สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) : กระทรวงการคลัง STATE ENTERPRISE LAW FOCUS : รายแห่ง ข้อมูลทั่วไป องค์การจัดการน้ำเสีย (อจน.) ข้อมูลเกี่ยวกับสัญญาจ้างผู้บริหาร สำนักกฎหมาย ส่วนกฎหมาย 1 ผู้อำนวยการส่วน : - ผู้จัดทำ : นางสาวยสวดี นิลคูหา โทร ต่อ 6721 วันที่จัดทำ : 31 พ.ค. 54 (Update) วัตถุประสงค์ (ม. 6) อจน. มีวัตถุประสงค์ในการจัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียรวมสำหรับการบำบัด น้ำเสียภายในเขตพื้นที่จัดการน้ำเสีย และการให้บริการรับบริหารหรือจัดการระบบบำบัดน้ำเสีย ทั้งนี้ ทั้งในและนอกเขตพื้นที่จัดการน้ำเสีย รวมทั้งบริการหรือกิจการต่อเนื่องที่เกี่ยวกับการจัดการน้ำเสีย อย่างมีประสิทธิภาพในเชิงเศรษฐกิจ พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การจัดการน้ำเสีย พ.ศ และที่แก้ไขเพิ่มเติม สังกัด: กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประธานกรรมการ : นายไกรฤทธิ์ อุชุกานนท์ชัย กรรมการผู้แทน กค. : นางวณี ทัศนมณเฑียร Website : โทร ผู้อำนวยการ (CEO): นายไพโรจน์ สัตยสัณห์สกุล สัญญาจ้างลงวันที่: 29 ต.ค. 53 ระยะเวลาจ้าง : 25 พ.ย. 53 – 24 พ.ย. 57 วาระที่ 1 วาระที่ 2 ตำแหน่งเดิมก่อนเป็น CEO Board รอง CEO บุคคลภายนอก รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ. จัดการและ พัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก รอง CEO พนักงาน สัญญาจ้าง CFO พนักงาน สัญญาจ้าง มติ ครม. ที่ยกเว้นการปฏิบัติเรื่องต่าง ๆ จำนวนและองค์ประกอบคณะกรรมการ ไม่เกิน 15 คน (ม. 12) ประกอบด้วย ประธานกรรมการ ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย ผู้แทนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม ผู้แทนกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้แทนสำนักงบประมาณ ผู้แทนการประปานครหลวง ผู้แทน การประปาส่วนภูมิภาค กรรมการอื่นอีกไม่เกิน 6 คน ให้ผู้อำนวยการเป็นกรรมการและเลขานุการ วาระการดำรงตำแหน่ง :ให้ประธานกรรมการ และกรรมการอื่นอยู่ในตำแหน่งคราวละ 3 ปี (ม. 15) การแต่งตั้งกรรมการอื่น ให้คณะรัฐมนตรีโดยคำแนะนำของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมเป็นผู้แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่น (ม. 12 วรรค 3) ผู้มีอำนาจแต่งตั้งผู้บริหารสูงสุด คณะกรรมการ เป็นผู้แต่งตั้งและกำหนดอัตราเงินเดือนของ ผู้อำนวยการด้วยความเห็นชอบของ คณะรัฐมนตรี (ม. 20) ผู้อำนวยการอาจพ้นจากตำแหน่ง โดยคณะกรรมการให้ออกด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี เพราะบกพร่องต่อหน้าที่ หรือมีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือหย่อนความสามารถ (ม. 22 (3)) เงินเดือนพนักงาน กลุ่มโครงสร้างเงินเดือน คณะกรรมการกำหนดโครงสร้างเงินเดือนได้เอง มีบัญชีโครงสร้างเงินเดือนของตนเอง ใช้บัญชีโครงสร้างเงินเดือน 58 ขั้น อัตราเงินเดือนขั้นสูงสุด ขั้นที่ 52 (87,970) อัตราเงินเดือนป.ตรี 4 ขั้นที่ 14 (9,670 บาท) จำนวนพนักงาน 107 คน (31 พ.ค 54) ยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ และมติ คณะรัฐมนตรีที่ใช้บังคับกับรัฐวิสาหกิจทั่วไป ยกเว้นการปฏิบัติตามมาตรา 13 (2) พ.ร.บ.แรงงาน รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ คุณสมบัติเพิ่มเติมจาก พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานฯ ประธานกรรมการ กรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง และผู้อำนวยการ ต้องเป็นผู้มีความรู้และ จัดเจนเกี่ยวกับกฎหมาย การบริหาร การผังเมือง วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม เศรษฐศาสตร์ หรือสถาปัตยกรรมศาสตร์ (ม. 13) ประธานกรรมการ หรือ กรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง ต้องไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญา/ กิจการที่กระทำให้แก่/แข่งขันกับ อจน. ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม เว้นแต่จะเป็นผู้ซึ่ง คกก. มอบหมายให้เป็นผู้ถือหุ้นหรือเป็นกรรมการใน บ.