประสงค์ (ม. 6) 1) ผลิตจัดให้ได้มา จัดส่ง และจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า 2) ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้าและธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่อง หรือที่เป็นประโยชน์แก่ กฟภ. (ดู ม.13 ประกอบ) เงินเดือนพนักงาน จำนวนและองค์ประกอบคณะกรรมการ : ไม่เกิน 15 คน ประกอบด้วย ประธานกรรมการ 1 คน ผู้ว่าการเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการอื่นอีกไม่น้อยกว่า 5 คน แต่ไม่เกิน 13 คน ให้คณะรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการ (ม.20) วาระการดำรงตำแหน่ง : 3 ปี ประธานกรรมการและกรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับการแต่งตั้งอีกได้ (ม.24) ผู้มีอำนาจแต่งตั้งผู้บริหารสูงสุด : คณะกรรมการเป็นผู้แต่งตั้งและกำหนดอัตราเงินเดือนของผู้ว่าการ ด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี (ม.27) กลุ่มโครงสร้างเงินเดือน  คณะกรรมการกำหนดโครงสร้างเงินเดือนได้เอง  มีบัญชีโครงสร้างเงินเดือนของตนเอง ใช้บัญชีโครงสร้างเงินเดือน 58 ขั้น Min – Max ของเงินเดือน = 5,820 – 200,000 บาท อัตราเงินเดือนแรกบรรจุ (ปริญญาตรี 4 ปี) : 10,810 บาท / วิศวกร = 11,430 บาท จำนวนพนักงาน 28,136 คน (31 พ.ค. 54) คุณสมบัติเพิ่มเติมจาก พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานฯ ประธานกรรมการและกรรมการ ต้องมีความรู้และมีความจัดเจนเพียงพอเกี่ยวกับการจัดการธุรกิจ การไฟฟ้า วิศวกรรม การเศรษฐกิจ การเงิน หรือกฎหมาย (ม.21) ต้องไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญากับ กฟภ. หรือในกิจการที่กระทำให้แก่ กฟภ. หรือกิจการที่มีลักษณะเป็นการแข่งขันกับ กฟภ. ทั้งทางตรงและทางอ้อม หรือพ้นจากการเป็นผู้มีส่วนได้เสียไม่ครบ 3 ปี เว้นแต่เป็นผู้ถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนที่จำกัดความรับผิดในกิจการเช่นว่านั้น หรือเป็นประธานกรรมการ กรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้ดำเนินกิจการโดยการมอบหมายของ กฟภ. ในกิจการตาม ม.13 (9)และ (10) (ม.22 (1)) และจะต้องไม่เป็นพนักงานนอกจากผู้ว่าการ (ม.22 (2)) ผู้ว่าการ ต้องเป็นผู้มีความรู้ และมีความจัดเจนเพียงพอเกี่ยวกับการจัดการธุรกิจ การไฟฟ้า วิศวกรรม การเศรษฐกิจ หรือการเงิน (ม.27) ต้องไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญากับ กฟภ. หรือในกิจการที่กระทำให้แก่ กฟภ. หรือในกิจการที่มีลักษณะเป็นการแข่งขันกับ กฟภ. ทั้งทางตรงและทางอ้อม หรือพ้นจากการเป็นผู้มีส่วนได้เสียไม่ครบ 3 ปี เว้นแต่เป็นผู้ถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนที่จำกัดความรับผิดในกิจการเช่นว่านั้น หรือเป็นประธานกรรมการ กรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้ดำเนินกิจการโดยการมอบหมายของ กฟภ.ในกิจการตาม ม.13 (9) และ (10) (ม.28 (1)) มติ ครม. ที่ยกเว้นการปฏิบัติเรื่องต่าง ๆ  ยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่ใช้บังคับกับรัฐวิสาหกิจทั่วไป  ยกเว้นการปฏิบัติตามมาตรา 13 (2) พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 การดำเนินการตาม พ.ร.บ. ว่าด้วย การให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการ ในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 ปัจจุบันไม่ปรากฏว่ามีโครงการที่ได้ดำเนินการ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินงาน ในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 อำนาจพิเศษตามกฎหมายจัดตั้ง ทรัพย์สินของ กฟภ. ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคัคดี (ม14) ประธานกรรมการ กรรมการ และพนักงานผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ ตาม ม.34 ม.36 ม.37 ม.37 ทวิ หรือ ม.38 เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา (ม.15) กรณีมีความจำเป็น พนักงานมีอำนาจใช้สอยหรือเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์ในความครอบครองของบุคคลใดๆ ซึ่งมิใช่เคหสถานของเอกชนเป็นการชั่วคราว โดยต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ทราบล่วงหน้าภายในเวลาอันสมควร (ม.34) กฟภ.มีอำนาจเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อใช้ในการก่อสร้างโรงผลิตพลังงานไฟฟ้าและระบบการส่ง หรือจำหน่ายไฟฟ้าหรือตั้งสถานีไฟฟ้า (ม.35) กฟภ. มีอำนาจ เดินสายส่งศักย์สูงหรือศักย์ต่ำไป ใต้ เหนือ ตาม หรือ ข้ามที่ดินของบุคคลใดๆ โดยจ่ายเงินทดแทนให้แก่ผู้ทรงสิทธิ (ม.36) กฟภ. มีอำนาจตัดต้น กิ่ง หรือรากของต้นไม้ซึ่งอยู่ใกล้สายส่ง เพื่อประโยชน์แห่งความปลอดภัย (ม.37) กฟภ.มีอำนาจรื้อถอนป้าย โครงป้าย หรือโครงสร้าง เท่าที่จำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความปลอดภัยในการส่งพลังงานไฟฟ้า (ม.37 ทวิ) ในกรณีจำเป็นเร่งด่วนเพื่อป้องกันภยันตรายและความเสียหาย พนักงานมีอำนาจเข้าไปในที่ดิน หรือสถานที่ของบุคคลใดในเวลาใดเวลาหนึ่ง เพื่อตรวจ ซ่อมแซม แก้ไขระบบส่งพลังงานไฟฟ้า (ม.38) หมายเหตุ ในการพิจารณาคุณสมบัติบุคลากรรัฐวิสาหกิจจะต้องพิจารณา พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานฯ กฎหมายจัดตั้งรัฐวิสาหกิจและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องประกอบกัน ที่มาของข้อมูล  สัญญาจ้างผู้บริหาร   มติคณะรัฐมนตรี  ประสานงานกับเจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจ สำนักกฎหมาย ส่วนกฎหมาย 3 ผู้อำนวยการส่วน : นายณัฐวุฒ ไพศาลวัฒนา ผู้จัดทำ : นายเอกวิทย์ ชูทอง โทร ต่อ 6746 วันที่จัดทำ : 31 พ.ค. 54 (Update) สิทธิพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง สิทธิในการให้บริการไฟฟ้าภายในตัวอาคารที่เป็นงานการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงแก่ส่วนราชการ โดยไม่ต้องประกวดราคา / สอบราคา และให้ดำเนินการได้โดยวิธีกรณีพิเศษ (ตาม มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 ธ.ค. 22 หนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ สร 0203/ว 209 ลว 14 ธ.ค. 22) สิทธิในการให้บริการภายนอกตัวอาคาร โดยไม่ต้องประกวดราคา / สอบราคา และให้ดำเนินการได้โดยวิธีกรณีพิเศษ (ตาม คำสั่งนายกรัฐมนตรี หนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ สร 0203/ว 171 ลว 25 ก.ย. 23) ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกาที่เกี่ยวข้อง เรื่องเสร็จที่ 161/2539 เรื่องเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์เรียกค่าเสียหายจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคที่ขุดหลุมและปักเสาไฟฟ้าในเขตเทศบาล กรณีตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ กำหนดให้นายกเทศมนตรีในฐานะผู้อำนวยการทางหลวงเทศบาลมีอำนาจอนุญาตให้ผู้ซึ่งดำเนินกิจการอันเป็นสาธารณูปโภค ปักเสา พาดสาย วางท่อ หรือกระทำการใดๆ ในเขตทางหลวงเทศบาลได้ โดยการอนุญาตจะกำหนดเงื่อนไข กำหนดอัตรา และวางระเบียบเกี่ยวกับการเก็บค่าเช่า ซึ่งคำว่าค่าเช่า คือค่าตอบแทนการใช้ประโยชน์ในเขตทางหลวงอันเกิดจากการทำความตกลงร่วมกันสองฝ่ายระหว่าง กฟภ. กับผู้อำนวยการทางหลวงหรือผู้ได้รับมอบหมายเพื่อเข้าใช้ประโยชน์ในที่ดินที่เป็นเขตทางหลวง ซึ่งไม่ใช่การเรียกค่าเสียหาย เพราะค่าเสียหายนั้น เทศบาลอุตรดิตถ์จะเรียกได้เมื่อมีการกระทำอันเป็นการละเมิดโดยความเสียหายเกิดจากการอันเป็นผลจากการขุดหลุมและปักเสาในเขตทางหลวงเทศบาล ฉะนั้น เทศบาลอุตรดิตถ์ไม่มีอำนาจในการเรียกเก็บค่าเสียหายในการขุดหลุมปักเสาพาดสายของ กฟภ. ตาม พรบ. ทางหลวง


ดาวน์โหลด ppt การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google