ประมวลภาพ โครงการติดตามประเมินผล การปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบภายในจังหวัด ระยะที่ 2 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ กลุ่มที่ 5 จังหวัดตรัง
จังหวัดที่เข้าร่วมประชุม ในกลุ่มที่ 5 ตรัง กระบี่ ภูเก็ต พังงา พัทลุง
ข้อหารือ การตรวจสอบ สำนักงาน จังหวัด ประจำปี งบประมาณ พ. ศ การตรวจสอบ โครงการ ตามแผนการ ปฏิบัติการ ไทยเข้มแข็ง การปฏิบัติงาน ของ ผู้ตรวจสอบ ภายในตาม ตัวชี้วัด รายบุคคล และตัวชี้วัด ของ กรมบัญชีกลาง
การตรวจสอบการดำเนินงาน โครงการ อนุรักษ์ป่าสาคูคลองลำชาน ณ บริเวณป่าสาคูคลองลำ ชาน ต. นาข้าวเสีย และต. โคกสะบ้า อ. นาโยง จ. ตรัง วัตถุประสงค์โครงการ - เพื่ออนุรักษ์พื้นที่ป่าสาคูคลองลำชาน โดยกระบวนการมี ส่วนร่วมของชุมชน - เพื่อรักษาความสมดุลของระบบนิเวศน์ป่าสาคูคลองลำชาน - เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ ศึกษา วิจัย ของนักเรียน นักศึกษา ชุมชน และประชาชนทั่วไป - เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ในอนาคต - เพื่อเป็นแบบอย่างและสร้างแนวร่วมชุมชน องค์กรต่าง ๆ ในการอนุรักษ์ป่าสาคูคลองลำชาน งบประมาณ 2,300,000 บาท หน่วยดำเนินการ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด ตรัง เป้าหมายโครงการ ก่อสร้างสะพานข้ามคลอง 2 จุด, ก่อสร้าง ทางเดินเท้าริมคลอง, แต่งสางป่าสาคูกลางคลอง ระยะเวลาดำเนินงาน 1 เมษายน – 30 กันยายน 2549
หัวหน้าหน่วยตรวจสอบภายในแต่ละจังหวัดสรุปผลการปฏิบัติงานประจำ ปีงบประมาณ 2553 (รวมถึงผลการตรวจสอบสำนักงานจังหวัด) ช่วยกันตั้งประเด็นการตรวจสอบพร้อมทั้งร่วมกันออกแบบ สัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมาย ที่จะไปลงพื้นที่ในวันถัดไป
ผู้ตรวจสอบภายในจังหวัด ช่วยกันสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่และประชาชนที่ เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน ในพื้นที่ตั้งโครงการ (เจ้าหน้าที่ของทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมจังหวัดตรัง ผู้ใหญ่บ้าน ตัวแทนสมาชิกNGO ประชาชน และผู้ที่เกี่ยวข้อง)
ร่วมสังเกตการณ์ในพื้นที่ตั้งโครงการ
ช่วยกันสรุปประเด็นข้อตรวจพบ เพื่อหาสาเหตุ ผลกระทบ และนำเสนอข้อเสนอแนะ
ประเด็นการตรวจสอบที่ตั้งไว้ 1. การใช้ประโยชน์จากการอนุรักษ์ป่าสาคูยังไม่บรรลุ วัตถุประสงค์โครงการ 2. ความยั่งยืนของการอนุรักษ์ป่าสาคู
สรุปข้อมูลจากการสังเกตการณ์และการสัมภาษณ์ พื้นที่บริเวณโครงการฯ คลองลำชาน เป็นที่ ของชาวบ้าน ได้อนุญาตให้ราชการมาดำเนินกิจกรรมตาม โครงการในที่ของตน ซึ่งในบริเวณนี้มีป่าสาคูอยู่เป็นจำนวน มาก จากการสังเกตการณ์ มีสะพานข้ามคลอง 1 สะพาน มีทางเดินเท้าริมคลอง และตามโครงการมีการ แต่งสางป่ากลางคลอง เพื่อการระบายน้ำให้ได้กว้างประมาณ 3 เมตร แต่ปัจจุบันพบว่า ต้นสาคูได้ขึ้นมาปกคลุมทางเดินน้ำ ที่ได้มีการแต่งสางป่า ทำให้การระบายน้ำไม่สะดวก จากการ สัมภาษณ์ พบว่า การมีส่วนร่วมของชุมชนยังไม่มากเท่าที่ควร ในการอนุรักษ์ป่าสาคู ยังไม่เป็นแบบอย่างและสร้างแนวร่วม ชุมชน องค์กรต่าง ๆในการอนุรักษ์ป่าสาคู และพื้นที่ดังกล่าว ยังไม่ได้ เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ ซึ่งปัจจุบันได้มีนักศึกษา จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และได้มีสมาคมหยาดฝน เข้ามา ทำการศึกษา วิจัย ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับป่าสาคู และสมาคมหยาดฝนก็ได้เข้ามาช่วยเหลือสนับสนุน งบประมาณในการอนุรักษ์ป่าสาคู ด้วย
16 ร่างประเด็นข้อตรวจพบร่างประเด็นข้อตรวจพบ 1. หลักเกณฑ์ (Criteria) หน่วยตรวจสอบภายในจังหวัด ตรัง
17 ร่างประเด็นข้อตรวจพบร่างประเด็นข้อตรวจพบ 2 2. สิ่งที่เป็นอยู่ (Condition) หน่วยตรวจสอบภายในจังหวัด ตรัง
18 ร่างประเด็นข้อตรวจพบร่างประเด็นข้อตรวจพบ 3. ผลกระทบ (Effect) หน่วยตรวจสอบภายในจังหวัด ตรัง
19 ร่างประเด็นข้อตรวจพบร่างประเด็นข้อตรวจพบ 4 4. สาเหตุ (Cause) หน่วยตรวจสอบภายในจังหวัด ตรัง
20 ร่างประเด็นข้อตรวจพบร่างประเด็นข้อตรวจพบ 5. ข้อเสนอแนะ (Recommentation) หน่วยตรวจสอบภายในจังหวัด ตรัง