วิชาภาษาไทย เรื่อง คำพ้อง นำเสนอโดย กลุ่ม ๑
ความหมายของคำพ้อง คำพ้อง คือ คำที่มีลักษณะเหมือนกัน หรือซ้ำกัน เช่น เขียนเหมือนกัน หรือออกเสียงเหมือนกัน หรือเหมือนกันทั้งรูปและเสียง แต่มีความหมายต่างกัน ซึ่งจะพิจารณาตามเนื้อความของคำที่เกี่ยวข้องกับคำพ้อง หรือคำที่เขียนต่างกัน แต่มีความหมายเหมือนกัน
ชนิดของคำพ้อง ๑. คำพ้องรูป ๒. คำพ้องเสียง ๓. คำพ้องรูป พ้องเสียง คำพ้องแบ่งเป็น ๔ ชนิดคือ ๑. คำพ้องรูป ๒. คำพ้องเสียง ๓. คำพ้องรูป พ้องเสียง ๔. คำพ้องความ
คำพ้องรูปคือ คำที่เขียนรูปเดียวกัน แต่มีการสะกด ๑. คำพ้องรูป คำพ้องรูปคือ คำที่เขียนรูปเดียวกัน แต่มีการสะกด ออกเสียงที่ต่างกัน และมีความหมายที่แตกต่างกัน เวลาอ่านจะต้องสังเกตความหมายของคำในประโยค จึงจะอ่านได้ถูกต้อง
หน้าโฮเต็ลปลูกเสมาดูเพราตา ตัวอย่างคำพ้องรูป ที่ริมเชิงเสลาภูผาใหญ่ ล้วนกอไผ่ลำสล้างเสลาเห็น หัดโบกปูนใบเสมากว่าจะเป็น หน้าโฮเต็ลปลูกเสมาดูเพราตา
การอ่านคำพ้องรูป เสลา อ่านว่า เส – ลา หมายถึง เขา, หิน เสลา อ่านว่า เส – ลา หมายถึง เขา, หิน อ่านว่า สะ – เหฺลา หมายถึง สวยงาม, ชื่อต้นไม้ เสมา อ่านว่า เส – มา หมายถึง รูปเครื่องหมายคล้ายใบโพธิ์ ใช้บอกเขตพระอุโบสถ อ่านว่า สะ – เหฺมา หมายถึง ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง
๒. คำพ้องเสียง คำพ้องเสียง คือ คำที่ออกเสียงเหมือนกัน คำพ้องเสียง คือ คำที่ออกเสียงเหมือนกัน แต่เขียนไม่เหมือนกัน และมีความหมายต่างกัน
ข้าได้เช่านาวาให้ค่าเช่า ริมศาลเจ้าเจ๊กบ้ามันฆ่าหมู การอ่านคำพ้องเสียง ข้าได้เช่านาวาให้ค่าเช่า ริมศาลเจ้าเจ๊กบ้ามันฆ่าหมู กำไว้มั่นแล้วไม่ทำกำม์ของกู จะทนสู้บาปกรรมไปทำไม
ตัวอย่างคำพ้องเสียง กรรม หมายถึง การกระทำ, การงาน, บาป ซึ่งทำให้ได้รับผลร้าย เช่น คนไทยเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม กำ หมายถึง ทำนิ้วมือให้งอจนจดอุ้งมือ, ซี่ล้อรถ หรือเกวียน เช่น ให้นักเรียนทุกคนกำมือไว้ กำม์ หมายถึง การกระทำ, การงาน, บาป, การกระทำซึ่งทำให้ได้รับผลร้าย “กำม์” เป็นภาษาเก่าที่เขียนไว้ในสมุดไทย ซึ่งเป็นผลงานเจ้าฟ้ากุ้ง ในสมัยอยุธยา ปัจจุบัน เขียนว่า กรรม
๓. คำพ้องรูป พ้องเสียง “คำพ้องรูป – พ้องเสียง” คือ คำที่เขียนเหมือนกัน และอ่านออกเสียงเหมือนกัน แต่มีความหมายต่างกัน
ขันน้ำใสไก่ขันขันชะเนาะ คนหัวเราะเจ้าสำนวนก็ชวนขัน การอ่าน คำพ้องรูป พ้องเสียง ขันน้ำใสไก่ขันขันชะเนาะ คนหัวเราะเจ้าสำนวนก็ชวนขัน กันกันผมให้เขาเรารักกัน ยิ้มเห็นฟันอย่าฟันให้บรรลัย
ตัวอย่าง คำพ้องรูป พ้องเสียง ตัวอย่าง คำพ้องรูป พ้องเสียง กัน ๑ หมายถึง คำใช้แทนผู้พูดเพศชาย พูดกับผู้เสมอหรือผู้น้อยในทำนองกันเอง เช่น วันนี้กันไม่ไปด้วยนะ กัน ๒ หมายถึง คำประกอบท้ายกริยาของผู้กระทำตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไปแสดงการกระทำร่วมกัน เช่น พวกเราจงมาปรึกษาหารือกัน กัน ๓ หมายถึง กีดขวางไว้ไม่ให้เข้าไปหรือออกไป หรือไม่ให้เกิดมีขึ้น เช่น จงกันเขาอย่าให้เข้ามาพบฉัน กัน ๔ หมายถึง โกนให้เป็นเขตเสมอ เช่น เขากันคิ้วให้ฉัน
๔. คำพ้องความ “คำพ้องความ” คือ คำที่เขียนไม่เหมือนกัน “คำพ้องความ” คือ คำที่เขียนไม่เหมือนกัน แต่มีความหมายเหมือนกัน ใช้ในโอกาสต่างกัน หรืออาจเรียกอีกอย่างว่า คำไวพจน์
ชีวิต = ชีพ ชีวี ชีวา ชีวาตม์ ชีวัน ชีวาลัย ตัวอย่างคำพ้องความ ชีวิต = ชีพ ชีวี ชีวา ชีวาตม์ ชีวัน ชีวาลัย ต้นไม้ = พฤกษ์ พฤกษา พฤกษาชาติ รุกข์ รุกขา รุกขชาติ ใจ = ฤดี ฤทัย หทัย หฤทัย จิต มโน กมล
จบการนำเสนอค่ะ
ประวัติส่วนตัว ชื่อ.....นางสุนีย์.... นามสกุล .....แจ้งใจ..... รูปถ่าย ประวัติส่วนตัว ชื่อ.....นางสุนีย์.... นามสกุล .....แจ้งใจ..... สังกัด...สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๘... สถานที่ทำงานโรงเรียน...วัดสันติการามวิทยา... อำเภอ....ปากท่อ....จังหวัด.....ราชบุรี....