งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ผลของดนตรีบำบัดต่อความวิตกกังวลและความปวดในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด (Effect of music therapy on anxiety and pain in cancer patients) ชื่อผู้วิจัย.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ผลของดนตรีบำบัดต่อความวิตกกังวลและความปวดในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด (Effect of music therapy on anxiety and pain in cancer patients) ชื่อผู้วิจัย."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ผลของดนตรีบำบัดต่อความวิตกกังวลและความปวดในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด (Effect of music therapy on anxiety and pain in cancer patients) ชื่อผู้วิจัย อุบล จ๋วงพานิช, จุรีพร อุ่นบุญเรือน, จันทราพร ลุนลุด, ทิพวรรณ ขรรศร,ผศ. นพ. ภัทรวุฒิ วัฒนศัพท์ ความสำคัญ วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพืศึกษาผลของดนตรีบำบัดต่อความวิตกกังวลและความปวดในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด ความปวดในผู้ป่วยมะเร็งพบผู้ป่วยมีความปวดมากถึงร้อยละ 30 การจัดการความปวดในผู้ป่วยมะเร็ง สามารถให้ยาแก้ปวดและการใช้การบำบัดการพยาบาลอื่นที่ไม่ใช้ยา เช่น ดนตรีบำบัด การนวด การสะกดจิต เป็นต้น (Mantyh, 2006) แต่วิธีการนวด อาจไม่เหมาะกับผู้ป่วยมะเร็งที่มีการแพร่กระจาย การสะกดจิต ต้องมีการฝึกฝนเป็นอย่างดี สำหรับดนตรีบำบัด มีประโยชน์ผู้ป่วยสามารถฟังได้ง่าย ราคาถูก และปลอดภัย จากการทบทวนงานวิจัยที่ผ่านมา พบว่าดนตรีบำบัดสามารถลดปวดและลดความวิตกกังวลได้ หอผู้ป่วยได้นำดนตรีบำบัดมาใช้ซึ่งเป็นเพลงบรรเลงไทยเดิม และเพลงคลาสสิกมาใช้ในปี 2548 พบว่า สามารถลดปวดได้ แต่ผู้ป่วยบางคน ต้องการฟังเพลงที่เข้ากับวัฒนธรรมอีสาน ในปี 2549 จึงจัดทำโครงการโดยนำดนตรีพื้นเมืองอิสานมาใช้ลดปวดในผู้ป่วยมะเร็งร่วมกับนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อใช้เป็นทางเลือกให้ผู้ป่วยสามารถเลือกดนตรีที่คุ้นเคย แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการใช้ดนตรีอิสาน ผู้วิจัยจึงต้องการศึกษาผลของการนำดนตรีพื้นเมืองอิสานมาใช้เพื่อลดปวดและความวิตกกังวลในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด วิธีดำเนินการ วิจัยแบบทดลอง ชนิด Randomized control trial กรอบแนวคิดในการศึกษา คือ ทฤษฎีความปวด กลุ่มตัวอย่าง ผู้ป่วยมารักษาที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ช่วงเดือน พฤษภาคม กันยายน 2554โดยเลือกตัวอย่างตามเกณฑ์ที่กำหนด แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มทดลอง จำนวน 40 คน จะได้รับฟังดนตรีบำบัดทางหูฟัง ครั้งละ 30 นาที ในตอนเช้าและเย็น จำนวน 2 วัน รวม 4 ครั้ง และกลุ่มควบคุม จำนวน 40 คน จะได้รับดูแลตามปกติจากพยาบาลประจำการ ผู้ป่วยกลุ่มทดลอง จะได้รับการประเมินความชอบในการฟังดนตรี ความวิตกกังวล ความปวด ก่อนฟังดนตรีบำบัด หลังฟังคนตรีครั้งที่ 2 และครั้งที่ 4 ผู้ป่วยจะได้รับการประเมินความปวดและความวิตกกังวล ผู้ป่วยกลุ่มควบคุมจะได้รับการประเมินความวิตกกังวลและความปวดก่อนและหลังการได้รับการดูแลตามปกติจากพยาบาล ในวันที่ 1 และในวันที่ 2 การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติ repeat measures analysis of variance เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนความปวด และความวิตกกังวล ในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ผลการดำเนินการ แสดงค่าเฉลี่ยของคะแนนความปวดและความวิตกกังวลในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความปวดและความวิตกกังวลในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ตัวแปร Mean Difference (MD) Std. Error Sig 95% Confidence Interval for Difference Lower Bound Upper Bound ความปวด -0.83* 0.26 0.002 -1.34 -0.32 ความวิตกกังวล -0.75* 0.34 0.032 -1.43 -0.07 D1 Pre-test D1 Post-test D2 Post-test ผลการวิจัยไปใช้และข้อเสนอแนะ ดนตรีบำบัดสามารถลดปวดและลดความวิตกกังวลได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การใช้ดนตรีบำบัดในผู้ป่วยมะเร็ง เป็นวิธีการที่เหมาะสมโดยเฉพาะดนตรีอีสานที่นำมาใช้เหมาะกับบริบทกับวัฒนธรรมอีสาน ผลงานวิจัยเผยแพร่ เผยแพร่ใน website gotoknow วารสารสมาคมพยาบาลสาขาภาคฯตะวันออกเฉียงเหนือ2555;30(1):46-52. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ พยาบาลนำดนตรีบำบัดมาใช้อย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยสามารถนำดนตรีบำบัดไปใช้ที่บ้านได้


ดาวน์โหลด ppt ผลของดนตรีบำบัดต่อความวิตกกังวลและความปวดในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด (Effect of music therapy on anxiety and pain in cancer patients) ชื่อผู้วิจัย.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google