จำกัด หรือ บมจ. ซึ่ง อจน. จัดตั้งขึ้นตาม มาตรา 7 (9) หรือร่วมทุนตามมาตรา 7 (10) (ม. 14) ผู้อำนวยการ ต้อง มีความรู้ความสามารถในการบริหารกิจการของ อจน. ไม่มีลักษณะต้องห้าม ตาม ม. 14 และ มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตาม พ.ร.บ. คุณสมบัติฯ (ม. 21) การดำเนินการตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการให้ เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการ ในกิจการของรัฐ พ.ศ ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกาที่เกี่ยวข้อง เรื่องเสร็จที่ 557/2553 อจน. อาจร่วมลงทุนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ โดยให้ คกก.อจน. พิจารณา สัดส่วน และมูลค่า รวมถึงการกำหนดค่าตอบแทนโดยอาจได้รับ ค่าตอบแทนไม่เต็มจำนวนตามมูลค่าการลงทุนก็ได้ โดยคำนึงถึงฐานะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ) เรื่องเสร็จที่ 108/2553 อจน. เป็นหน่วยงานให้บริการรับบริหารหรือจัดการแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นเจ้าของโครงการและ ทรัพย์สิน การเข้าร่วมกิจการเช่นนี้เป็นการบริหารจัดการ ตาม ม. 7 (10) ต้องเป็นไปตามแผนปฏิบัติการ ระเบียบ หรือข้อบังคับตามที่ คกก. อจน. กำหนดไว้ใน มาตรา 7 และ มาตรา 18 แห่ง พรฎ. จัดตั้งองค์การจัดการน้ำเสีย พ.ศ เรื่องเสร็จที่ 476/2552 อจน. ดำเนินการโครงการของ อจน. เองได้เฉพาะในเขตพื้นที่จัดการน้ำเสีย และ ต้องเป็นการจัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียรวมตามวัตถุประสงค์หลักเท่านั้น ปัจจุบันไม่ปรากฏว่ามีโครงการที่ได้ดำเนินการตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการ ของรัฐ พ.ศ หมายเหตุ ในการพิจารณาคุณสมบัติบุคลากรรัฐวิสาหกิจ จะต้องพิจารณา พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานฯ กฎหมาย จัดตั้งรัฐวิสาหกิจและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องประกอบกัน ที่มาของข้อมูล สัญญาจ้างผู้บริหาร มติคณะรัฐมนตรี ประสานงานกับเจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจ พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ และที่แก้ไขเพิ่มเติม คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของบุคลากรรัฐวิสาหกิจ ประกอบด้วย กรรมการ (ม.5) ผู้บริหารสูงสุด (ม. 8 ตรี) พนักงาน (ม.9) จำนวนกรรมการ ไม่เกิน 11 คน แต่ถ้ารัฐวิสาหกิจใดมีข้อกำหนดให้มีกรรมการน้อยกว่า 11 คน ก็ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ แต่ถ้าจำเป็นต้องมีกรรมการเกินกว่า 11 คน ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัด ขออนุมัติจาก ครม. แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 15 คน (ม. 6) การนับจำนวนการดำรงตำแหน่งของกรรมการในรัฐวิสาหกิจ ไม่เกิน 3 แห่ง นับรวมการเป็น กรรมการโดยตำแหน่ง การได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติราชการแทน แต่ไม่รวมการเป็นกรรมการ โดยตำแหน่งที่ได้มีการมอบหมายให้ผู้อื่นปฏิบัติราชการแทน (ม. 7) วาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี กรณีกรรมการที่มิใช่กรรมการโดยตำแหน่ง (ไม่ใช้บังคับแก่กรรมการ ของบริษัทจำกัด) แต่อาจได้รับแต่งตั้งใหม่ (ม. 8) การแต่งตั้งกรรมการอื่น ผู้มีอำนาจพิจารณาแต่งตั้งจากบุคคลในบัญชีรายชื่อกรรมการที่กระทรวง การคลังจัดทำขึ้น ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมการอื่นของรัฐวิสาหกิจนั้น (ม. 12/1 วรรค 1) การกำหนดค่าตอบแทนและร่างสัญญาจ้างผู้บริหารสูงสุด คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจกำหนด โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง (ม. 8 จัตวา วรรคเจ็ด) อำนาจพิเศษตามกฎหมายจัดตั้ง - ไม่ปรากฏว่ามีอำนาจพิเศษตามกฎหมายจัดตั้ง สิทธิพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง ไม่ปรากฏว่ามีสิทธิพิเศษเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง ตามมติคณะรัฐมนตรี