องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) อบต. คือ อะไร อบต. คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งจัดตั้งขึ้นตาม พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 มีฐานะเป็นนิติบุคคล(ประกาศจัดตั้งในปี 2538 จำนวน 617 แห่ง ปี 2539 จำนวน 2,143 แห่ง, ปี 2540 จำนวน 3,637 แห่ง รวม 6,397 แห่ง ซึ่งในปี 2542 ยังมีสภาตำบลนิติบุคคลเหลืออยู่ 568 แห่ง คาดว่า จะได้รับการจัดตั้งเป็น อบต. ประมาณ 350 แห่ง)
ทำไมต้องมี อบต. 1. เพื่อให้คนในท้องถิ่นมีโอกาสพัฒนาและแก้ไขปัญหาของท้องถิ่นตนเอง 2. เพื่อให้การแก้ไขปัญหาของท้องถิ่น ตรงตามความต้องการของคนในท้องถิ่นอย่างแท้จริง 3. เป็นเสมือนโรงเรียนฝึกสอนประชาธิปไตยแก่คนในท้องถิ่น 4. เป็นแหล่งสร้างผู้นำทางการเมือง และการบริหารของประเทศไทยในอนาคต
รูปแบบการปกครอง รูปแบบการปกครองของอบต. แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1. สภา อบต. ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งได้รับเลือกตั้งจากราษฎร ในหมู่บ้านในตำบลนั้น ๆ หมู่บ้านละ 2 คน มีหน้าที่ให้ความ เห็นชอบแผนพัฒนาตำบล ร่างข้อบังคับตำบลร่างข้อบังคับ งบประมาณรายจ่ายประจำปี และควบคุมการปฏิบัติงาน คณะกรรมการบริหาร อบต.
รูปแบบการปกครอง (ต่อ) 2. คณะกรรมการบริหาร อบต. ซึ่งสภา อบต.เป็นผู้เลือก คณะกรรมการบริหาร อบต.ประกอบด้วย ประธานกรรมการบริหาร 1 คน และกรรมการบริหาร 2 คน คณะกรรมการบริหารอบต. มีหน้าที่บริหารงาน อบต. จัดทำแผนพัฒนาตำบล และงบประมาณรายจ่ายประจำปีรายงานผลการปฏิบัติ และการใช้จ่ายเงินให้สภา อบต.ทราบและปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามกฎหมาย
อำนาจหน้าที่ของ อบต. กฎหมายกำหนดให้ อบต.มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้ 1. จัดให้มีและบำรุงทางน้ำและทางบก 2. การรักษาความสะอาดของ ถนน ทางน้ำ ทางเดิน และ ที่สาธารณะรวมทั้งการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล 3. ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ 4. ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 5. ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
อำนาจหน้าที่ของ อบต. (ต่อ) 6. ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก และเยาวชนผู้สูงอายุ และพิการ 7. คุ้มครอง ดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 8. บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น 9. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมายโดยจัดสรรงบประมาณ หรือบุคลากรให้ตามความจำเป็นและสมควร