การหาความชุกของการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับในปลาโดยการตรวจที่หาง “การจัดการความรู้ : SHARE and LEARN ประจำปี 2555” วันจันทร์ ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น การหาความชุกของการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับในปลาโดยการตรวจที่หาง สุวิทย์ บาลไธสง สมบูรณ์ มาตุ้ม สังคม จันทะ พันเพชร น้อยเมล์ ชวลิต ไพโรจน์กุล และ เยาวลักษณ์ ฉ่ำกระมล ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ข้อมูลเกี่ยวกับผลงาน โรคพยาธิใบไม้ตับเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อพยาธิ Opisthorchis viverrini (OV) จากการบริโภคปลาดิบที่มีตัวอ่อนพยาธิ ระยะ metacercaria ในเนื้อปลา วัฒนธรรมที่นิยมอาหารที่ปรุงไม่สุกจากปลาน้ำจืดตระกูลปลาตะเพียนเช่น ปลาขาว ปลาสร้อย ทำให้คนไทยในชนบทของภาคตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 1.5-2 ล้านคนเป็นโรคนี้ ผลการศึกษาทางระบาดวิทยาและในสัตว์ทดลอง ยืนยันว่าโรคพยาธิใบไม้ตับเป็นสาเหตุของมะเร็งท่อน้ำดี ที่ภูมิภาคนี้มีอุบัติการณ์สูงที่สุดในโลก การวิจัยโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในสัตว์ทดลอง จำเป็นต้องใช้ตัวอ่อนพยาธิในปลาระยะ metacercaria โดยการย่อยจากเนื้อปลา แต่เนื่องจากจำนวน metacercaria มีความผันแปรตามชนิดของปลาและตามฤดูกาล ดังนั้นหากมีวิธีตรวจสอบประเมินความชุกในการติดเชื้อในปลาได้ จะช่วยลดค่าใช้จ่าย แรงงาน และเวลาในการหา metacercaria ได้มาก ตารางที่ 1 แสดงผลเฉลี่ยจำนวน metacercaria จากการย่อยปลา และจากการตรวจที่หางปลาของปี 2554 * กลุ่มที่ตรวจพบจำนวน metacercaria เฉลี่ย 0-5 ที่หางปลา ปัจจัยที่ทำให้ประสบผลสำเร็จ เป็นการทดลองที่ใช้ค่าใช้จ่ายน้อย เพราะทำไปพร้อมกับโครงการวิจัยอื่นๆ ได้รับการส่งเสริมและให้กำลังใจจากผู้บังคับบัญชาและเพื่อนผู้ร่วมงานเป็นอย่างดี ข้อเสนอแนะ 1) การนำเสนอในครั้งแรกนี้ เป็นกำลังใจให้ทำงานอย่างมีจุดมุ่งหมาย และกระตุ้นให้อยากพัฒนาเป็นงานวิจัยที่มีการวางแผนอย่างเป็นระบบ 2) Share and Learn เป็นเวทีที่สร้างคุณค่าแก่ผู้ปฏิบัติงาน และเปิดโอกาสให้ได้เรียนรู้จากผู้อื่น จึงควรจัดให้มีเวทีเป็นการถาวร วิธีดำเนินการ การศึกษานี้ เป็นการศึกษาเบื้องต้นที่เปรียบเทียบจำนวน metacercaria ต่อน้ำหนักปลากับจำนวน metacercaria ที่ตรวจพบจากหางปลา 1) ลงพื้นที่ซื้อปลาขาวนา (รูปที่ 1ก) ในแหล่งน้ำที่มีการระบาดติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ 2) ตรวจนับ metacercaria จากหางปลาจำนวน 5 ตัว ด้วยกล้องสเตอริโอไมโครสโคปที่มีกำลังขยาย 10-50 เท่า (รูปที่ 1ก และ ข) 3) นำปลามาทั้งหมดมาชั่งน้ำหนักและทำการย่อยเนื้อปลาด้วยเอนไซม์ กรอง 3 ครั้งแล้วนำตะกอนครั้งสุดท้ายมาคัดแยกนับจำนวน metacercaria (รูปที่ 1ข และ 1ง) 4) นำผลการนับ metacercaria จากทั้ง 2 วิธีมาทำตารางเปรียบเทียบ เดือน จำนวนปลา (ก.ก.) ค่าเฉลี่ย metacercaria/ปลา 1 ก.ก. metacercaria/หางปลา 1 ตัว 1 10 50 4 * 2 27 243.6 20 3 11 90.9 6 4 16 306.3 15 5 12 400 227.3 14 7 19 39.5 5 * 8 22 36.4 3 * 9 0 * 33 30.3 28 การศึกษานี้เป็นการศึกษาเบื้องต้น หากมีการวางแผนศึกษาอย่างดี มีการสุ่มตรวจปลาแต่ละชนิดอย่างเป็นระบบ ผลที่ได้จากการศึกษาจากการตรวจหางปลาอาจสามารถระบุความชุกการติดเชื้อของปลาในแหล่งน้ำที่นำมาศึกษาได้ อันจะเป็นประโยชน์ในทางระบาดวิทยาเพื่อประเมินผลการควบคุม และอัตราเสี่ยงการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับในแหล่งน้ำได้ รูปที่ 1 : วิธีการศึกษา ก = ปลาขาวและหางปลา, ค = การย่อยกรองเนื้อปลา, ข และ ง = ภาพ metacercaria จากกล้องสเตอริโอไมโครสโคป (ข.ที่หางปลา ง. ที่คัดเลือกจากการย่อยกรอง) ผลการดำเนินงาน เมื่อกำหนดให้ การตรวจพบจำนวน metacercaria ที่หางปลา มากกว่า 5 ขึ้นไปถือว่าเป็นการติดเชื้อมาก พบว่าจำนวนตัวอ่อนระยะติดต่อพยาธิใบไม้ตับที่หางปลามีความสัมพันธ์ทางเดียวกันกับที่พบจากการย่อยเนื้อปลา (ตารางที่ 1) วิจารณ์ ปลาตระกูลปลาตะเพียนไม่มีขากรรไกรจะติดเชื้อโดยพยาธิตัวอ่อนระยะ cercaria เข้าสู่ตัวปลาทางเหงือก แล้วพยาธิจะพัฒนาไปเป็น metacercaria ฝังตัวในอวัยวะต่างๆรวมทั้งกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อที่เคลื่อนไหวมากๆ เช่น ครีบและหาง หางปลาไม่มีเกล็ดและมีกล้ามเนื้อบางทำให้มองเห็น metacercaria เมื่อส่องด้วยกล้องสเตอริโอไมโครสโคป