สุขภาพจิต และการปรับตัว บทที่ 11 สุขภาพจิต และการปรับตัว
สุขภาพจิต และการปรับตัว หมายถึง สภาพชีวิตที่เป็นสุขมีความสมบูรณ์ ทั้งทางใจและทางกายสามารถปรับตัวหรือปรับ ความต้องการของตนเองให้เข้ากับสภาพแวดล้อม เข้ากับบุคคลที่อยู่ร่วมกันได้ด้วยดีโดยไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนเองและผู้อื่น ทั้งก่อให้เกิดประโยชน์สุขต่อตนเองอีกด้วย
ความสำคัญของสุขภาพจิตและการปรับตัวของคนงาน 1. สุขภาพจิตจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์รอบๆ ตัวบุคคล 2. พิจารณาถึงความสามารถในการทำงานของบุคคล 3. การพิจารณาสุขภาพจิตอาจใช้ลักษณะของสังคม เป็นเกณฑ์ หรือลักษณะทางวัฒนธรรมประเพณี ของชุมชนเป็นหลัก
พฤติกรรมที่เป็นปัญหาของคนงาน 1. การขาดงานบ่อยๆ - นิสัยการทำงานไม่ดี ประมาณ 6 % - การปรับตัวของแต่ละบุคคล ประมาณ 9 % - ความไม่พอใจในงาน ประมาณ 16 % - ไม่มีความรับผิดชอบ ประมาณ 17 % - ความทุกข์ยากจากภายนอก ประมาณ 17 % - ป่วยหรือเหนื่อยล้า ประมาณ 35 %
2. การร้องทุกข์ 3. อุบัติเหตุ 4. พิษสุราเรื้อรัง 5. โรคความเครียด 6. โรคจิต 7. โรคประสาท
สาเหตุในการเกิดปัญหาสุขภาพจิต 1. ปัญหาที่เกิดจากประเภทของงาน 2. ปัญหาที่เกิดจากความวิตกกังวล 3. ปัญหาที่เกิดจากแรงจูงใจและอารมณ์ - ความคับข้องใจ - ความขัดแย้ง
วิธีช่วยลดปัญหาทางสุขภาพจิต (ของผู้มีปัญหา) วิธีช่วยลดปัญหาทางสุขภาพจิต (ของผู้มีปัญหา) 1. การหาเหตุเข้าข้างตนเอง 2. การชดเชย 3. การเก็บกด 4. การอวดอ้างตนเอง 5. การมีพฤติกรรมแบบถอยหลัง เข้าคลอง 6. การแสดงปฏิกิริยากลบเกลื่อน 7. การกล่าวโทษผู้อื่น 8. การขัดแย้ง 9. การอาศัยบารมีหรือเลียนแบบบุคคลที่มีชื่อเสียง 10. การดื้อแพ่ง 11. การเพ้อฝัน 12. การแสดงอาการเฉยเมย ไม่เอาใจใส่ เฉื่อยชา ขาดความ กระตือรือร้น 13. การทำลายสิ่งต่างๆ
การแก้ไขและป้องกันปัญหาสุขภาพจิต 1. การออกกำลังกาย 2. การมองโลกในแง่ดี 3. ฝึกควบคุมการใช้อารมณ์หรือความโกรธ 4. ทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น 5. อย่าละเลยสิ่งบันเทิงใจ 6. หาทางระบายออกด้วยวิธีการ ที่ถูกต้อง 7. พักผ่อนให้เพียงพอ 8. ควรตัดความทุกข์ 9. ปรึกษาแพทย์หรือจิตแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ 10. ทำให้เกิดอารมณ์ขัน 11. การมีเพศสัมพันธ์
คุณสมบัติผู้ให้คำปรึกษา 1. ด้านบุคลิกภาพ การปรับตัว, การเข้าใจผู้อื่น, มีเหตุผล, มีความมั่นคงทางอารมณ์, มีสุขภาพจิตดี, สุขุม รอบคอบ,รักษาความลับได้ดี ฯ 2. ด้านความรู้ มีพื้นฐานความรู้ด้านจิตวิทยา, มีการฝึกฝนทักษะการให้คำปรึกษา, หาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอฯ 3. ด้านประสบการณ์ เคยปฏิบัติการจริงมากพอสมควร, เคยพบเห็นปัญหาด้านจิตวิทยามามาก, เชื่อมั่นในตนเอง, สามารถทำงานเป็นทีมได้ฯ
หลักในการให้คำปรึกษา 1. ต้องทำให้ผู้รับคำปรึกษาร่วมมือหาสาเหตุของปัญหาและ วิธีแก้ปัญหาด้วยตนเอง 2. ต้องไม่ประเมินผู้รับคำปรึกษาว่าด้อยสติปัญญา 3. ต้องมีสำนึกในตนเอง 4. ต้องยอมรับว่าคนมีทั้งความเหมือนและแตกต่าง 5. ต้องตระหนักว่าบรรทัดฐานของกลุ่มสามารถเปลี่ยนแปลงได้ 6. ต้องช่วยให้ผู้ขอรับคำปรึกษาเกิดความคิดว่าผู้อื่นเห็นตนเป็นผู้มีคุณค่า 7. ต้องคำนึงถึงสุขภาพจิตของผู้รับคำปรึกษาหากเขาเป็นตัวของตัวเอง
เทคนิคการให้คำปรึกษา 1. การให้คำปรึกษาโดยตรง (Directive Counseling) 2. การให้คำปรึกษาโดยทางอ้อม (Nondirective Counseling) 3. การให้คำปรึกษาแบบผสมผสาน (Cooperative Counseling)
ข้อเสนอแนะและข้อควรระวังในการให้คำปรึกษา 1. อย่าโต้เถียง 2. เตรียมพร้อมที่จะรับฟัง 3. ข้อวิพากษ์วิจารณ์ต่อพฤติกรรมของคนสามารถ เปลี่ยนแปลงได้ 4. ให้การสะท้อนกลับอย่างเหมาะสมกับเวลา
ข้อเสนอแนะและข้อควรระวังในการให้คำปรึกษา 5. ยอมรับว่าผู้รับคำปรึกษาเป็นมนุษย์ไม่ใช่วัตถุสิ่งของ 6. สะท้อนความรู้สึกของผู้รับคำปรึกษากลับให้เขาฟัง ถ้าสามารถเน้น ที่การสะท้อน 7. เลือกใช้คำถามอย่างเหมาะสม 8. ต้องทำหน้าที่เป็นแบบอย่างที่ดีในการแสดง พฤติกรรมที่ถูกต้อง
ท่านคิดว่าที่สังคมการเรียนของท่านมีสภาพ ที่สามารถก่อให้เกิดปัญหาทางสุขภาพจิต คืออะไรและท่านจะใช้แนวทางและวิธีการใดในการแก้ปัญหาดังกล่าว